[:TH]ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง “แม่โถ” (ผักสลัด)[:]

[:TH]

       จากการที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ได้แปร
พระราชฐานมาพักที่พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์หลายๆ ครั้ง ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2506 เป็นต้นมาได้ทรงทอดพระเนตรเห็นว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาพื้นที่ป่าบนที่สูงถูกทำลาย สภาพดินเสื่อมจากการปลูกพืชแบบโยกย้ายพื้นที่ทำกินไปเรื่อยๆ สร้างปัญหาให้แก่ป่า และระบบการไหลเวียนของน้ำ พื้นดิน ถูกกัดเซาะทำลาย รวมทั้งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

จึงทรงมีพระราชดำริเรื่องงานส่งเสริมและการพัฒนาต้นน้ำ รวมทั้งการดำรงชีวิตให้แก่ชาวเขาตามสภาพความเป็นอยู่ในพื้นที่ ทรงจัดตั้งโครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำขึ้นหลายหน่วย หมู่บ้านแม่โถ ตำบลบ่อสลีอำเภอฮอด นับเป็นหน่วยที่ 6 ตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2518 เพื่อเน้นการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ลดการทำลายต้นน้ำ ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้น้ำและระบบการไหลเวียนของน้ำ ส่งเสริมให้ปลูกพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับภูมิประเทศในพื้นที่ที่จัดใหม่ ทดแทนการปลูกฝิ่น เข้ามาดูแลให้บริการด้านความรู้ การศึกษา สุขอนามัย การบริโภค และสร้างเส้นทางคมนาคมอย่างกว้างขวางสอนเทคนิควิธีทางการเกษตรและระบบชลประทานขนาดย่อม

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2539 ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธิโครงการหลวง จึงได้เปลี่ยนชื่อจากโครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำ มาเป็นศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ

งานทดสอบสาธิต การปลูกไม้ตัดดอกภายในโรงเรือน ได้แก่อัลสโตมีเรีย

งานทดสอบสาธิตไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่ กีวี่ฟรุต โลควอท

งานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ส่งเสริมการปลูกพืชผักภายใต้โรงเรือน เช่น พริกหวาน มะเขือเทศดอยคำ คะน้าเห็ดหอม บล็อคโคลี่
สีม่วง ถั่วลันเตาหวาน โอ๊คลีฟแดง บัตเตอร์เฮด เบบี้คอส เรดโครอลแรดิชแฟนซี และเบบี้ฮ่องเต้

งานไม้ผล ที่ส่งเสริมมี 5 ชนิด ได้แก่ พลับ พลัม อะโวคาโด มัลเบอร์รี่ และเสาวรสหวาน

กาแฟ ส่งเสริมการผลิตกาแฟอาราบิก้า

พืชไร่ ส่งเสริมการปลูกพืชไร่บนพื้นที่สูง ได้แก่ ถั่วแดง ถั่วขาว และ ถั่วอะซูกิ

นอกจากงานด้านพัฒนาอาชีพการเกษตรแล้ว ศูนย์ฯ แม่โถยังเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้การปลูกผักภายใต้โรงเรือนพลาสติก

15 ธันวาคม 2514 เวลา 10.05 น.
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เสด็จฯ พร้อมสมเด็จระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๑๐ (พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ ในขณะนั้น)…ไปทรงเยี่ยมชาวเขาหมู่บ้านแม่โถ หมู่บ้านผาหมอน หมู่บ้านขุนวาง

เวลา 10.50 น เสด็จฯ ถึงบ้านแม่โถ อำเภอฮอด…พระราชทานกิ่งแอปเปิ้ลสำหรับปลูกขยายพันธ์ุ พระราชทานพระราชกระแสกับผู้ใหญ่บ้านแม่โถ ในอันที่จะส่ง วัว แกะ มาพระราชทานให้เลี้ยงแพร่พันธ์ุ…

แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จไปตามไหล่เขาเป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นเสด็จฯ ทอดพระเนตรถั่วแดงคิดนี่ ถั่วพินโถและถั่วไลมา ซึ่งพระราชทานแจกชาวเขาเป็นจำนวน 2.5 ตัน เพื่อใช้เพาะปลูกแทนการปลูกฝิ่น ปรากฏว่าได้ผลดีเป็นที่พอพระราชหฤทัย…แล้วเสด็จฯ ทอดพระเนตรร้านค้าของหมู่บ้าน ในโอกาสเดียวกันนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แพทย์หลวงทำการตรวจรักษาโรคและแจกยาแก่ชาวบ้านโดยทั่วถึง

วันที่ 5 มกราคม 2516 เวลา 10.55 น.
เสด็จฯ ถึงหมู่บ้านแม่โถ หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด พระราชทานวัวพันธ์ุบราห์มัน 2 ตัว ห่าน 10 ตัว ในการนี้พระราชทานกระแส
พระราชดำริว่า สำหรับวัวพันธุ์บราห์มันเมื่อนำไปผสมพันธ์ุกับวัวพันธ์ุพื้นเมือง ออกลูกมาแล้วจะสามารถนำออกจำหน่ายได้ราคาที่สูงกว่าวัวพันธ์ุพื้นเมืองมาก ห่านนั้นเลี้ยงง่ายไม่ต้องเสียค่าอาหารเพียงปล่อยให้กินหญ้าซึ่งมีอยู่ทั่วไป อาจฟักไข่ได้เอง หรือบริโภคมีโปรตีนสูงเสด็จฯ ทอดพระเนตรธนาคารข้าว ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อให้ชาวเขายืมไปบริโภคและปลูกข้าวมาคืน


วันที่ 19 มกราคม 2519 เวลา 13.20 น.
เสด็จฯ ถึงสถานีโครงการหลวงพัฒนาชาวเขาหมู่บ้านแม่โถ ตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรแปลงสาธิตพืชไร่ พืชผักพืชยา พืชสวน จากนั้นเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรแปลงทดลองปลูกดอกดาวเรือง ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะเป็นไม้ดอกที่ทำรายได้ดีอีกชนิดหนึ่ง

เวลา 15.20 น. เสด็จฯ ถึงโครงการพัฒนาป่าไม้หน่วยที่ 6 หมู่บ้านแม่โถ ตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด ทรงทอดพระเนตรบริเวณที่จะปลูก
ป่าทดแทน ทรงมีกระแสพระราชดำรัสกับหัวหน้ากองอนุรักษ์ต้นน้ำว่าการปลูกป่าทดแทนนั้นควรพิจารณาใช้ไม้ยืนต้นหลายๆ ชนิด เพื่อประโยชน์ต่างกัน คือ ต้นไม้ยืนต้นที่สามารถใช้เนื้อไม้ได้ ใช้เป็นฟืนได้ตลอดจนไม้ผล และไม้ช่วยอนุรักษ์ดิน

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2522
เสด็จฯ ไปยังโครงการหมู่บ้านหลวงพัฒนาชาวเขาบ้านแม่โถตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด ซึ่งดำเนินการโดยฝ่ายโครงการหลวงพัฒนา
ต้นน้ำของกรมป่าไม้ จากนั้นเสด็จฯ ไปยังสำนักงานโครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำหน่วยที่ 6 แม่โถ แล้วเสด็จฯ ไปเปิดป้ายงานจัดหมู่บ้านและพื้นที่ทำกินแบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งได้พัฒนาพื้นที่ไหล่เขาให้เป็นลักษณะขั้นบันได เป็นเนื้อที่ 200 ไร่ เพื่อให้ราษฎรมีที่ทำกินอย่างพอเพียง โดยจะส่งเสริมให้ปลูกข้าวปลูกถั่วหมุนเวียน ตลอดจนไม้ผลต่างๆ

วันที่ 7 มีนาคม 2525
เสด็จฯ ต่อไปยังโครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำหน่วยที่ 6 หมู่บ้านแม่โถตำบลบ่อสลี อำเภอฮอด ซึ่งดำเนินการโดย สำนักงานป้องกัน
และปราบปรามยาเสพติด และกรมป่าไม้

เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรชาวเขาเผ่าต่างๆ และสมาชิกในโครงการฯที่เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ บริเวณบ้านจัดสรร ซึ่งโครงการจัดสร้างด้วยคอนกรีตบล็อก สำหรับให้ราษฎรที่เป็นสมาชิกโครงการฯ อยู่ร่วมกันอย่างถูกสุขลักษณะ และอยู่ใกล้บริเวณที่ทำกิน ซึ่งส่งเสริมให้ปลูกพืชทดแทน เช่น ถั่วแดง มันฝรั่ง ถั่วแขก ข้าวโพดกาแฟ มะเขือเทศแครอท พริกยักษ์ ผักสลัด ในการนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะแพทย์จัดตั้งหน่วยแพทย์ชั่วคราวเพื่อตรวจรักษาราษฎรที่เจ็บป่วยและทรงรับไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์

เพื่อความเข้าใจในการพัฒนาการทำงานของโครงการหลวงที่ค่อยๆปรับเปลี่ยนไป จึงคัดลอกบางส่วนจาก พระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตรในพื้นที่โครงการหลวงมา พอให้ได้รับทราบบ้าง



27 กันยายน 2560
มาถึงศูนย์ฯ แม่โถ ได้เวลาข้าวมื้อเที่ยงพอดี ทานอาหารที่ร้านของศูนย์ฯ แม่โถ ทุกอย่างทำจากผัก บ่งบอกว่านี่แหละคือศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถที่เราตั้งใจมา

ที่นี่ส่งเสริมการปลูกผักสลัดถึง 20 ชนิด เพราะผักสดใหม่จึงหวานกลมกล่อม หรือเพราะฝีมือแม่ครัวกันแน่ที่ทำให้พวกเราทานทุกอย่างจนเกลี้ยงไม่มีเหลือ อิ่มกันจนไม่อยากออกไปทำอะไร นอกจากนั่งมองภาพสายฝนที่โปรยปรายกับทิวเขาเบื้องหน้า ไม่น่าเชื่อว่าตั้งแต่นั่งรถเข้าเขตแม่โถมา ไม่ได้เห็นดอกไม้สักดอก แต่ภาพทิวทัศน์ตลอดสองข้างทางทำให้พวกเราต้องหยุดรถ แล้วกดชัตเตอร์บันทึกภาพกลับมาฝากใครต่อใคร

เมื่อฝนหยุดตกจึงได้มีโอกาสเรียนรู้ว่าเนินผักขั้นบันไดที่ทำให้เนินเขาดูสวยแปลกตานั้น ส่วนมากเป็นแปลงของเกษตรกรปลูกขายเอง ไม่ได้ส่งโครงการหลวง ปัจจุบันเกษตรกรพื้นที่สูงมีทางเลือกในการหาผู้รับซื้อได้ง่าย ด้วยเส้นทางคมนาคมที่สะดวกในการขนส่งสินค้า มีประมาณ 40เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่อยู่ในการดูแลของโครงการหลวง และโครงการฯจะเน้นส่งเสริมการปลูกผักในโรงเรือน ซึ่งนอกจากจะดูแลง่ายแล้วยังเป็นการลดการใช้พื้นที่ และการอยู่ในความดูแลของโครงการฯ หมายถึงการผลิตที่ต้องได้มาตรฐาน โดยเฉพาะเรื่องของการใช้สารเคมีที่จะเป็นอันตรายกับผู้บริโภคการควบคุมปริมาณการผลิต การหมุนเวียนเปลี่ยนผลผลิต
เพื่อใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่เสื่อมสภาพ และการไม่รุกล้ำพื้นที่ป่า

