[:TH]สถานีเกษตรหลวง “ปางดะ” มันเทศญี่ปุ่นสีม่วง[:]

[:TH]

 

สถานีเกษตรหลวงปางดะ เป็นสถานีวิจัย 1 ใน 4 ของ มูลนิธิโครงการหลวง เป็นศูนย์การเรียนรู้การขยายพันธุ์ไม้ผล ให้กับผู้ที่สนใจตลอดจนเป็นแหล่งศึกษาดูงาน และฝึกงานของนักศึกษา พร้อมกับการใช้พื้นที่อย่างถูกต้องบนพื้นฐานการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสถานีเกษตรหลวงปางดะไม่ได้เริ่มจากงานส่งเสริมและพัฒนา เพื่อให้ชาวไทยภูเขาเลิกปลูกฝิ่นเหมือนสถานีฯ หรือศูนย์พัฒนาฯ อื่น แต่เริ่มจากมูลนิธิโครงการหลวงจะต้องหาพันธุ์พืชที่เหมาะสมเพื่อทำการวิจัยทดสอบแล้วนำไปส่งเสริมเกษตรกรบนพื้นที่สูง ซึ่งต้องมีการขยายพันธุ์พืชให้มีจำนวนมากพอ ในระยะแรกพบว่ามีไม้ผลเมืองหนาวหลายชนิด ขยายพันธุ์ได้ดีเกือบตลอดทั้งปี บนพื้นที่ที่ไม่หนาวเย็นหรือร้อนมากเกินไป

ในปี พ.ศ. 2522 มูลนิธิโครงการหลวง ได้เลือกพื้นที่ส่วนหนึ่งของสถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวสะเมิง สังกัดกรมวิชาการเกษตรที่หมู่บ้านปางดะ อ.สะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีอุณหภูมิพอเหมาะให้เป็นแหล่งขยายพันธุ์พืช เมื่อปริมาณความต้องการกล้าพันธุ์พืชเพิ่มมากขึ้นสถานที่ไม่เพียงพอ มูลนิธิโครงการหลวงจึงพิจารณาสถานที่แห่งใหม่บนพื้นที่ประมาณ 25 ไร่ ติดกับอ่างเก็บน้ำโครงการตามพระราชดำริห้วยปลาก้าง อยู่ไม่ไกลจากบริเวณเดิม และในปี พ.ศ. 2529 ได้ซื้อที่ดินเพื่อขยายพื้นที่สำหรับขยายพันธุ์อย่างถาวรเพิ่มอีกประมาณ 65 ไร่ โดยดำเนินการภายใต้ชื่อ“ศูนย์ขยายพันธุ์พืชปางดะโครงการหลวง”

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเยี่ยม
ศูนย์ขยายพันธุ์พืชปางดะโครงการหลวงแห่งนี้เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 12กุมภาพันธ์ 2530 ได้ทอดพระเนตรกิจการงานต่างๆ ของศูนย์ฯ พร้อมกันนี้หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ได้ทูลขอพระราชทานชื่อใหม่ว่า “สถานีเกษตรหลวงปางดะ”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงกรุณาพระราชทานให้ใช้ชื่อนี้พร้อมกับให้ขยายพื้นที่เพิ่มปัจจุบันสถานีเกษตรหลวงปางดะ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ1. สถานีเกษตรหลวง ตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านปางดะ เลขที่ 192 หมู่10 ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ 1,232 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตร 804 ไร่