การดูแลรักษาป่าต้นน้ำตามแนวทางที่ในหลวง รัชกาลที่ ๙ กำหนดไว้ นั่นหมายถึง สมาชิกของโครงการหลวงต้องมีความเข้าใจในแนวทางการดำเนินชีวิตที่พึ่งพิงกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ดังคำสรุปสั้นๆของแนวทางงานส่งเสริมของโครงการที่ว่า “พึ่งพา พอเพียง พอใช้”เนื่องจากแม่โถอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร จึงเหมาะกับการปลูกผักเมืองหนาว เช่น ผักสลัด

ที่ศูนย์ฯ แม่โถ นับเป็นศูนย์การเรียนรู้การปลูกผักแบบประณีตภายใต้โรงเรือน เพื่อลดการใช้สารเคมี ลดการใช้พื้นที่ โดยไม่ทำลายป่ามีแนวคิดให้ชาวบ้านมีรายได้เป็นรายวัน รายเดือน รายปี โดยจัดสรรพื้นที่ทำกิน ดังนี้

โรงเรือนดอกไม้ ครอบครัวละ 2 โรง มีรายได้จากการตัดดอกเป็นรายวัน
โรงเรือนปลูกผัก ครอบครัวละ 4 โรง ซึ่งทำให้มีรายได้รายเดือน
ส่วนพื้นที่ที่เหลือก็ปลูกไม้ผลหรือเลี้ยงสัตว์ จะทำให้ชาวบ้าน
มีรายได้ส่วนนี้เป็นรายปี
หากชาวบ้านไม่มีทุนตั้งต้นก็มีสหกรณ์กลุ่มให้ยืมเงินลงทุน ปกติชาวบ้านจะมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 4,000 – 5,000 บาทต่อการเก็บผลผลิต 1 ครั้ง

โรงเรือนที่เห็นทั้งหมด ปลูกลดหลั่นไปตามเนินเขา แต่ละเจ้าปลูกผักตามแผนที่ศูนย์ฯ แม่โถวางไว้ เพื่อส่งผลผลิตได้ตามแผนจากส่วนกลาง

ช่วงนี้ในโรงเรือนปลูก สลัดคอส, คะน้ายอด, ฟิลเลย์ไอซ์เบิร์กและ เบบี้คอส ปีนี้เจอปัญหาไส้เดือนฝอย ทำให้รากเป็นปม มิซูนา
เป็นผักที่พบได้ในร้านอาหารญี่ปุ่นแทบทุกร้าน คอร์นสลัด เป็นผักราคาดี การปลูกสามารถหว่านเมล็ดลงแปลงได้เลย ร็อกเก็ตสลัด
มีกลิ่นฉุนนิดหน่อย ส่ง sizzler และ MK เป็นหลัก คื่นฉ่าย ปลูกได้ปีละครั้ง ถือว่าเป็นพืชราคาดี บัตเตอร์เฮด ไม่ได้ปลูกมาสี่ห้าปีแล้ว
แต่ปัจจุบัน ตลาดต้องการผักสลัดหลายชนิดมากขึ้น ปีนี้จึงนำมาปลูกอีก

บัตเตอร์เฮด กับ เบบี้คอส มีลักษณะคล้ายกัน แต่เบบี้คอสมีทรงยาวใบตั้งหนา บัตเตอร์เฮดจะมีใบแบนกว่า รูปร่างคล้ายหัวใจ


ศูนย์ฯ แม่โถมีโรงเรือนเพาะต้นกล้าอยู่ 5 โรงเรือน ชาวบ้านรับจ้างเพาะและเลี้ยงดูต้นกล้าจนแข็งแรง ส่งศูนย์ฯ เพื่อขายให้เกษตรกรต่อไป

สำหรับข้อสงสัยว่าทำไมไม่ขายเมล็ดพันธ์ุให้เกษตรกรไปเพาะกล้าเองนั้น ได้รับคำตอบว่า การให้เมล็ดพันธ์ุไป บางครั้งเกษตรกรอาจนำไปแล้ว เพาะบ้างไม่เพาะบ้าง เกิดความสูญเสียหรือสูญหายบ้าง ก็ทำให้ได้ผลผลิตไม่ครบตามแผน

นอกจากจะส่งเสริมการปลูกผักแล้ว ยังมีโรงเรือนปลูกไม้ดอกมีทั้งแบบตัดดอกและปลูกเป็นกระถาง

ดอกอัลสโตรมีเรีย (Alstroemeria) เป็นไม้ตัดดอก มีปลูกที่เดียว คือ ที่ศูนย์ฯ แม่โถ เพราะอากาศเหมาะสม การจัดการดูแลเบื้องต้นค่อนข้างยาก เป็นสายพันธ์ุนำเข้าจากประเทศอังกฤษและฮอลแลนด์ มี 7 สายพันธ์ุ เน้นพันธ์ุเบาออกดอกเร็วออกดอกทั้งปี อาทิตย์หนึ่งๆ เก็บดอก 3 วัน วันละประมาณ200 ช่อ ปลูกครอบครัว 1 ต่อ 2 โรงเรือน เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วจะมีรายได้ แสนกว่าบาทต่อปีและยังมีพวกไม้ถุง เช่น เจอเรเนียม ปลูกไว้ส่งพืชสวนโลกปีละครั้ง

โรงเรือนของชาวบ้าน
ได้มีโอกาสเยี่ยมชมสวนของชาวบ้านซึ่งกำลังเก็บผลผลิต ต้องรีบไปแต่เช้า เพราะชาวบ้านจะเก็บผลผลิตกันในช่วงเช้า

สวนแรกของพี่จินดา เริ่มเก็บตั้งแต่ 6.00 – 9.00 น. กำลังเก็บ “คอร์นสลัด”

สวนที่ 2 ของพี่อริสา กำลังเก็บ “ร็อกเก็ตสลัด” เริ่มตั้งแต่ 7 โมงเช้า ร็อกเก็ตสลัดต้นเล็กกว่าจะเก็บได้ตะกร้าหนึ่งก็ใช้เวลาพอสมควร

สวนที่ 3 ของแม่หล้า กำลังเก็บ “ปวยเล้ง”แต่ละโรงเรือนมีคนช่วยกันหลายคนเป็นการ “เอามื้อ” ทุกคนสนุกสนานอารมณ์ดี เจ้าของโรงเรือนก็จัดขนมมาบริการคนมาช่วย ดูเป็นบรรยากาศ สนุกสนานและน่ารัก ได้เจอลุงอิ่นคำเล่าว่า เมื่อก่อนปลูกมะเขือเทศ ทำเองก็เสียหายเยอะ เพราะไม่รู้วิธีแก้ปัญหา พอได้เข้ามาอยู่ในโครงการหลวง ตั้งแต่ปี 2549 มีคนคอยดูแลช่วยแนะนำทุกอย่างมีตลาดรับซื้อไม่ต้องวิ่งหาเอง ทำให้มั่นคงขึ้น งานก็เบาลง แรกๆ โรงเรือนของลุงก็เป็นโรงไม้ไผ่ พอเริ่มทำมาได้ไม่นานก็มีเงินเปลี่ยนเป็นโครงเหล็ก

โรงคัดบรรจุ
จากนั้นก็มาที่โรงคัดบรรจุ โรงคัดบรรจุของศูนย์ฯ แม่โถนอกจากจะรับผลผลิตของชาวบ้านที่อยู่ในความดูแลแล้ว ยังต้องรับของแม่สะเรียงและแม่ลาน้อยด้วย ในการรับผลผลิตสมัยก่อนที่การเดินทางยังไม่สะดวกโครงการหลวงจะเข้าไปรับผลผลิตตามแปลงของชาวบ้าน ปัจจุบันชาวบ้านมีรถของตนเองก็เข้ามาส่งเองได้ ก็มีบ้างที่ทางศูนย์ฯ แม่โถยังต้องช่วยไปรับให้อยู่ รับมาแล้วมาคัดชั่งน้ำหนักที่ศูนย์ฯ แม่โถ ผักที่เข้าโรงคัดจะมีการแช่คลอรีนความเข้มข้นต่ำ ที่รอยตัดเพื่อกันเน่าและเชื้อแบคทีเรียคอร์นสลัดต้องล้างน้ำเปล่าและแช่คลอรีน 10 % เพราะปลูกติดดิน

เมื่อคัด ตัดแต่งเรียบร้อยแล้วก็เอาเข้าห้องเย็น 4-7 องศาเซลเซียสรอรถห้องเย็นมารับตอนบ่าย 3 ไม่เกิน 5 โมงเย็น ปัจจุบันที่ศูนย์ฯ แม่โถมีรถห้องเย็นส่งผลผลิตไปที่กรุงเทพเอง ส่งตรงไป ม.เกษตรและ MK จัดส่งวันจันทร์ พุธ ศุกร์

ศูนย์ฯ แม่โถจัดเป็น 1 ใน 9 ศูนย์ฯ ที่ได้มาตรฐาน GMP, HACCPเท่ากับมาตรฐานยุโรป หรือ GAP จากกรมวิชาการเกษตร (มีการมาสุ่มตรวจทุกๆ ปี)

มาเที่ยวศูนย์ฯ แม่โถ ก็คงไม่ต้องไปที่ไหนต่อ เพราะมีธรรมชาติอันงดงามทุกเส้นทางที่ผ่าน ด้วยเนินเขาที่มีแต่พืชไร่ และแปลงผัก เป็นความงามที่ดูโล่งโปร่งตา ทำให้มองเห็นเขาซ้อนเขาไปได้ไกล และที่แม่โถยังมีวิถีชีวิตเรียบง่ายของชาวบ้าน ให้เราได้สัมผัส ทำให้เรารู้สึกสงบและผ่อนคลาย

แม่โถยังมีจุดชมวิวที่เปิดอย่างเป็นทางการ และเป็นที่รู้จักแล้วมีชื่อว่า “ดอย 360 องศา” นักท่องเที่ยวชอบมากางเต็นท์ชมทิวเขา
กว้างรอบตัว สัมผัสหมอกยามเช้าอันสดชื่น และ “ทุ่งหญ้าสะวันนา”ได้เห็นยอดหญ้าเอนไหวลู่ไปกับลมที่พัดหวนไปมา กับฝูงสัตว์เลี้ยงที่เดินเล็มหญ้าเป็นภาพความงามที่แปลกตา

ขอขอบคุณ…
คุณศุภชัย วิหคไพรวัลย์ (อ.ชาติ) นักวิชาการไม้ดอก
คุณสินธ์ชัย ศรีฉลวยมาลี เจ้าหน้าที่วิเคราะห์สาร
คุณศรีรัตน์ อัมพรธารา (พี่แนน) นักวิชาการหลังการเก็บเกี่ยว
คุณอิ่นคำ อมรศรีคงคา เจ้าของโรงเรือนผัก
พี่จินดา เจ้าของโรงเรือนผัก
พี่อริสรา เจ้าของโรงเรือนผัก
แม่อุ้ยหล้า เจ้าของโรงเรือนผัก
พี่รี แม่ครัวประจำศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ

เรื่องราวและภาพจาก…
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ
ที่อยู่ : บ้านแม่โถ หมู่ 1 ตำบลบ่อสลี
อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ 50240
โทรศัพท์ : 0 5321 0935 หรือ 08 5623 3295[:]

[:TH]ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง “แม่ทาเหนือ” (เสาวรส)[:]

[:TH]

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ทาเหนือ ก่อตั้งครั้งแรกในรูปแบบโครงการหลวงพัฒนาภาคเหนือ เมื่อปี พ.ศ.2521
ตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙เพื่อช่วยราษฎรในชุมชนแม่ทาเหนือให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นป้องกันปัญหาการบุกรุกทำลายป่า การดำเนินงานในช่วงแรกทางศูนย์ฯ แม่ทาเหนือ ได้รับความร่วมมือจากองค์กรการอุตสาหกรรมป่าไม้ในรูปการปลูกสร้างสวนป่า โดยมุ่งหวังให้ราษฎรมีรายได้จากการดูแลรักษาป่าไม้ ต่อมาได้เริ่มพัฒนาด้านอาชีพให้กับชาวบ้าน ส่งเสริมการปลูกผัก งานเลี้ยงสัตว์เป็นงานหลัก งานหัตถกรรมพื้นบ้านเป็นอาชีพเสริมในรูปแบบศูนย์พัฒนาโครงการหลวง

ศูนย์ฯ แม่ทาเหนือ มีพื้นที่รับผิดชอบ 254 ตารางกิโลเมตร หรือ 158,750 ไร่ ครอบคลุม 3 ตำบล คือ ตำบลออนเหนือตำบลทาเหนือ และตำบลแม่ทา มีประชากรอาศัยราว 8,173 คนส่วนใหญ่เป็นคนพื้นเมืองและชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง

25 กันยายน 2560
ออกเดินทางแต่เช้าอีกแล้ว แม่ทาเหนืออยู่ไม่ไกลก็จริง ถนนลาดยางเส้นทางเล็กๆ สวยด้วยป่าและความชุ่มชื้น แต่เป็นทางขึ้นเขาชัน แคบและคดเคี้ยวเช่นเดียวกับทางไปบ้านแม่กำปอง วันนี้เรามาศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ทาเหนือ ที่เลี้ยงควายนม และแหล่งเสาวรสหวานของโครงการหลวง

มาถึงก็ได้เจอเสาวรสหวานพันธุ์ไทนุงกันแต่เช้า ชาวบ้านกำลังเอามาส่งที่ศูนย์ฯ แม่ทาเหนือ เขาจะส่งทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ จึงได้มีโอกาสดูช่วงเวลาที่ชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่รับและส่งผลิตผลกันแต่เช้า ดูมีชีวิตชีวาดี มีพืชผักหลายๆ อย่างมาพร้อมกัน ที่นี่ก็เหมือนกับที่อื่นๆ ที่ได้ไปมา คัดแยกผลิตผลที่ได้ตามมาตรฐานก่อนบรรจุลงลังของโครงการตามสีที่กำหนดแล้วจึงชั่งน้ำหนักและลงบันทึกรับผลผลิต พืชผลและผักที่ได้เข้ามาในช่วงเช้านอกจากเสาวรสแล้วก็มี ถั่วเข็ม ถั่วฝักยาว ซูกินี (แตงกวาญี่ปุ่น)

8.00 น. พวกเราก็ได้พบกับหัวหน้าศูนย์ฯ แม่ทาเหนือคุณพิชิต วันชัย นั่งสบายๆ คุยกันหนักๆ ที่โรงอาหาร หัวหน้าบอกว่าหลักในการทำงานของที่นี่ก็คือ เน้นการพัฒนาสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านตอนนี้สมาชิกเกษตรกรมีรายได้จากการปลูกพืชผักหรือเลี้ยงสัตว์ส่งผลิตผลให้โครงการ แล้วยังมีรายได้นอกภาคเกษตรกรรม เช่น การทำงานจักสานการทอผ้า เย็บผ้าส่งไปขาย และยังสามารถขายให้นักท่องเที่ยวได้อีกด้วย

สำหรับงานการดูแลในภาคเกษตร คือ นำพืชพันธุ์ที่ทางศูนย์ฯ วิจัยแล้วว่าส่งเสริมได้มาทดลองว่าเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ของตนไหม ต้องมั่นใจไม่ต่ำกว่า 90 % ว่าส่งเสริมแล้วชาวบ้านจะมีรายได้แน่นอนจึงจะนำออกส่งเสริม ทางศูนย์ฯ แม่ทาเหนือ จึงจัดหาเมล็ดพันธุ์และต้นกล้าพร้อมเป็นที่ปรึกษาและช่วยดูแล ส่วนปัจจัยอื่นๆ ใช้วิธีให้ยืมไปก่อนแล้วหักค่าใช้จ่ายเมื่อสามารถจำหน่ายผลผลิตได้แล้ว นอกจากนี้ทุกศูนย์ฯ มีระบบสหกรณ์เก็บเมล็ดพันธุ์พืชและปุ๋ย แล้วยังมีวิสาหกิจชุมชน ชาวบ้านมีการตั้งกลุ่มออมทรัพย์ซึ่งอยู่ในขอบเขตของเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มจากการเก็บออมแล้วค่อยเอาไปลงทุน

สำหรับการเป็นสมาชิกเกษตรกรต้องมาลงทะเบียนสมัคร เมื่อผ่านแล้วต้องอบรมเรื่องพืชผักปลอดสารพิษ (GAP) ในช่วงเดือนตุลาคมโครงการหลวงเองจะมีแผนว่า ปีนี้จะส่งเสริมการปลูกพืชชนิดใดกี่ตันมีเป้าหมายไว้อย่างไร อย่างเช่นถ้าปีหน้าโครงการหลวงตั้งเป้าว่าจะต้องได้ผลผลิตเสาวรส 80,000 กิโลกรัม ก็ประมาณได้ว่าต้องปลูกต้นกล้า8,000 ต้น ไร่หนึ่งปลูกได้ 100 ต้น ดังนั้นต้องปลูกเสาวรส 80 ไร่ ทางศูนย์ฯ แม่ทาเหนือ ก็จะทำแผนว่าใครมีความประสงค์จะรับปลูกอะไรเท่าไร เมื่อได้ตัวเลขแล้วก็แจ้งส่วนกลางไปว่ามีกี่รายจำนวนเท่าไร ทางส่วนกลางก็จะแจ้งไปที่สถานีเกษตรหลวงปางดะ ซึ่งเป็นที่เพาะและขยายพันธุ์กล้า แล้วจัดส่งให้ศูนย์ฯ ต่างๆ ตามที่ส่วนกลางแจ้งมาเมื่อรับกล้ามาแล้ว ทางศูนย์ฯ แม่ทาเหนือก็นำมาส่งต่อให้สมาชิกเกษตรกร ส่วนปัจจัยการเพาะปลูก เช่น ปุ๋ย ยา สารเคมี อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์ฯ แม่ทาเหนือ

คัดบรรจุ

จบจากการทำความเข้าใจภาพรวมของศูนย์ฯ แม่ทาเหนือ หัวหน้าก็พาทัศนศึกษางานของศูนย์ฯ แม่ทาเหนือต่อ ได้มีโอกาสสอบถามข้อมูลของพืชผักที่ทางศูนย์ฯ แม่ทาเหนือ ดูแลอยู่จาก คุณต้อม (กิตติ ทรงสุข)นักวิชาการพืชผัก ได้รู้ว่าที่ศูนย์ฯ แม่ทาเหนือนี้ จะส่งเสริมเน้นผักประเภทกินผล เพราะอากาศที่นี่ไม่เหมาะสมกับผักกินใบ การส่งเสริมก็มีทั้งผักอินทรีย์และผักปลอดสารพิษ จุดเด่นของที่นี่มี ถั่วเข็ม ซูกีนี เสาวรสหวาน


ห้องตรวจสอบผลผลิต
ที่ศูนย์ฯ แม่ทาเหนือเราได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยได้เห็นมาก่อน นั่นคือห้องแล็บสำหรับสุ่มตรวจสอบยาฆ่าแมลงและสารพิษในผลผลิต ด้วยชุดตรวจสอบ “จีที” (GT) เขาบอกว่าเป็นชุดตรวจสอบที่ใช้ง่ายและทราบผลในเวลาอันรวดเร็ว เหมาะกับการใช้ในพื้นที่ภาคสนาม แต่เราดูแล้วมีหลายขั้นตอนมากเลย

เริ่มจากการหั่นหรือบดผลิตผลตัวอย่างให้ละเอียดแล้วคลุกให้เข้ากันชั่งตัวอย่างใส่ขวด แล้วนำสาร Solvent-1 หยอดลงไปแล้วเขย่าให้เข้ากัน ดูดสารสกัดที่ผสมแล้วใส่หลอดแก้วทดลองแล้วใส่ Solvent-2 เอาเข้าเครื่องเป่าลมให้สารระเหยจนแน่ใจว่าระเหยหมดจริงๆ จึงจะเอาไปตรวจสอบสารตกค้าง ผู้ปฏิบัติการตรวจสอบจะต้องทำหลอดควบคุม และหลอดตัดสินไว้ก่อนทุกครั้ง เอาหลอดตัวอย่างที่ได้มาเทียบกับหลอดตัดสินและหลอดควบคุม

ขั้นตอนนี้ใช้ชุดตรวจสอบที่เรียก “จีที” หลังจากปฏิบัติตามวิธีการที่ระบุไว้จะได้ตัวอย่างในหลอดแก้วที่มีสีเปลี่ยนไป จะผ่านการตรวจสอบหรือไม่ก็จะเทียบเอาจากสีที่แตกต่างมากน้อยแค่ไหนกับหลอดควบคุมและหลอดตัดสิน ตัดสินได้ด้วยสายตา
เป็นขั้นตอนที่ดูเหมือนง่าย แต่ก็อธิบายยากเหมือนกัน ถ้าอยากรู้ให้ละเอียดกว่านี้ คงต้องสมัครมาทำงานที่นี่แล้วล่ะ

เรียนรู้ เรื่อง “นมควาย”
จากความรู้ที่พวกเราไม่ค่อยสันทัด ได้ออกมาเดินเหมือนอยู่กลางทุ่งทั้งที่ยังอยู่ที่หน้าศูนย์ฯ แม่ทาเหนือนี่เอง ทำให้เริ่มมีชีวิตชีวากันใหม่ ยิ่งได้ยินหัวหน้าพูดถึงร้านกาแฟ…รีบมองหา…อยู่ตรงไหน…นั่นไง…แต่กำลังสร้างอยู่น่ะ หัวหน้าตั้งใจจะให้ถนนสายนี้เป็นเส้นทางปั่นจักรยาน ทำร้านกาแฟใส่นมควาย พร้อมขายผลิตภัณฑ์ของชาวบ้าน

หวังว่าถ้าคิดค้นวิธีตีนมควายให้แตกฟองได้เหมือนนมวัว ก็จะทำให้นมควายที่ส่งเสริมกันอยู่เป็นที่รู้จักมีตลาดรองรับมากขึ้น แล้วโรงงานตรงนี้ที่ชาวบ้านนำนมควาย นมแพะที่รีดได้มาส่งทุกเช้าก็ตั้งอยู่ใกล้ๆ ได้ประชาสัมพันธ์ชั้นดี…ที่นี่มีนมควายสดจากฟาร์ม มีแบรนด์ของตัวเองเป้าหมายที่ต้องการคือผ่าน อย. ด้วยนะ


ภารกิจหลักของศูนย์ฯ แม่ทาเหนือ คือการสร้างรายได้ให้เกษตรกรแต่การขายน้ำนมดิบไม่ใช่เรื่องคุ้มทุน นอกจากการแปรรูปให้เกิดผลิตภัณฑ์หลายชนิด ซึ่งก็ต้องมีโรงงานผลิต ตอนนี้เพิ่งก่อสร้างโรงงานแล้วเสร็จ รอเครื่องจักรที่สั่งไว้กำลังจะเข้ามาแล้วจะเริ่มการผลิต นั่นคืองานที่จะเกิดขึ้นอีกหนึ่งงานที่ศูนย์ฯ แม่ทาเหนือ หัวหน้าบอกว่าปัจจุบันที่ทำอยู่น้ำนมดิบที่ได้มาส่งให้แม่เหียะ นำไปแปรรูปต่อเป็นมอสซาเรลลาชีส บางส่วนนำมาแปรรูปเป็นนมพาสเจอร์ไรส์ซึ่งทำที่นี่เลย ทำแล้วก็ส่งให้ทางโครงการหลวงตีนตก และร้านกาแฟที่เกิดขึ้นทุกแห่งของโครงการหลวง