22 กันยายน 2560
วันนี้โชคดีอย่างไม่คาดฝัน หลังจากต้องมีการเปลี่ยนตัวผู้ร่วมทีม “เที่ยวไป รู้ไป เข้าใจพ่อ” ด้วยข้อติดขัดบางประการ เราจึงต้องมี
โชเฟอร์และตากล้องคนใหม่ ดังนั้นเพื่อความสบายใจของผู้ร่วมทางก็เลยขอเปลี่ยนเส้นทางจาก หางดง – สะเมิง ซึ่งมีโค้งพับผ้าสูงชันถึง 7 พับมาเป็นแม่ริม – สะเมิง แม้จะไกลกว่ากัน แต่ก็มั่นใจกว่าทริปนี้เราออกเดินทางแต่เช้าเป็นพิเศษ เพราะเดินทางเช้าไปเย็น
กลับ เดินทางเช้าๆ อย่างนี้ บรรยากาศดูสดชื่นร่มรื่นสวยงามจริงๆ 2. หน่วยวิจัยส้มโป่งน้อย ตั้งอยู่ที่บ้านโป่งน้อย ตำบลแม่วิน
อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ 70 ไร่จากเดิมสถานีเกษตรหลวงปางดะไม่ได้ทำงานพัฒนาส่งเสริม เพราะหมู่บ้านหลักในความรับผิดชอบ 11 หมู่บ้านเป็นคนพื้นเมืองและชาวไทลื้อ ไม่มีชาวไทยภูเขา แต่เมื่อรับดูแลหมู่บ้านรองเพิ่มอีก 8 หมู่บ้านซึ่ง
เป็นชาวกะเหรี่ยงจึงได้เริ่มงานส่งเสริมและพัฒนาตามเส้นทางที่ร่มรื่นสวยงาม และเมื่อถึงเวิ้งกว้างใกล้ถึงสะเมิง ว้าว…เรา
ได้พบสิ่งที่ไม่คาดฝัน….

7.30 น. เห็นป้าย…“จุดชมทิวทัศน์ป่าสะเมิง” เช้าอย่างนี้ลองชมสักหน่อย นั่นไง…ความงามของธรรมชาติและความสดชื่นของ
ชีวิต คนตื่นเช้าเท่านั้นจะได้พบ…ไม่น่าเชื่อว่าสะเมิงใกล้แค่นี้จะมีทะเลหมอกสวยงามไม่ต่างกับที่เราต้องดั้นด้นค้นหาถึงป่าลึกเลย หันกลับมาจากวิวงามก็ได้เห็นภาพชีวิตยามเช้าของครอบครัวชาวบ้าน ที่เตรียมโต๊ะเตรียมร่ม จัดเรียงพืชผลที่ปลูกไว้มาวางขายให้ผู้มาชมวิว
….เป็นเช้าที่สดใสของพวกเราจริงๆ…

8.00 น. แล้วเรามาทันได้เคารพธงชาติพร้อมพนักงานและคนงานของสถานีฯ ปางดะอีกด้วย แหม…เจอบรรยากาศสดใส ได้ร้องเพลงชาติอีกครั้ง…เราพร้อมเข้าห้องเลคเชอร์แล้วล่ะ…

ได้พบพี่แรม (ณัฐกฤต คำหนู) นักวิชาการเกษตร และหัวหน้าสถานีฯ ปางดะ คุณ วิพัฒน์ ดวงโภชน์ ในห้องเลคเชอร์…เอ๊ย…ห้องรับแขกของสถานีน่ะ

ได้ข้อมูลมามากมาย ได้รู้ว่าสถานีเกษตรหลวงปางดะนี้ ก่อตั้งขึ้นแตกต่างจากทุกสถานี วัตถุประสงค์หลัก คือ การส่งเสริมการขยายพันธุ์พืชที่อ่างข่างปลูกพืชเมืองหนาวได้ดี แต่อากาศเย็นไปสำหรับการขยายพันธุ์แต่ที่นี่สูงจากระดับน้ำทะเลแค่ประมาณ 720 เมตร ทำให้มีอุณหภูมิพอเหมาะกับการขยายพันธุ์ นโยบายที่หม่อมเจ้า ภีศเดช ประธานมูลนิธิฯท่านประทานมา คือ โครงการหลวงจะต้องมีพืชพันธุ์ใหม่ๆ ออกมาอยู่เสมอ