สำหรับการรับซื้อน้ำนมดิบนี้ทางศูนย์ฯ แม่ทาเหนือ จะมีเจ้าหน้าที่ปศุสัตวประจำอยู่ที่นี่ คอยตรวจเช็คน้ำนมดิบว่าได้คุณภาพตามมาตรฐานหรือไม่ มีความถ่วงจำเพาะเท่าไร มีการปนเปื้อนของเลือดซึ่งเกิดจากการตกเลือดของเต้านมอักเสบหรือเปล่า ถ้ามีก็จะไม่รับเข้ามา ปกติเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ซึ่งประจำอยู่ที่นี่ ก็ออกไปดูแลตั้งแต่ในฟาร์มอยู่แล้ว จะต้องดูแลฟาร์มให้ได้มาตรฐานโดยเฉพาะเรื่องความสะอาด


กระบวนการทำนมพาสเจอไรส์ (Pasteurization process)
เป็นกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนใช้อุณหภูมิไม่เกิน 100 องศาเซลเซียส เพื่อลดปริมาณจุลินทรีย์ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ฟอสฟาเทส โดยอุณหภูมิในการฆ่าเชื้อผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 85 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 15 วินาที จากนั้นลดอุณหภูมิให้ต่ำกว่า5 องศาเซลเซียส ที่นี่มีหม้อทำพาสเจอร์ไรส์ขนาดความจุประมาณ 36 ลิตร ดูก็น่าจะทำได้ไม่ยากนัก เมื่อได้นมผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อแล้วก็บรรจุใส่ขวดไว้ขายได้เลย

ได้ชิมนมแพะและนมควายกันไปหลายอึก ตอนแรกก็ไม่ค่อยแน่ใจว่าจะรับได้ไหม แต่ไหนๆ ก็มาถึงแหล่งผลิตแล้ว แถมยังจะต้องไปเจอตัวจริงอีก ชิมสักหน่อยก็แล้วกัน อือ…ก็ไม่แตกต่างกับนมวัวนะเพียงแต่รู้สึกว่ารสชาติจะมันกว่ากันนิดหน่อยแค่นั้นเอง

ฟาร์มควายนม
ก่อนเดินทางไปเยี่ยมเยียนควายนมถึงฟาร์ม เราก็ได้ความรู้ถึงที่มาของควายนมพันธุ์เมซานี ( Mehsani )

เมื่อปี พ.ศ. 2539 ดร.วี คูเรียน อดีตประธานคณะกรรมการสภาพัฒนานมแห่งชาติอินเดีย (National Dairy Development Board หรือ NDDB) ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยตามคำเชิญของรัฐบาลไทย และได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๙ จากการเข้าเฝ้าฯ ดร.คูเรียนมีความประทับใจและชื่นชมในพระราชอัจฉริยภาพ ซึ่งทรงเห็นประโยชน์ของการพัฒนาด้านการบริโภคนม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กในระยะเจริญเติบโต และได้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมนมของระเทศไทย ซึ่งรัฐบาลอินเดียมีศักยภาพที่จะช่วยพัฒนาในด้านนี้ได้

ในโอกาสนั้นได้ทราบว่าพสกนิกรชาวไทยได้จัดเฉลิมฉลองแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เนื่องในวโรกาสครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี จึงได้น้อมเกล้าฯ ถวายกระบือนมพันธุ์เมซานี จำนวน 50 ตัวแด่พระองค์ท่าน พร้อมน้ำเชื้อแช่แข็งของกระบือเมซานีและมูร่าห์ ถวายอีกประเภทละ 500 โดส

กรมปศุสัตว์ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เลี้ยงดูกระบือนมพันธุ์เมซานี (Mehsani) ที่รัฐบาลอินเดียน้อมเกล้าฯ ถวาย ซึ่งได้นําไปเลี้ยงขยายพันธุ์และศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ ที่หน่วยบํารุงพันธุ์สัตว์พบพระ ศูนย์วิจัยและบํารุงพันธุ์สัตว์ตาก จังหวัดตาก ต่อมาย้ายไปเลี้ยงดูที่สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์บุรีรัมย์ ส่วนหนึ่งเลี้ยงดูที่ศูนย์พัฒนา โครงการหลวงหนองเขียว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในความดูแลของมูลนิธิโครงการหลวง

ในปี 2549 ก็นำมาให้ที่ศูนย์ฯ แม่ทาเหนือเลี้ยง เพราะที่นี่มีการปลูกข้าวโพดมาก ทดลองเลี้ยงอยู่ 7 ปี จึงได้เริ่มส่งเสริม นับเป็นอาชีพใหม่เป็นอาชีพพระราชทานเหมือนการเลี้ยงวัวนม เมื่อ 50 ปีที่แล้วทรงนำวัวนมเข้ามาเลี้ยงที่วังสวนจิตรฯ เลี้ยงได้ผลจนได้รับความร่วมมือจากเดนมาร์ก เกิดเป็นฟาร์มโคมนมไทย-เดนมาร์ก แต่ควายนมเพิ่งเข้ามาได้10 กว่าปีนี่เอง ตอนนี้มีเกษตรกร 4-5 ราย ที่เลี้ยงอยู่

ควายนมพันธุ์เมซานีนี้ ยังมีปัญหาการขยายพันธุ์ให้ได้เพศเมียเพราะเปอร์เซ็นต์การตกลูกเป็นเพศเมียจะน้อยมาก จึงยังต้องทำการวิจัยและพัฒนาต่อไป ว่าจะใช้วิธีใดในการขยายพันธุ์ให้ได้เพศเมียมากขึ้น

ฟาร์มแรกที่ไปถึงเป็นของพี่สมเกียรติ ปาลี ที่บ้านทาม่อน มันดูแปลกและแตกต่างจากควายที่เราเคยเห็น ดูเหมือนตัวมันจะเล็กและแบนๆและที่แปลกก็คือเขามันจะม้วนบิดงอ เราไปถึงก็ใกล้เที่ยงแล้วเลยไม่ได้ดูการรีดนมช่วงเช้า เขารีดกันตั้งแต่ประมาณตีห้า (5.00 น) และจะรีดอีกครั้งตอนเย็น คือ เวลาประมาณ 16.00 น. พี่สมเกียรติเล่าว่า เมื่อก่อนเลี้ยงวัวอยู่ แต่พอทางโครงการหลวงส่งเสริมเรื่องการเลี้ยงควายนมก็เลยสนใจเข้ามาร่วม ทำมา 5 ปีแล้ว ตอนนี้กำลังจะปรับปรุงฟาร์มให้ได้มาตรฐานโดยเฉพาะในเรื่องของความสะอาด ต้องล้างโรงเรือนให้สะอาดเสมอที่จริงการล้างโรงเรือนก็มีประโยชน์นะ นอกจากจะได้ความสะอาดแล้วยังได้น้ำขี้ควายเอาไปหมักทำก๊าซชีวภาพ ใช้เป็นแก๊สหุงต้มได้อีกด้วย

ฟาร์มต่อไปของพี่ไพรัท อุดทา ที่บ้านใหม่ ควายที่นี่มีการบันทึกประวัติขึ้นกระดานไว้ทุกตัว และมีชื่อเรียก เช่น นาตาลี มีชัย พฤกษา พี่ไพรัทเล่าว่ามีฟาร์มควายอยู่ที่บ้านหัวหนองอีกแห่ง ควายต้องมีอายุ 4 ปีขึ้นไปถึงจะให้นมได้ จะรีดนมกันวันละ 2 รอบคือรอบเช้ากับเย็น แต่ละตัวก็ให้นมได้วันละประมาณ 8 – 9 กิโลกรัม ควายพันธุ์เมซานีเลี้ยงยากสักหน่อย ต้องเลี้ยงด้วยข้าวโพด หญ้า ช่วงหน้าฝนก็ต้องให้อยู่แต่ในคอกถ้าปล่อยไปกลัวมันไปนอนในโคลนเดี๋ยวเต้านมอักเสบจะรักษายาก ที่นี่มีตัวผู้พ่อพันธุ์เพียงตัวเดียวนอกนั้นเป็นตัวเมีย

ฟาร์มแพะ
เดินทางต่อไปฟาร์มเลี้ยงแพะนม ชื่อ ฟาร์มรจนา ที่ห้วยวังหลัง เส้นทางโหดนิดหน่อย บนท้องฟ้าเต็มไปด้วยเมฆฝน พวกเราได้แต่ภาวนาว่าฝนอย่าเพิ่งตกเลยนะ เพราะวันนี้มือใหม่หัดขับทางวิบากจริงๆ นะ ถ้าถนนลื่นเละมากไปเดี๋ยวผู้โดยสารจะหนีลงจากรถกันหมด

หลังจากผ่านเส้นทางที่โหดนิดๆ แต่ทุกลักทุเลมากหน่อยสำหรับพวกเราก็เข้าสู่สวนและป่าโปร่ง เห็นทุ่งนาซ่อนตัวอยู่มีภูเขาล้อมรอบจอดรถไว้ตรงนี้แล้วเดินผ่านทุ่งนาไป ได้ยินเสียงน้ำไหลผ่านลำห้วยไกลๆบรรยากาศดีจริงๆ ได้ยินเสียงแพะร้องเรียกกันวุ่นวาย รู้สึกว่าบ้านกลางทุ่งนี่มีชีวิตชีวามากๆ ที่นี่มีแพะหลายตัวแล้วยังมีหลายพันธุ์ คุณพี(พีรพันธ์ อนันตพงษศ์) เจ้าหน้าที่ไม้ผล แต่พาเรามาศึกษาเรื่องควายกับแพะ บอกว่าแพะนี่สามารถผสมข้ามสายพันธ์ุได้ เจ้าหน้าที่จะเลือกดูพันธุ์ที่ให้นมดีนำมาส่งเสริม ฟาร์มแพะนี้อยู่ในการดูแลของทีมงานรศ.ดร.สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ จากคณะเกษตร มช. มาช่วยทำการวิจัย แพะดูสะอาดแล้วก็สวยมากๆ เลย โดยเฉพาะตัวผู้ที่มีเครายาวทำให้หน้ามันดูสง่าเหมือนคุณตาใจดี ลูกเล็กๆ หลายตัวที่เบียดกันไปมายิ่งน่ารัก แต่พอรู้ว่า

พวกมันไม่เคยได้มีโอกาสดูดนมแม่เลยรู้สึกว่ามันน่าสงสารจัง พวกแม่รีดทั้งหลายไม่ว่าควายหรือแพะ (ที่ถูกรีดนมจะเรียก “แม่รีด” เรียกกันตรงๆอย่างนี้เลยแหละ) เมื่อคลอดลูกแล้วก็จะต้องแยกแม่กับลูกออกจากกันแล้วบรรดาแม่ๆ ก็จะถูกรีดนมด้วยฝีมือมนุษย์เอาใส่ขวดไปเลี้ยงลูกแพะแล้วพอผ่านไป 1 เดือน ลูกแพะก็จะเหมือนลูกคนที่ต้องกินนมผงต่อไปพร้อมอาหารเสริม การที่ไม่ปล่อยให้ลูกแพะดูดนมแม่สลับกับเราเข้าไปรีดนม เพราะเมื่อแม่แพะสัมผัสได้ว่าไม่ใช่ปากของลูกแพะ มันจะไม่หลั่งน้ำนมให้เรา ในที่สุดน้ำนมก็จะแห้งไป

น้ำนมจากแม่รีดนี้จะมีอยู่ประมาณ 200 วันหลังแพะคลอดลูกแพะตัวผู้อายุ 1 ปี จึงจะพร้อมผสมพันธุ์ ส่วนแพะตัวเมียอายุ 8เดือน ก็ตั้งท้องได้แล้ว ใช้ระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 4 เดือน ช่วงเวลาติดสัตว์ของแพะจะสั้นกว่าของวัวควาย ดังนั้นจึงทำให้แพะมีโอกาสให้น้ำนมได้มากกว่าควาย เพิ่งรู้ว่าควายนมกับแพะนั้นต้องตั้งท้องจึงจะมีน้ำนม ไม่เหมือนวัวนม ซึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งท้องก็รีดน้ำนมได้ทุกวัน

ไร่เสาวรส
จากนั้นพวกเราก็บุกทุ่งนาไปไร่เสาวรสที่เห็นอยู่ไม่ไกล แต่มีโอกาสได้ดูเพียงนิดเดียว เห็นลูกเขียวๆ ห้อยอยู่เต็มใต้ค้าง แล้วฝนก็ตกลงมาไร่เสาวรสเป็นไร่เปิดกลางทุ่งนาไม่มีที่ให้เราพักหลบฝน จึงย้อนกลับมาฟังเรื่องราวของเสาวรสกันต่อที่ศูนย์ฯ แม่ทาเหนือ อีกครั้ง

การปลูกเสาวรสเริ่มจากการเตรียมพื้นที่ เนื่องจากเสาวรสมีระบบรากตื้นแต่แผ่กว้าง ไร่หนึ่งๆ ไม่ควรปลูกเกิน 100 ต้น กะให้แต่ละต้นมีระยะห่างกันประมาณ 4×4 เมตร เสาวรสเป็นไม้เลื้อยเราจึงต้องทำค้างเตรียมไว้ให้ทันมันเลื้อยขึ้น เมื่อนำต้นกล้าลงปลูกแล้วให้ใช้หลักไม้ไผ่ขนาดเล็ก ความสูงถึงระดับค้างปักและผูกเถาติดกับหลักหรือเสาค้าง เพื่อให้ยอดของต้นตั้งตรงตลอดเวลา ต้นจึงจะเจริญเติบโตได้เร็วและต้องคอยผูกเถากับหลักอยู่เสมอๆ เมื่อยอดเจริญยาวขึ้น

เสาวรสต้องมีลำต้นเดียวตั้งแต่ระดับพื้นดินจนถึงค้าง จึงต้องคอยตัดหน่อที่งอกจากต้นตอและกิ่งของต้นออกให้หมด เพราะถ้ายอดของเถาห้อยลงจะทำให้ยอดชะงักการเจริญเติบโต หลังจาก 5 เดือนต้นก็จะแข็งแรงขึ้นถึงค้างแล้ว ตัดยอดบนค้างเพื่อบังคับให้แตกเถาใหม่ 3-4 กิ่ง จากนั้นจัดเถาให้กระจายออกไปโดยรอบต้นทั่วพื้นที่ของค้าง


เสาวรสจะสุกเมื่ออายุ 50-70 วันหลังดอกบาน ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยว คือ เมื่อผลเปลี่ยนเป็นสีม่วงแล้วประมาณ 70 – 80 %เก็บเกี่ยวโดยใช้กรรไกรตัดขั้วผลจากต้น ให้ขั้วผลสั้นติดผล แล้วจึงนำมาบ่มเพื่อให้สีของผลสวยและมีรสชาติดีขึ้น โดยทั่วไปแล้ว จะเก็บเกี่ยวทุกๆ2-3 วันต่อครั้ง โดยธรรมชาติเสาวรสจะออกดอกและให้ผลผลิตเมื่อมีอายุประมาณ 5-7 เดือน จะให้ผลต่อเนื่องประมาณ 1 ปี ก็ควรรื้อต้นเก่าทิ้งไม่ให้เกิดการสะสมของโรคและแมลง


ที่ศูนย์ฯ แม่ทาเหนือส่งเสริมเฉพาะพันธุ์ไทนุง รับประทานสดรสหวานเท่านั้น แต่เสาวรสเป็นผลไม้รสหวานอมเปรี้ยวอยู่แล้วไม่ใช่หวานสนิทข้อดีของเสาวรสพันธุ์นี้ คือ ผลกลมสีม่วงเข้ม สุกได้เองโดยไม่ต้องบ่ม

แปลงซูกินี (แตงกวาญี่ปุ่น)
ช่วงบ่ายออกเดินทางอีกครั้ง แต่ได้นั่งรถโครงการหลวง มีหัวหน้าพิชิตกรุณาเป็นพลขับให้ เพราะคงสงสารกลัวเราจะพารถลงข้างทางหลังฝนตกหัวหน้ากับพี่ต้อมจะพาพวกเราไปดูแปลงซูกินี ที่บ้านห้วยบง ถึงระยะทางจะไม่ไกลแต่กว่าจะถึงแปลงผักของลุงแก้วตาได้ พวกเราก็ถูกเหวี่ยงกันไปมาจนเราแอบดีใจที่ไม่ต้องขับรถมาเอง

แปลงแตงกวาญี่ปุ่นจะอยู่บนที่ดอน ช่วงนี้ฝนยังลงอยู่ก็ไม่ต้องดูแลรดน้ำ ที่ราบข้างล่างก็เป็นนาข้าว พอเกี่ยวข้าวแล้วก็ย้ายแปลงผักลงมาข้างล่าง เพราะเมื่อขาดฝนก็ต้องดูแลให้น้ำ

การปลูกแตงกวาญี่ปุ่นจะมีระยะเวลาสั้นมาก หลังจากดอกบานแล้วใช้เวลาประมาณ 5-6 วันก็จะเริ่มเก็บผลผลิต แตงเป็นพืชอวบน้ำ ดูดน้ำเข้าไปเพียงไม่กี่วันก็จะเริ่มเก็บได้ เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนถ้าเก็บไม่ทันแตงอาจโตเกินขนาดที่ต้องการไปแล้ว ดังนั้นบางทีแต่ละวันก็ต้องคอยเก็บถึงตีสองตีสาม ฟังแล้วน่ากลัวจัง เหมือนว่าถ้าเรากินเข้าไปเราอาจจะตัวขยายขึ้นๆ เกินพิกัดก็เป็นได้นะ เมื่อแตงหมดอายุต้องรื้อทิ้ง ถ้าจะปลูกอีกก็ต้องย้ายแปลงใหม่ สมัยก่อนยังไม่เข้าใจก็จะปลูกในที่เดิมถ้าดินมีโรคจะใช้วิธีฆ่าเชื้อในดิน ตอนนี้กฎหมายห้ามใช้เพราะทำลายโอโซนทำลายคนปลูกคนกิน จะใช้วิถีธรรมชาติให้ตัดวงจรของโรคกันเองให้มันฟื้นฟูกันเอง

แปลงถั่วเข็ม

ทริปนี้เราจบกันที่บ้านพี่ศรีพลอย ดูแฮ อยู่บ้านห้วยบง ที่นี่มีทั้งแปลงถั่วเข็มที่กำลังปลูกใหม่และแปลงที่กำลังเก็บผลผลิต ถั่วเข็มก็คือถั่วแขกนั่นเอง แต่ถ้าเราเก็บตอนที่ขนาดยาวเท่ากำปั้น ก็จะชื่อถั่วเข็มมีรสหวานกรอบกว่าตอนเป็นถั่วแขก ขายได้ราคาดีกว่า แต่ก็ต้องใช้ความพยายามมากกว่า ถั่วจะออกมาพร้อมๆ กันเยอะมากเวลาเก็บ ต้องเลือกขนาดที่ต้องการ ต้องค่อยๆ เดินไป แหวกไป กว่าจะได้สักกิโลก็ใช้เวลามากพอสมควร เห็นคนเก็บสองคนเดินจากต้นแถวค่อยๆ แหวกไปเก็บไปอย่างใจเย็น พี่ศรีพลอยบอกถั่วมันเยอะก็ต้องรีบเก็บ บางวันก็อยู่กันถึงตีสามเลย เฮ้อ…ถ้ามีที่ทำไร่สักไร่หนึ่งเราจะไม่ปลูกแตงกวาไม่ปลูกฝักถั่วขายแน่เลย เวลาเก็บกันทีไม่ได้หลับไม่ได้นอนกันขนาดนี้เป็นหนึ่งวันที่รู้สึกเหมือนเราผ่านมิติใหม่ๆ ได้รู้จักโครงการหลวงอีกมุมหนึ่ง ไม่น่าเชื่อว่าเราอยู่ใกล้เพียงแค่นี้เอง แต่ไม่เคยรู้หรือเคยเห็นเรื่องราวดีๆ ที่เกิดขึ้นที่ศูนย์ฯ แม่ทาเหนือมาก่อนเลย

 

ขอขอบคุณ…
คุณพิชิต วันชัย หัวหน้าศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ทาเหนือ
คุณกิตติ ทรงสุข (ต้อม) นักวิชาการพืชผัก
คุณพีรพันธุ์ อนันตพงศ์ (พี่พี) นักวิชาการไม้ผล
คุณรุ่งทิวา อินทะมา (พี่แอ๋ว) นักวิทยาศาสตร์
คุณสมเกียรติ ปาลี เจ้าของฟาร์มควายนม บ้านทาม่อน
คุณไพรัท อุดทา เจ้าของฟาร์มควายนม บ้านใหม่
คุณแก้วดา ปู่ตาแย / คุณขจรศักดิ์ ปู่ตาแย
เจ้าของสวนแตงกวาญี่ปุ่น บ้านห้วยบง
คุณศรีพลอย ดูแฮ เจ้าของสวนถั่วเข็ม บ้านห้วยบง
กลุ่มทอผ้าปาเกอญอ บ้านป่างิ้ว

เรื่องราวและภาพจาก
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ทาเหนือ
ที่อยู่ : หมู่ที่ 3 บ้านห้วยบง ตำบลทาเหนือ
อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ 50310
โทร 08 4806 4597, 08 7173 9023[:]

[:TH]สถานีเกษตรหลวง “ปางดะ” มันเทศญี่ปุ่นสีม่วง[:]

[:TH]

 

สถานีเกษตรหลวงปางดะ เป็นสถานีวิจัย 1 ใน 4 ของ มูลนิธิโครงการหลวง เป็นศูนย์การเรียนรู้การขยายพันธุ์ไม้ผล ให้กับผู้ที่สนใจตลอดจนเป็นแหล่งศึกษาดูงาน และฝึกงานของนักศึกษา พร้อมกับการใช้พื้นที่อย่างถูกต้องบนพื้นฐานการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสถานีเกษตรหลวงปางดะไม่ได้เริ่มจากงานส่งเสริมและพัฒนา เพื่อให้ชาวไทยภูเขาเลิกปลูกฝิ่นเหมือนสถานีฯ หรือศูนย์พัฒนาฯ อื่น แต่เริ่มจากมูลนิธิโครงการหลวงจะต้องหาพันธุ์พืชที่เหมาะสมเพื่อทำการวิจัยทดสอบแล้วนำไปส่งเสริมเกษตรกรบนพื้นที่สูง ซึ่งต้องมีการขยายพันธุ์พืชให้มีจำนวนมากพอ ในระยะแรกพบว่ามีไม้ผลเมืองหนาวหลายชนิด ขยายพันธุ์ได้ดีเกือบตลอดทั้งปี บนพื้นที่ที่ไม่หนาวเย็นหรือร้อนมากเกินไป

ในปี พ.ศ. 2522 มูลนิธิโครงการหลวง ได้เลือกพื้นที่ส่วนหนึ่งของสถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวสะเมิง สังกัดกรมวิชาการเกษตรที่หมู่บ้านปางดะ อ.สะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีอุณหภูมิพอเหมาะให้เป็นแหล่งขยายพันธุ์พืช เมื่อปริมาณความต้องการกล้าพันธุ์พืชเพิ่มมากขึ้นสถานที่ไม่เพียงพอ มูลนิธิโครงการหลวงจึงพิจารณาสถานที่แห่งใหม่บนพื้นที่ประมาณ 25 ไร่ ติดกับอ่างเก็บน้ำโครงการตามพระราชดำริห้วยปลาก้าง อยู่ไม่ไกลจากบริเวณเดิม และในปี พ.ศ. 2529 ได้ซื้อที่ดินเพื่อขยายพื้นที่สำหรับขยายพันธุ์อย่างถาวรเพิ่มอีกประมาณ 65 ไร่ โดยดำเนินการภายใต้ชื่อ“ศูนย์ขยายพันธุ์พืชปางดะโครงการหลวง”