ที่สถานีฯ ปางดะ จึงมีงานวิจัยพันธุ์พืชปีละไม่ต่ำกว่า 25-30 โครงการรองรับงานวิจัยทั้งจากโครงการหลวง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง และมหาวิทยาลัย เมื่องานวิจัยได้ผลดีแล้วก็นำไปใช้ได้ทุกที่ของโครงการหลวงหรือที่ไหนก็ได้ เพราะโครงการหลวงของในหลวง รัชกาลที่ ๙ คือโครงการที่ช่วยคนทุกคน

นอกจากจะเน้นเรื่องการวิจัยขยายพันธุ์พืชแล้ว ยังเน้นเรื่องการใช้พื้นที่ให้ถูกต้อง อย่างในสถานีมีพื้นที่ทั้งหมด 1,302 ไร่ แต่ใช้จริงๆ 800กว่าไร่ โดยแบ่งพื้นที่ลาดชันเกิน 35 % เป็นป่า ลาดชันไม่เกิน 35 %ปลูกไม้ผลกันการชะล้างหน้าดิน ส่วนพื้นที่ราบใช้ปลูกผัก เพราะต้องพรวนดินบ่อยเพื่อให้ดินร่วนซุย และจะแยกพื้นที่ป่ากับพื้นที่ทำกินอย่างชัดเจนด้วยการทำถนนตัดผ่าน เพื่อป้องกันการรื้อถอน เพราะการทำถนนเป็นการถาวรนั้นถูกรื้อถอนยาก ทั้งยังเป็นเส้นทางลำเลียงพืชผลและเป็นแนวกันไฟป่าได้อีกด้วย

สำหรับงานส่งเสริม เนื่องจากพื้นที่ของสะเมิงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูงชัน ชาวบ้านทำการเกษตรบนที่ราบ ซึ่งมีอยู่น้อย จึงส่งเสริมให้รู้จักการใช้พื้นที่น้อย แต่ได้ผลผลิตเยอะ ส่งเสริมการปลูกพืชในโรงเรือน เพราะนอกจากจะใช้พื้นที่น้อยแล้ว ยังสามารถควบคุมเรื่องอากาศและฝนได้แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ มีพื้นที่ของตัวเองมักปลูกกระเทียมและปลูกพืชกันเอง มีบ้างเหมือนกันที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกเกษตรกรโครงการหลวงเพราะมั่นใจว่าจะมีคนดูแลให้คำปรึกษา ทั้งหาพืชพันธุ์ และมีความแน่นอนของตลาดรองรับ
จบเรื่องราวทางทฤษฎีแล้ว ทีนี้พวกเราก็ลงมาศึกษาการวิจัยและทดลองพันธุ์พืชของจริงกันเลย

เริ่มต้นจากพื้นที่ทั่วไปที่เราประทับใจตั้งแต่เข้ามาที่สถานีฯ ปางดะ เหมือนเป็นที่ทำการอุทยานฯ ที่พร้อมรองรับนักท่องเที่ยว สถานที่มีการตกแต่งสวนสวยงาม มีร้านค้าไว้รองรับทั้งอาหารและของฝาก ถนนในสถานีเหมาะกับการจ็อคกิง หรือขี่จักรยาน อีกไม่นานก็จะมีอุโมงค์สีเหลืองของต้นราชพฤกษ์ให้นักท่องเที่ยวได้แวะเข้ามาถ่ายรูปแข่งกับอุโมงค์สีชมพูของนางพญาเสือโคร่งของที่อื่นๆ หัวหน้าอยากให้ใครๆได้แวะเข้าเยี่ยมเยียน ท่องเที่ยวและได้รู้ได้เห็นการทำงานของโครงการหลวง ใครที่แวะเข้ามา อยากรู้อะไร เจ้าหน้าที่ทุกคนยินดีที่จะอธิบายข้อนี้ยืนยันได้ เพราะไม่ว่าจะไปโครงการหลวงที่ไหนเราก็ได้รับข้อมูลจนบันทึกไม่ทันทุกแห่ง