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเยี่ยม
ศูนย์ขยายพันธุ์พืชปางดะโครงการหลวงแห่งนี้เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 12กุมภาพันธ์ 2530 ได้ทอดพระเนตรกิจการงานต่างๆ ของศูนย์ฯ พร้อมกันนี้หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ได้ทูลขอพระราชทานชื่อใหม่ว่า “สถานีเกษตรหลวงปางดะ”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงกรุณาพระราชทานให้ใช้ชื่อนี้พร้อมกับให้ขยายพื้นที่เพิ่มปัจจุบันสถานีเกษตรหลวงปางดะ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ1. สถานีเกษตรหลวง ตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านปางดะ เลขที่ 192 หมู่10 ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ 1,232 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตร 804 ไร่

22 กันยายน 2560
วันนี้โชคดีอย่างไม่คาดฝัน หลังจากต้องมีการเปลี่ยนตัวผู้ร่วมทีม “เที่ยวไป รู้ไป เข้าใจพ่อ” ด้วยข้อติดขัดบางประการ เราจึงต้องมี
โชเฟอร์และตากล้องคนใหม่ ดังนั้นเพื่อความสบายใจของผู้ร่วมทางก็เลยขอเปลี่ยนเส้นทางจาก หางดง – สะเมิง ซึ่งมีโค้งพับผ้าสูงชันถึง 7 พับมาเป็นแม่ริม – สะเมิง แม้จะไกลกว่ากัน แต่ก็มั่นใจกว่าทริปนี้เราออกเดินทางแต่เช้าเป็นพิเศษ เพราะเดินทางเช้าไปเย็น
กลับ เดินทางเช้าๆ อย่างนี้ บรรยากาศดูสดชื่นร่มรื่นสวยงามจริงๆ 2. หน่วยวิจัยส้มโป่งน้อย ตั้งอยู่ที่บ้านโป่งน้อย ตำบลแม่วิน
อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ 70 ไร่จากเดิมสถานีเกษตรหลวงปางดะไม่ได้ทำงานพัฒนาส่งเสริม เพราะหมู่บ้านหลักในความรับผิดชอบ 11 หมู่บ้านเป็นคนพื้นเมืองและชาวไทลื้อ ไม่มีชาวไทยภูเขา แต่เมื่อรับดูแลหมู่บ้านรองเพิ่มอีก 8 หมู่บ้านซึ่ง
เป็นชาวกะเหรี่ยงจึงได้เริ่มงานส่งเสริมและพัฒนาตามเส้นทางที่ร่มรื่นสวยงาม และเมื่อถึงเวิ้งกว้างใกล้ถึงสะเมิง ว้าว…เรา
ได้พบสิ่งที่ไม่คาดฝัน….

7.30 น. เห็นป้าย…“จุดชมทิวทัศน์ป่าสะเมิง” เช้าอย่างนี้ลองชมสักหน่อย นั่นไง…ความงามของธรรมชาติและความสดชื่นของ
ชีวิต คนตื่นเช้าเท่านั้นจะได้พบ…ไม่น่าเชื่อว่าสะเมิงใกล้แค่นี้จะมีทะเลหมอกสวยงามไม่ต่างกับที่เราต้องดั้นด้นค้นหาถึงป่าลึกเลย หันกลับมาจากวิวงามก็ได้เห็นภาพชีวิตยามเช้าของครอบครัวชาวบ้าน ที่เตรียมโต๊ะเตรียมร่ม จัดเรียงพืชผลที่ปลูกไว้มาวางขายให้ผู้มาชมวิว
….เป็นเช้าที่สดใสของพวกเราจริงๆ…

8.00 น. แล้วเรามาทันได้เคารพธงชาติพร้อมพนักงานและคนงานของสถานีฯ ปางดะอีกด้วย แหม…เจอบรรยากาศสดใส ได้ร้องเพลงชาติอีกครั้ง…เราพร้อมเข้าห้องเลคเชอร์แล้วล่ะ…

ได้พบพี่แรม (ณัฐกฤต คำหนู) นักวิชาการเกษตร และหัวหน้าสถานีฯ ปางดะ คุณ วิพัฒน์ ดวงโภชน์ ในห้องเลคเชอร์…เอ๊ย…ห้องรับแขกของสถานีน่ะ

ได้ข้อมูลมามากมาย ได้รู้ว่าสถานีเกษตรหลวงปางดะนี้ ก่อตั้งขึ้นแตกต่างจากทุกสถานี วัตถุประสงค์หลัก คือ การส่งเสริมการขยายพันธุ์พืชที่อ่างข่างปลูกพืชเมืองหนาวได้ดี แต่อากาศเย็นไปสำหรับการขยายพันธุ์แต่ที่นี่สูงจากระดับน้ำทะเลแค่ประมาณ 720 เมตร ทำให้มีอุณหภูมิพอเหมาะกับการขยายพันธุ์ นโยบายที่หม่อมเจ้า ภีศเดช ประธานมูลนิธิฯท่านประทานมา คือ โครงการหลวงจะต้องมีพืชพันธุ์ใหม่ๆ ออกมาอยู่เสมอ

ที่สถานีฯ ปางดะ จึงมีงานวิจัยพันธุ์พืชปีละไม่ต่ำกว่า 25-30 โครงการรองรับงานวิจัยทั้งจากโครงการหลวง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง และมหาวิทยาลัย เมื่องานวิจัยได้ผลดีแล้วก็นำไปใช้ได้ทุกที่ของโครงการหลวงหรือที่ไหนก็ได้ เพราะโครงการหลวงของในหลวง รัชกาลที่ ๙ คือโครงการที่ช่วยคนทุกคน

นอกจากจะเน้นเรื่องการวิจัยขยายพันธุ์พืชแล้ว ยังเน้นเรื่องการใช้พื้นที่ให้ถูกต้อง อย่างในสถานีมีพื้นที่ทั้งหมด 1,302 ไร่ แต่ใช้จริงๆ 800กว่าไร่ โดยแบ่งพื้นที่ลาดชันเกิน 35 % เป็นป่า ลาดชันไม่เกิน 35 %ปลูกไม้ผลกันการชะล้างหน้าดิน ส่วนพื้นที่ราบใช้ปลูกผัก เพราะต้องพรวนดินบ่อยเพื่อให้ดินร่วนซุย และจะแยกพื้นที่ป่ากับพื้นที่ทำกินอย่างชัดเจนด้วยการทำถนนตัดผ่าน เพื่อป้องกันการรื้อถอน เพราะการทำถนนเป็นการถาวรนั้นถูกรื้อถอนยาก ทั้งยังเป็นเส้นทางลำเลียงพืชผลและเป็นแนวกันไฟป่าได้อีกด้วย

สำหรับงานส่งเสริม เนื่องจากพื้นที่ของสะเมิงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูงชัน ชาวบ้านทำการเกษตรบนที่ราบ ซึ่งมีอยู่น้อย จึงส่งเสริมให้รู้จักการใช้พื้นที่น้อย แต่ได้ผลผลิตเยอะ ส่งเสริมการปลูกพืชในโรงเรือน เพราะนอกจากจะใช้พื้นที่น้อยแล้ว ยังสามารถควบคุมเรื่องอากาศและฝนได้แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ มีพื้นที่ของตัวเองมักปลูกกระเทียมและปลูกพืชกันเอง มีบ้างเหมือนกันที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกเกษตรกรโครงการหลวงเพราะมั่นใจว่าจะมีคนดูแลให้คำปรึกษา ทั้งหาพืชพันธุ์ และมีความแน่นอนของตลาดรองรับ
จบเรื่องราวทางทฤษฎีแล้ว ทีนี้พวกเราก็ลงมาศึกษาการวิจัยและทดลองพันธุ์พืชของจริงกันเลย

เริ่มต้นจากพื้นที่ทั่วไปที่เราประทับใจตั้งแต่เข้ามาที่สถานีฯ ปางดะ เหมือนเป็นที่ทำการอุทยานฯ ที่พร้อมรองรับนักท่องเที่ยว สถานที่มีการตกแต่งสวนสวยงาม มีร้านค้าไว้รองรับทั้งอาหารและของฝาก ถนนในสถานีเหมาะกับการจ็อคกิง หรือขี่จักรยาน อีกไม่นานก็จะมีอุโมงค์สีเหลืองของต้นราชพฤกษ์ให้นักท่องเที่ยวได้แวะเข้ามาถ่ายรูปแข่งกับอุโมงค์สีชมพูของนางพญาเสือโคร่งของที่อื่นๆ หัวหน้าอยากให้ใครๆได้แวะเข้าเยี่ยมเยียน ท่องเที่ยวและได้รู้ได้เห็นการทำงานของโครงการหลวง ใครที่แวะเข้ามา อยากรู้อะไร เจ้าหน้าที่ทุกคนยินดีที่จะอธิบายข้อนี้ยืนยันได้ เพราะไม่ว่าจะไปโครงการหลวงที่ไหนเราก็ได้รับข้อมูลจนบันทึกไม่ทันทุกแห่ง

ที่สนามหน้าที่พัก มีต้นเพาโลว์เนีย ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ทรงปลูกไว้ เมื่อวันที่ 11
มีนาคม 2534 ตอนนี้ต้นสูงใหญ่ให้ร่มเงาสวยงาม

เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับไม้เพาโลว์เนีย

Paulownia ทั้งหมดเป็นไม้พื้นเมืองของจีน กระจายอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ทั้งในที่ราบและบนภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลกว่า
2,000 เมตร มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติลงมาถึงเวียดนามและลาว ชาวจีนรู้จักไม้ชนิดนี้มานานกว่า 2,000 ปี แล้ว จากบันทึกในหนังสือชื่อ “Erh-ya” ซึ่งเป็นสารานุกรมทางธรรมชาติวิทยาและวัฒนธรรมฉบับแรกของจีน เขียนขึ้นเมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้กล่าวถึงพรรณไม้ชนิดต่างๆ ที่มีประโยชน์ไว้มากมาย โดยในจำนวนนั้นได้กล่าวถึงไม้เพาโลว์เนียไว้ด้วย

ดอกเพาโลว์เนียมีสีม่วงสวยงามมาก ชาวจีนมักจะเรียกไม้เพาโลว์เนียว่า “PaoT’ung” ตามประเพณีจีนในสมัยโบราณ เมื่อคลอดบุตรเป็นผู้หญิงพ่อแม่ก็จะปลูกต้นเพาโลว์เนียไว้ให้หนึ่งต้น ครั้นลูกโตเป็นสาวและเข้าพิธีมงคลสมรสก็จะโค่นเพาโลว์เนียต้นนั้นเพื่อนำเนื้อไม้มาทำตู้เสื้อผ้า ซึ่งถือว่าเป็นสินเดิมจากฝ่ายเจ้าสาวที่สำคัญและมีค่ามาก หรือรองเท้าแตะชั้นดีของผู้หญิงญี่ปุ่นก็ทำมาจากไม้เพาโลว์เนียเช่นกัน

แต่อย่างไรก็ตามการวิจัยด้านการปรับปรุงบำรุงพันธุ์ไม้เพาโลว์เนียเพิ่งได้รับความสนใจจากสถาบันวิจัยป่าไม้ของจีนเมื่อปี พ.ศ. 2516 รวมทั้งการศึกษาวิจัยด้านการจำแนกพันธุ์ การปรับปรุงบำรุงพันธุ์ การขยายพันธุ์ การปลูก การจัดการสวนป่า และการใช้ประโยชน์ ก็เพิ่งได้เริ่มต้นอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2526

นอกจากจะโตเร็วและเบาแล้ว เนื้อไม้สีขาวของเพาโลว์เนียยังมีลายสวยงาม ไม่หด ไม่ยืด หรือแตกหักบิดงอ ไสกบตบแต่งง่าย เงางามแห้งเร็ว รวมทั้งมีคุณสมบัติด้านการป้องกันเสียงสะท้อน และเป็นฉนวนกันกระแสไฟฟ้ารั่วไหลได้เป็นอย่างดี จึงทำให้มีคนสนใจปลูกไม้เพาโลว์เนียเป็นสวนป่าเศรษฐกิจกันมาก

เมื่อพบว่า Paulownia taiwaniana เป็นไม้โตเร็วที่น่าสนใจงานป่าไม้ และมูลนิธิโครงการหลวงบนพื้นที่สูงอย่างดอยอ่างขาง ก็ได้
ศึกษาระบบวนเกษตรบนที่สูงโดยมีเพาโลว์เนียเป็นไม้ประธาน มีพืชกสิกรรมชนิดต่างๆ อาทิ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไร่ ขิง และกาแฟ รวมทั้งไผ่หวานอ่างขาง (ไผ่หมาจู๋ Dendrocalamuslatiflorus) เป็นพืชควบปรากฏว่าพืชไร่ที่ปลูกในช่วงปลายปีและเก็บเกี่ยวตอนต้นปี อันเป็นช่วงเวลาที่เพาโลว์เนียทิ้งใบ เช่น ข้าวบาร์เลย์ และข้าวสาลี รวมทั้งกาแฟซึ่งต้องการร่มเงาจากไม้ใหญ่เป็นไม้พี่เลี้ยง สามารถปลูกเป็นพืชควบในแปลงเพาโลว์เนียตามหลักระบบวนเกษตรได้ดีมาก โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบใดๆ ในทางลบทั้งสิ้น

อ่างเก็บน้ำห้วยปลาก้าง
จากนั้นก็นั่งรถมาอ่างเก็บน้ำจุดเริ่มต้นของทัศน-ศึกษาช่วงเช้าของพวกเรา ถึงไม่ไกลกันนักแต่คิดว่าได้นั่งรถมาก็ดีเหมือนกัน เพราะที่กว้างตั้งแปดร้อยกว่าไร่ เราจะเดินกันทั่วจริงๆ หรือ

อ่างเก็บน้ำห้วยปลาก้างนี้ ในหลวง รัชกาลที่ ๙ มีพระราชดำริให้สร้างฝายกักเก็บน้ำสองลำห้วยที่ไหลลงมาให้ชาวบ้านและโครงการหลวงใช้ร่วมกัน โดยชาวบ้านจะเป็นผู้รับผิดชอบดูแลและรักษาความสะอาดช่วยกันปลูกป่ารักษาความชุ่มชื้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526

แปลงวิจัยองุ่น
ถัดจากอ่างเก็บน้ำมาเราก็เจอแปลงชาสาธิต แต่ยังไม่ทันได้ข้อมูลฝนก็ตกลงมาเลยได้พักเบรกกันนิดหน่อย แล้วมาต่อกันที่แปลงองุ่น
องุ่น ที่ทดลองอยู่มี 26 สายพันธุ์ ที่ทดลองและนำออกส่งเสริม เช่น
บิวตี้ ซีดเลส (Beauty Seedless) – องุ่นไร้เมล็ดสีดำ
เพอเลท (Perlette) – สีเหลือง
ไวท์มะละกา (White Malaga) – สีเขียว
เซนเทนเนียล (Centennial) – เขียวอมเหลือง
แต่วันนี้ความรู้ที่ได้ไม่เกี่ยวกับสายพันธุ์  หลังจากกินองุ่นมาทั้งเปรี้ยวหวาน มีเมล็ด ไร้เมล็ด เพิ่งรู้ว่าวิธีดูแลองุ่นนั้นสำคัญตั้งแต่ “การสร้างรูปทรง” กันเลยเชียว ในแปลงวิจัยที่เรากำลังศึกษากันอยู่นี้ ถ้าดูให้ดีจะเห็นรูปทรงของการดัดกิ่งแตกต่างกัน อยู่ 3 แบบคือ ดัดต้นเป็นทรงตัว H, ตัว T และตัว Y เป็นการค้นคว้าว่าจะดัดทรงองุ่นขึ้นค้างรูปแบบไหนดี ถึงจะทำให้ดูแลง่าย ได้ผลผลิตดี

การดัดให้เป็น ตัว H นั้น ก็ต้องเริ่มตั้งแต่ทำโครงเหล็กเป็นรูปตัว U เมื่อองุ่นเจริญเติบโตมาถึงระดับที่ต้องการ ก็ยึดกิ่งติดกับโครงเหล็ก คอยดัดมันให้ไปตามทิศทางที่ต้องการ ค่อนข้างเป็นงานที่ยุ่งยากและใช้เวลาแม้จะได้ผลผลิตดีกว่ารูปทรงอื่น แต่การดูแลยาก ค้างเตี้ยทำให้ใบบังผลผลิต เพราะผลผลิตจะห้อยอยู่ใต้ค้าง ยากต่อการฉีดยาพ่นสารรูป ตัว T ทำค้างง่าย เมื่อสร้างค้างเป็นรูปตัว T แล้ว ยึดต้นที่ปลูกยึดติดเสา เมื่อขึ้นไปถึงค้างก็ดัดกิ่งไปตามขาเหล็กทั้งสองข้าง เหมือนคนกางแขน วิธีนี้ดูแลง่าย แต่ให้ผลผลิตน้อยกว่าตัว H แต่ชาวบ้านนิยมใช้ทรงนี้ส่วน ตัว Y ต้นจะอยู่กลางระหว่างเสารับค้างทั้งสองข้าง แบบนี้ง่ายต่อการใช้งาน

องุ่นเมื่อตัดแต่งแล้วประมาณ 1 เดือนจะออกดอก ดอกองุ่นมีกลิ่นหอม 4 เดือนก็เก็บผลผลิตได้ การเก็บผลผลิตองุ่นมีสองช่วง คือ
พ.ค. – มิ.ย. และ ธ.ค.- ม.ค.

ตอนนี้กำลังวิจัยอีกว่า ทำไมองุ่นหน้าฝนจึงหวานสู้องุ่นหน้าแล้งไม่ได้ ไม่คิดว่าเกี่ยวกับน้ำฝน อาจเป็นเพราะได้รับแสงไม่เพียงพอ
หรือเปล่า ทดลองใช้หลังคาที่ปิดเปิดรับแสงได้ รอผลผลิตว่าจะหวานขึ้นหรือไม่ ถ้าทดลองแล้วได้ผลสม่ำเสมอก็ค่อยส่งเสริมเกษตรกรต่อไปมีแปลงทดลองอีกหลายชนิด เช่น แบล็กเบอร์รี่ เริ่มทดลองที่สถานีฯ ปางดะ และผลผลิตออกสู่ตลาดในปี 2558 นี่เอง เมื่อก่อนเป็นแปลง ราสเบอร์รี่ แต่ราสเบอร์รี่โดนฝนไม่ได้เลยย้ายไปปลูกในโรงเรือน

มีแปลงมะเฟืองกำลังตัดแต่งกิ่ง มะเฟืองที่ทดลองอยู่เป็นมะเฟืองไต้หวันพันธุ์หวาน มี 6-7 สายพันธุ์


เฮมพ์ (Hemp) หรือกัญชง แรกเริ่มเดิมทีกัญชงในไทยปลูกโดยชาวเขาเาม้ง แต่เพราะตามกฎหมายของไทยกัญชงถูกจัดให้เป็น
พืชเสพติดเช่นเดียวกับกัญชา ดังนั้นการปลูกกัญชงของชาวเขาช่วงนั้นจึงเป็นการลักลอบปลูก

ต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ทรงสนพระราชหฤทัยผลิตภัณฑ์จากกัญชง ได้มีพระราชเสาวนีย์
ให้มีการศึกษาการเพาะปลูกกัญชงอย่างจริงจังในประเทศไทย และสนับสนุนการปลูกกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจบนพื้นที่สูงของประเทศไทย (โดยเฉพาะการปลูกให้ได้ THC หรือค่าสารเสพติด ต่ำกว่า 0.3%)

ในแปลงทดลองที่เราเห็นนั้น ทางสถานีกำลังศึกษาช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการผลิตเส้นใยเฮมพ์คุณภาพดี และถุงขาวๆ ที่เห็น
คลุมกัญชงไว้นั้น ก็กำลังทำการทดลองว่า ถ้าปิดไว้แบบนี้แล้วจะยังมีการผสมข้ามสายพันธุ์อยู่หรือไม่กัญชงที่ปลูกอยู่มี 30 กว่าสายพันธุ์แต่อย่านึกว่าตอนนี้จะปลูกกัญชงได้ ถ้าไม่มีใบอนุญาตจาก อ.ย.

ต้นเชอร์รี่บราซิล ไม้พุ่มใหญ่ใบเขียวสวย ลูกสีแดงสวยน่ารักน่ากินมีชื่อว่า เชอร์รี่บราซิล เห็นปุ๊บก็รีบกระโดดไปเก็บมาชิมแต่รสชาติไม่ถูกปากเลย เปรี้ยวๆ ฝาดๆ หวานนิดๆ มิน่าถึงยังไม่เคยเห็นขายในตลาดเลย นอกจากนี้ก็มีแปลงข้าวอีกกว่า 100 สายพันธุ์ เป็นของสถาบันพัฒนาพื้นที่สูง แต่ให้ที่นี่ดูแล ทั้งการเตรียมแปลงและการปลูก

โรงเรือนวิจัยและการผลิตไม้ดอก
แล้วก็มาถึง โรงเรือนวิจัยและการผลิตไม้ดอกหน้าที่หลักของการวิจัยและการผลิตไม้ดอกก็คือ การหาสายพันธุ์ใหม่ มาผลิตแล้วส่งต่อให้ศูนย์พัฒนาฯ นำไปส่งเสริมต่อ ตอนนี้กำลังขยายพันธุ์ดอกปทุมมา มีขึ้นทะเบียนแล้ว 7 สายพันธุ์ และกำลังทดลองอีก 20 กว่าสายพันธุ์

งานพัฒนาและวิจัยพันธุ์กล้วยไม้ฟาแลน ( Phalaen) จะนำสายพันธุ์ต่างประเทศมาทำการวิจัยพัฒนาพันธ์ุ และทดลองจนได้สายพันธุ์ใหม่ที่เหมาะสมกับบ้านเรา แล้วจึงนำออกส่งเสริม นอกจากจะทำให้ได้สายพันธุ์ใหม่ๆ แล้วยังเป็นการลดต้นทุนด้านลิขสิทธิ์ให้กับเกษตรกรด้วย

การเพาะกล้วยไม้จะเพาะจากเนื้อเยื่อบรรจุในขวด ปัจจุบันที่นี่ยังไม่มีห้องแล็บของตัวเอง ต้องส่งไปจ้างบริษัทที่กรุงเทพทำการขยายพันธุ์ให้ แล้วนำต้นกล้าจากขวดมาอนุบาลในแผงเพาะปลูกซึ่งใส่ฟีดมอสไว้ช่วยเก็บน้ำเลี้ยงกล้า จนแข็งแรงนำลงใส่กระถางเล็กๆ การเลี้ยงกล้วยไม้ จะเลี้ยงอยู่ในโรงควบคุมอุณหภูมิ ประมาณ 25-30 องศาในช่วงกล้วยไม้แทงช่อดอกจะต้องนำเข้าห้องเย็นเพื่อกระตุ้นให้แทงดอกกล้วยไม้นี้ 1 ปีออกดอก 4 ครั้ง ทำการวิจัยมาสามปีแล้ว