ที่สนามหน้าที่พัก มีต้นเพาโลว์เนีย ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ทรงปลูกไว้ เมื่อวันที่ 11
มีนาคม 2534 ตอนนี้ต้นสูงใหญ่ให้ร่มเงาสวยงาม

เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับไม้เพาโลว์เนีย

Paulownia ทั้งหมดเป็นไม้พื้นเมืองของจีน กระจายอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ทั้งในที่ราบและบนภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลกว่า
2,000 เมตร มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติลงมาถึงเวียดนามและลาว ชาวจีนรู้จักไม้ชนิดนี้มานานกว่า 2,000 ปี แล้ว จากบันทึกในหนังสือชื่อ “Erh-ya” ซึ่งเป็นสารานุกรมทางธรรมชาติวิทยาและวัฒนธรรมฉบับแรกของจีน เขียนขึ้นเมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้กล่าวถึงพรรณไม้ชนิดต่างๆ ที่มีประโยชน์ไว้มากมาย โดยในจำนวนนั้นได้กล่าวถึงไม้เพาโลว์เนียไว้ด้วย

ดอกเพาโลว์เนียมีสีม่วงสวยงามมาก ชาวจีนมักจะเรียกไม้เพาโลว์เนียว่า “PaoT’ung” ตามประเพณีจีนในสมัยโบราณ เมื่อคลอดบุตรเป็นผู้หญิงพ่อแม่ก็จะปลูกต้นเพาโลว์เนียไว้ให้หนึ่งต้น ครั้นลูกโตเป็นสาวและเข้าพิธีมงคลสมรสก็จะโค่นเพาโลว์เนียต้นนั้นเพื่อนำเนื้อไม้มาทำตู้เสื้อผ้า ซึ่งถือว่าเป็นสินเดิมจากฝ่ายเจ้าสาวที่สำคัญและมีค่ามาก หรือรองเท้าแตะชั้นดีของผู้หญิงญี่ปุ่นก็ทำมาจากไม้เพาโลว์เนียเช่นกัน

แต่อย่างไรก็ตามการวิจัยด้านการปรับปรุงบำรุงพันธุ์ไม้เพาโลว์เนียเพิ่งได้รับความสนใจจากสถาบันวิจัยป่าไม้ของจีนเมื่อปี พ.ศ. 2516 รวมทั้งการศึกษาวิจัยด้านการจำแนกพันธุ์ การปรับปรุงบำรุงพันธุ์ การขยายพันธุ์ การปลูก การจัดการสวนป่า และการใช้ประโยชน์ ก็เพิ่งได้เริ่มต้นอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2526

นอกจากจะโตเร็วและเบาแล้ว เนื้อไม้สีขาวของเพาโลว์เนียยังมีลายสวยงาม ไม่หด ไม่ยืด หรือแตกหักบิดงอ ไสกบตบแต่งง่าย เงางามแห้งเร็ว รวมทั้งมีคุณสมบัติด้านการป้องกันเสียงสะท้อน และเป็นฉนวนกันกระแสไฟฟ้ารั่วไหลได้เป็นอย่างดี จึงทำให้มีคนสนใจปลูกไม้เพาโลว์เนียเป็นสวนป่าเศรษฐกิจกันมาก

เมื่อพบว่า Paulownia taiwaniana เป็นไม้โตเร็วที่น่าสนใจงานป่าไม้ และมูลนิธิโครงการหลวงบนพื้นที่สูงอย่างดอยอ่างขาง ก็ได้
ศึกษาระบบวนเกษตรบนที่สูงโดยมีเพาโลว์เนียเป็นไม้ประธาน มีพืชกสิกรรมชนิดต่างๆ อาทิ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไร่ ขิง และกาแฟ รวมทั้งไผ่หวานอ่างขาง (ไผ่หมาจู๋ Dendrocalamuslatiflorus) เป็นพืชควบปรากฏว่าพืชไร่ที่ปลูกในช่วงปลายปีและเก็บเกี่ยวตอนต้นปี อันเป็นช่วงเวลาที่เพาโลว์เนียทิ้งใบ เช่น ข้าวบาร์เลย์ และข้าวสาลี รวมทั้งกาแฟซึ่งต้องการร่มเงาจากไม้ใหญ่เป็นไม้พี่เลี้ยง สามารถปลูกเป็นพืชควบในแปลงเพาโลว์เนียตามหลักระบบวนเกษตรได้ดีมาก โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบใดๆ ในทางลบทั้งสิ้น

อ่างเก็บน้ำห้วยปลาก้าง
จากนั้นก็นั่งรถมาอ่างเก็บน้ำจุดเริ่มต้นของทัศน-ศึกษาช่วงเช้าของพวกเรา ถึงไม่ไกลกันนักแต่คิดว่าได้นั่งรถมาก็ดีเหมือนกัน เพราะที่กว้างตั้งแปดร้อยกว่าไร่ เราจะเดินกันทั่วจริงๆ หรือ

อ่างเก็บน้ำห้วยปลาก้างนี้ ในหลวง รัชกาลที่ ๙ มีพระราชดำริให้สร้างฝายกักเก็บน้ำสองลำห้วยที่ไหลลงมาให้ชาวบ้านและโครงการหลวงใช้ร่วมกัน โดยชาวบ้านจะเป็นผู้รับผิดชอบดูแลและรักษาความสะอาดช่วยกันปลูกป่ารักษาความชุ่มชื้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526

แปลงวิจัยองุ่น
ถัดจากอ่างเก็บน้ำมาเราก็เจอแปลงชาสาธิต แต่ยังไม่ทันได้ข้อมูลฝนก็ตกลงมาเลยได้พักเบรกกันนิดหน่อย แล้วมาต่อกันที่แปลงองุ่น
องุ่น ที่ทดลองอยู่มี 26 สายพันธุ์ ที่ทดลองและนำออกส่งเสริม เช่น
บิวตี้ ซีดเลส (Beauty Seedless) – องุ่นไร้เมล็ดสีดำ
เพอเลท (Perlette) – สีเหลือง
ไวท์มะละกา (White Malaga) – สีเขียว
เซนเทนเนียล (Centennial) – เขียวอมเหลือง
แต่วันนี้ความรู้ที่ได้ไม่เกี่ยวกับสายพันธุ์  หลังจากกินองุ่นมาทั้งเปรี้ยวหวาน มีเมล็ด ไร้เมล็ด เพิ่งรู้ว่าวิธีดูแลองุ่นนั้นสำคัญตั้งแต่ “การสร้างรูปทรง” กันเลยเชียว ในแปลงวิจัยที่เรากำลังศึกษากันอยู่นี้ ถ้าดูให้ดีจะเห็นรูปทรงของการดัดกิ่งแตกต่างกัน อยู่ 3 แบบคือ ดัดต้นเป็นทรงตัว H, ตัว T และตัว Y เป็นการค้นคว้าว่าจะดัดทรงองุ่นขึ้นค้างรูปแบบไหนดี ถึงจะทำให้ดูแลง่าย ได้ผลผลิตดี

การดัดให้เป็น ตัว H นั้น ก็ต้องเริ่มตั้งแต่ทำโครงเหล็กเป็นรูปตัว U เมื่อองุ่นเจริญเติบโตมาถึงระดับที่ต้องการ ก็ยึดกิ่งติดกับโครงเหล็ก คอยดัดมันให้ไปตามทิศทางที่ต้องการ ค่อนข้างเป็นงานที่ยุ่งยากและใช้เวลาแม้จะได้ผลผลิตดีกว่ารูปทรงอื่น แต่การดูแลยาก ค้างเตี้ยทำให้ใบบังผลผลิต เพราะผลผลิตจะห้อยอยู่ใต้ค้าง ยากต่อการฉีดยาพ่นสารรูป ตัว T ทำค้างง่าย เมื่อสร้างค้างเป็นรูปตัว T แล้ว ยึดต้นที่ปลูกยึดติดเสา เมื่อขึ้นไปถึงค้างก็ดัดกิ่งไปตามขาเหล็กทั้งสองข้าง เหมือนคนกางแขน วิธีนี้ดูแลง่าย แต่ให้ผลผลิตน้อยกว่าตัว H แต่ชาวบ้านนิยมใช้ทรงนี้ส่วน ตัว Y ต้นจะอยู่กลางระหว่างเสารับค้างทั้งสองข้าง แบบนี้ง่ายต่อการใช้งาน

องุ่นเมื่อตัดแต่งแล้วประมาณ 1 เดือนจะออกดอก ดอกองุ่นมีกลิ่นหอม 4 เดือนก็เก็บผลผลิตได้ การเก็บผลผลิตองุ่นมีสองช่วง คือ
พ.ค. – มิ.ย. และ ธ.ค.- ม.ค.

ตอนนี้กำลังวิจัยอีกว่า ทำไมองุ่นหน้าฝนจึงหวานสู้องุ่นหน้าแล้งไม่ได้ ไม่คิดว่าเกี่ยวกับน้ำฝน อาจเป็นเพราะได้รับแสงไม่เพียงพอ
หรือเปล่า ทดลองใช้หลังคาที่ปิดเปิดรับแสงได้ รอผลผลิตว่าจะหวานขึ้นหรือไม่ ถ้าทดลองแล้วได้ผลสม่ำเสมอก็ค่อยส่งเสริมเกษตรกรต่อไปมีแปลงทดลองอีกหลายชนิด เช่น แบล็กเบอร์รี่ เริ่มทดลองที่สถานีฯ ปางดะ และผลผลิตออกสู่ตลาดในปี 2558 นี่เอง เมื่อก่อนเป็นแปลง ราสเบอร์รี่ แต่ราสเบอร์รี่โดนฝนไม่ได้เลยย้ายไปปลูกในโรงเรือน

มีแปลงมะเฟืองกำลังตัดแต่งกิ่ง มะเฟืองที่ทดลองอยู่เป็นมะเฟืองไต้หวันพันธุ์หวาน มี 6-7 สายพันธุ์


เฮมพ์ (Hemp) หรือกัญชง แรกเริ่มเดิมทีกัญชงในไทยปลูกโดยชาวเขาเาม้ง แต่เพราะตามกฎหมายของไทยกัญชงถูกจัดให้เป็น
พืชเสพติดเช่นเดียวกับกัญชา ดังนั้นการปลูกกัญชงของชาวเขาช่วงนั้นจึงเป็นการลักลอบปลูก

ต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ทรงสนพระราชหฤทัยผลิตภัณฑ์จากกัญชง ได้มีพระราชเสาวนีย์
ให้มีการศึกษาการเพาะปลูกกัญชงอย่างจริงจังในประเทศไทย และสนับสนุนการปลูกกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจบนพื้นที่สูงของประเทศไทย (โดยเฉพาะการปลูกให้ได้ THC หรือค่าสารเสพติด ต่ำกว่า 0.3%)

ในแปลงทดลองที่เราเห็นนั้น ทางสถานีกำลังศึกษาช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการผลิตเส้นใยเฮมพ์คุณภาพดี และถุงขาวๆ ที่เห็น
คลุมกัญชงไว้นั้น ก็กำลังทำการทดลองว่า ถ้าปิดไว้แบบนี้แล้วจะยังมีการผสมข้ามสายพันธุ์อยู่หรือไม่กัญชงที่ปลูกอยู่มี 30 กว่าสายพันธุ์แต่อย่านึกว่าตอนนี้จะปลูกกัญชงได้ ถ้าไม่มีใบอนุญาตจาก อ.ย.

ต้นเชอร์รี่บราซิล ไม้พุ่มใหญ่ใบเขียวสวย ลูกสีแดงสวยน่ารักน่ากินมีชื่อว่า เชอร์รี่บราซิล เห็นปุ๊บก็รีบกระโดดไปเก็บมาชิมแต่รสชาติไม่ถูกปากเลย เปรี้ยวๆ ฝาดๆ หวานนิดๆ มิน่าถึงยังไม่เคยเห็นขายในตลาดเลย นอกจากนี้ก็มีแปลงข้าวอีกกว่า 100 สายพันธุ์ เป็นของสถาบันพัฒนาพื้นที่สูง แต่ให้ที่นี่ดูแล ทั้งการเตรียมแปลงและการปลูก

โรงเรือนวิจัยและการผลิตไม้ดอก
แล้วก็มาถึง โรงเรือนวิจัยและการผลิตไม้ดอกหน้าที่หลักของการวิจัยและการผลิตไม้ดอกก็คือ การหาสายพันธุ์ใหม่ มาผลิตแล้วส่งต่อให้ศูนย์พัฒนาฯ นำไปส่งเสริมต่อ ตอนนี้กำลังขยายพันธุ์ดอกปทุมมา มีขึ้นทะเบียนแล้ว 7 สายพันธุ์ และกำลังทดลองอีก 20 กว่าสายพันธุ์

งานพัฒนาและวิจัยพันธุ์กล้วยไม้ฟาแลน ( Phalaen) จะนำสายพันธุ์ต่างประเทศมาทำการวิจัยพัฒนาพันธ์ุ และทดลองจนได้สายพันธุ์ใหม่ที่เหมาะสมกับบ้านเรา แล้วจึงนำออกส่งเสริม นอกจากจะทำให้ได้สายพันธุ์ใหม่ๆ แล้วยังเป็นการลดต้นทุนด้านลิขสิทธิ์ให้กับเกษตรกรด้วย

การเพาะกล้วยไม้จะเพาะจากเนื้อเยื่อบรรจุในขวด ปัจจุบันที่นี่ยังไม่มีห้องแล็บของตัวเอง ต้องส่งไปจ้างบริษัทที่กรุงเทพทำการขยายพันธุ์ให้ แล้วนำต้นกล้าจากขวดมาอนุบาลในแผงเพาะปลูกซึ่งใส่ฟีดมอสไว้ช่วยเก็บน้ำเลี้ยงกล้า จนแข็งแรงนำลงใส่กระถางเล็กๆ การเลี้ยงกล้วยไม้ จะเลี้ยงอยู่ในโรงควบคุมอุณหภูมิ ประมาณ 25-30 องศาในช่วงกล้วยไม้แทงช่อดอกจะต้องนำเข้าห้องเย็นเพื่อกระตุ้นให้แทงดอกกล้วยไม้นี้ 1 ปีออกดอก 4 ครั้ง ทำการวิจัยมาสามปีแล้ว

ต่อไปกำลังจะพัฒนากล้วยไม้พันธุ์หอมที่โครงการมีอยู่แล้วแต่เป็นขนาดเล็ก ซึ่งตลาดต้องการดอกไม้ดอกใหญ่ๆ ดังนั้นจึงต้องซื้อพ่อแม่พันธุ์กล้วยไม้หอมดอกใหญ่จากไต้หวัน แล้วเอามาผสมกันเป็นพันธุ์ใหม่

มันเทศญี่ปุ่นสีม่วง
บ่ายสามโมงแล้วเมื่อพวกเรามาถึงไร่มันเทศญี่ปุ่นสีม่วงของลุงเจยไร่มันของลุงเจยสวยมากๆ อากาศโปร่งเพราะเป็นทุ่งบนเนินเขา
ฟ้าสดใส ลุงเจยบอกกับพวกเราว่า เพิ่งเริ่มปลูกปีนี้ลุงก็ยิ้มออกเลย เมื่อก่อนไม่ได้เป็นสมาชิกโครงการหลวง แต่เห็นเพื่อนๆ ที่เข้าโครงการหลวงปลูกได้ผลดี แล้วโครงการหลวงก็มีพืชมาหมุนเวียนให้ปลูกหลายอย่างแล้วยังมีเจ้าหน้าที่มาคอยดูแลวางแผนให้ทุกอย่างก็อุ่นใจ

จากไร่ลุงเจยก็มาดูผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้วที่บ้านลุงกล ปรีดี มีมันเทศญี่ปุ่นสีม่วงเยอะแยะในโรงเรือน มันเทศนี้เก็บมา 2 วันแล้ว แต่ยังไม่ส่งโครงการ เพราะต้องรอให้มันเซตน้ำตาลออกมาก่อน ยิ่งเก็บไว้นานก็จะยิ่งหวาน ตอนเก็บมาพักไว้อย่าเพิ่งล้างปล่อยให้มีโคลนมีดินติดอยู่อย่างนี้แหละ แล้วต้องไม่ให้ชื้นด้วยมิฉะนั้นมันจะงอกรากออกมา ไว้ใกล้ส่งค่อยนำมาล้างให้สะอาด มันเทศนี้มีขนาดหัวไล่ๆ กัน ขนาดไม่ใหญ่ค่อนข้างไปทางยาว พี่ศักดิ์ลูกลุงกลบอกว่ามันเทศญี่ปุ่นเขาไม่นิยมหัวใหญ่

พี่แรมบอกว่าตอนนี้ยังไม่ได้วิจัยมันเทศญี่ปุ่นเป็นเพียงการรวบรวมพันธุ์ การรวมพันธุ์ก็หมายถึงการใช้ยอดพันธุ์ หัวพันธุ์ จากหลายๆ
ที่รวมไว้ที่นี่ ส่วนงานวิจัยมันเทศนี้จะอยู่ในแผนงบประมาณปี 2561ซึ่งจะทำการทดลองพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์ไปด้วย

ระหว่างที่พวกเราจัดการถ่ายภาพมันเทศญี่ปุ่น เจ้าหน้าที่กับลุงทั้งสองก็ถกปัญหาการปลูกมันว่า ตอนปลูกควรวางยอดต้นมันแบบไหนแทงแบบทแยงลงดินหรือวางตามนอนดีกว่ากัน เป็นการพูดคุยปรึกษาเหมือนคนในครอบครัว อย่างนี้ใช่ไหมที่ลุงเจยบอกว่าอบอุ่นดี

ขอขอบคุณ…
คุณวิพัฒน์ ดวงโภชน์ หัวหน้าสถานีเกษตรหลวงปางดะ
คุณณัฐกฤตา คำหนู (พี่แรม) นักวิชาการเกษตร
คุณเกียมศักดิ ์ คำแปง (พี่จิต) นักวิชาการเกษตรไม้ดอก
คุณพิรุณ โปธา (พี่ดอย) เจ้าหน้าที่พัฒนาและส่งเสริมผัก
คุณชาตรี ชัยวัธนัย (พี่คือ) เจ้าหน้าที่อารักขาพืช
ลุงเจย สานุวิทย์ เจ้าของสวนมันเทศญี่ปุ่นสีม่วง บ้านยั้งเมิน
คุณประสิทธิ์ ปรีดี เจ้าของสวนมันเทศญี่ปุ่นสีม่วง บ้านยั้งเมิน
คุณสมศักดิ์ ปรีดี / ลุงกล ปรีดี
เจ้าของบ้านที่ไปดูผลผลิตมันเทศญี่ปุ่นสีม่วง

เรื่องราวและภาพจาก…
สถานีเกษตรหลวงปางดะ
ที่อยู่ : บ้านปางดะ หมู่ 10 ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง
จังหวัดเชียงใหม่ 50250
เบอร์โทรศัพท์ : 0 5337 8046, 08 7173 5454

[:]

Posted in เที่ยวไป...รู้ไป..เข้าใจ "พ่อ".