ต่อไปกำลังจะพัฒนากล้วยไม้พันธุ์หอมที่โครงการมีอยู่แล้วแต่เป็นขนาดเล็ก ซึ่งตลาดต้องการดอกไม้ดอกใหญ่ๆ ดังนั้นจึงต้องซื้อพ่อแม่พันธุ์กล้วยไม้หอมดอกใหญ่จากไต้หวัน แล้วเอามาผสมกันเป็นพันธุ์ใหม่

มันเทศญี่ปุ่นสีม่วง
บ่ายสามโมงแล้วเมื่อพวกเรามาถึงไร่มันเทศญี่ปุ่นสีม่วงของลุงเจยไร่มันของลุงเจยสวยมากๆ อากาศโปร่งเพราะเป็นทุ่งบนเนินเขา
ฟ้าสดใส ลุงเจยบอกกับพวกเราว่า เพิ่งเริ่มปลูกปีนี้ลุงก็ยิ้มออกเลย เมื่อก่อนไม่ได้เป็นสมาชิกโครงการหลวง แต่เห็นเพื่อนๆ ที่เข้าโครงการหลวงปลูกได้ผลดี แล้วโครงการหลวงก็มีพืชมาหมุนเวียนให้ปลูกหลายอย่างแล้วยังมีเจ้าหน้าที่มาคอยดูแลวางแผนให้ทุกอย่างก็อุ่นใจ

จากไร่ลุงเจยก็มาดูผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้วที่บ้านลุงกล ปรีดี มีมันเทศญี่ปุ่นสีม่วงเยอะแยะในโรงเรือน มันเทศนี้เก็บมา 2 วันแล้ว แต่ยังไม่ส่งโครงการ เพราะต้องรอให้มันเซตน้ำตาลออกมาก่อน ยิ่งเก็บไว้นานก็จะยิ่งหวาน ตอนเก็บมาพักไว้อย่าเพิ่งล้างปล่อยให้มีโคลนมีดินติดอยู่อย่างนี้แหละ แล้วต้องไม่ให้ชื้นด้วยมิฉะนั้นมันจะงอกรากออกมา ไว้ใกล้ส่งค่อยนำมาล้างให้สะอาด มันเทศนี้มีขนาดหัวไล่ๆ กัน ขนาดไม่ใหญ่ค่อนข้างไปทางยาว พี่ศักดิ์ลูกลุงกลบอกว่ามันเทศญี่ปุ่นเขาไม่นิยมหัวใหญ่

พี่แรมบอกว่าตอนนี้ยังไม่ได้วิจัยมันเทศญี่ปุ่นเป็นเพียงการรวบรวมพันธุ์ การรวมพันธุ์ก็หมายถึงการใช้ยอดพันธุ์ หัวพันธุ์ จากหลายๆ
ที่รวมไว้ที่นี่ ส่วนงานวิจัยมันเทศนี้จะอยู่ในแผนงบประมาณปี 2561ซึ่งจะทำการทดลองพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์ไปด้วย

ระหว่างที่พวกเราจัดการถ่ายภาพมันเทศญี่ปุ่น เจ้าหน้าที่กับลุงทั้งสองก็ถกปัญหาการปลูกมันว่า ตอนปลูกควรวางยอดต้นมันแบบไหนแทงแบบทแยงลงดินหรือวางตามนอนดีกว่ากัน เป็นการพูดคุยปรึกษาเหมือนคนในครอบครัว อย่างนี้ใช่ไหมที่ลุงเจยบอกว่าอบอุ่นดี

ขอขอบคุณ…
คุณวิพัฒน์ ดวงโภชน์ หัวหน้าสถานีเกษตรหลวงปางดะ
คุณณัฐกฤตา คำหนู (พี่แรม) นักวิชาการเกษตร
คุณเกียมศักดิ ์ คำแปง (พี่จิต) นักวิชาการเกษตรไม้ดอก
คุณพิรุณ โปธา (พี่ดอย) เจ้าหน้าที่พัฒนาและส่งเสริมผัก
คุณชาตรี ชัยวัธนัย (พี่คือ) เจ้าหน้าที่อารักขาพืช
ลุงเจย สานุวิทย์ เจ้าของสวนมันเทศญี่ปุ่นสีม่วง บ้านยั้งเมิน
คุณประสิทธิ์ ปรีดี เจ้าของสวนมันเทศญี่ปุ่นสีม่วง บ้านยั้งเมิน
คุณสมศักดิ์ ปรีดี / ลุงกล ปรีดี
เจ้าของบ้านที่ไปดูผลผลิตมันเทศญี่ปุ่นสีม่วง

เรื่องราวและภาพจาก…
สถานีเกษตรหลวงปางดะ
ที่อยู่ : บ้านปางดะ หมู่ 10 ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง
จังหวัดเชียงใหม่ 50250
เบอร์โทรศัพท์ : 0 5337 8046, 08 7173 5454

[:]

[:TH]ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง “หมอกจ๋าม” (มะม่วงพันธุ์ต่างประเทศ)[:]

[:TH]

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ได้เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรชาวไทยภูเขาเผ่ามูเซอ ที่หมู่บ้านวังดิน อำเภอแม่อาย จังหวัด
เชียงใหม่ ซึ่งอยู่บนดอยผีหลอกติดกับลำน้ำกก ห่างจากชายแดนไทย-พม่าราว 10 กิโลเมตร เมื่อปี พ.ศ.2512 ทรงทอดพระเนตรเห็นสภาพความเป็นอยู่ที่ล้าหลังและขัดสนของราษฎร อีกทั้งเป็นจุดล่อแหลมทางชายแดน สมควรให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นในปี พ.ศ. 2526 ได้มีการนำปัญหาโครงการอาสาพัฒนาวังดิน – หมอกจ๋ามโดยมีหม่อมเจ้า ภีศเดช รัชนี เป็นองค์ประธาน ทรงรับโครงการนี้เข้าเป็น“ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม” อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยรับเงินทุนสนับสนุนจากมูลนิธิโครงการหลวงตั้งแต่นั้นมา โดยเริ่มดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมด้านพืชผักเป็นลำดับแรก ต่อมาได้ทำการขยายผลการดำเนินงานไปในด้านพืชไร่และไม้ผลจนสามารถดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม พร้อมทั้งได้ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติควบคู่กันไป ปัจจุบันศูนย์ฯ หมอกจ๋าม มีพื้นที่รับผิดชอบดำเนินงาน 10,528 ไร่

13 กันยายน 2560
เวลา 9.00 น. ออกจากเชียงใหม่ขึ้นเหนือไปตามเส้นทาง 107 แวะตลาดแม่มาลัยเพื่อซื้อเสบียง เตรียมไปพักที่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม ที่อยู่ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย ถึงเจ้าหน้าที่จะบอกว่าไม่ต้องห่วงเรื่องอาหารออกไปหาซื้อง่ายๆ แต่พวกเราก็ไม่วางใจ แต่ส่วนมากห่วงเสบียงอื่นกันมากกว่าอาหารน่ะ

เข้าเขตแม่อาย ได้แต่ตื่นตา ในอดีตแม่อายจะเป็นเช่นไรนึกภาพไม่ออก แต่วันนี้เนินเขาสองข้างทางมีแต่พืชไร่มองเห็นเป็นเนินเขียวสลับไปมากว้างไกล และพืชไร่ที่เห็นดูคุ้นตาคือต้นมะม่วงทั้งนั้น เห็นแล้วแปลกใจเมื่อก่อนเคยได้ยินว่าฝางและแม่อายนั้นคือดินแดนของส้มเลยนี่ แล้วกลายเป็นดินแดนของมะม่วงไปตั้งแต่เมื่อไรกัน

จนได้พบกับ คุณยา (คุณชัยณรงค์ เตียงศรี) เจ้าหน้าที่ประสานงานและสนับสนุนงานโครงการหลวง, คุณสมนึก สมพงษ์ นักวิชาการพืชผัก และคุณตึ๋ง (คุณชาติชาย พิทยาไพศาล)นักวิชาการไม้ผล ที่ศูนย์ฯ หมอกจ๋าม หลังจากสอบถามความต้องการของพวกเราแล้ว คุณยาก็พยายามโน้มน้าวให้เราดูเรื่องผัก น่าจะมีให้เราได้ดูเป็นเรื่องเป็นราวมากกว่าเรื่องของมะม่วง ซึ่งเพิ่งเก็บผลไปหมดไร่กันทุกไร่เมื่อเดือนที่แล้วนี้เอง (เดือนสิงหาคม) แต่เราก็ยืนยันขอรู้เรื่อง

“มะม่วงพันธุ์นวลคำ” ว่ามีความเป็นมาอย่างไร ถึงไม่มีผลให้ดูก็ไม่เป็นไรเลยได้รู้ว่าโครงการหลวงนำพันธุ์มะม่วงต่างประเทศหลายสายพันธุ์มาทดลองวิจัย ปรับปรุงจนเหมาะสมกับสภาพอากาศและดินบ้านเราเพื่อเป็นพืชผลสายพันธุ์ใหม่ๆ มาส่งเสริมสร้างรายได้ให้สมาชิกเกษตรกรในพื้นที่สูงหลายปีแล้ว ตามนโยบายการดำเนินงานของมูลนิธิโครงการหลวง

ที่ศูนย์ฯ หมอกจ๋ามก็เป็นศูนย์หนึ่งที่ส่งเสริมแล้วเกษตรกรประสบผลสำเร็จดี เนื่องจากอยู่บนพื้นที่สูงอากาศเย็นกว่าที่ราบข้างล่าง มะม่วงจึงให้ผลผลิตช้ากว่า เหมือนเป็นผลไม้นอกฤดู นอกจากจะไม่แย่งตลาดกันแล้วยังทำให้ขายได้ราคาดีขึ้นด้วย

ไร่มะม่วง
หลังจากคุยกันสักพักเราก็ได้ไปดูไร่มะม่วงของ พ่อหลวงศรีนวลหมื่นนามหน่อ พ่อหลวงปลูกมะม่วงสายพันธุ์ต่างประเทศหลายสายพันธุ์ตามที่ศูนย์ฯ หมอกจ๋ามส่งเสริม ตั้งแต่ ปี 2545 เริ่มจากรับกล้าจากศูนย์ฯมาเพาะเลี้ยง ทางศูนย์ฯ หมอกจ๋ามก็ออกมาดูแลร่วมแก้ปัญหาด้วยกันจนทุกวันนี้พ่อหลวงมีต้นแม่พันธุ์ต่างๆ อยู่ประมาณ 20 ต้น รวม 6 สายพันธุ์ ในพื้นที่ทั้งหมด 50 ไร่

มะม่วงสายพันธุ์ “อาร์ทูอีทู” เป็นมะม่วงของประเทศออสเตรเลียปลูกได้ดีในประเทศไทย
มะม่วงสายพันธุ์ “อี้หวินเบอร์ 6” เป็นลูกผสมของมะม่วง “จินหวง”กับ “อ้ายเหวิน” มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1 กิโลกรัม
มะม่วงสายพันธุ์ “เออร์วิน” หรือ “อ้ายเหวิน” เป็นมะม่วงขนาดปานกลาง ยาวรี พอสุกจะเป็นสีแดงเลือดนก ทานสุก มะม่วงนี้
เป็นที่นิยมบริโภคทั่วโลก
มะม่วงสายพันธุ์ “จินหวง” เป็นพันธุ์นำเข้าจากไต้หวัน ผลกลมยาวก้นงอน มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1 กิโลกรัม รับประทานได้ทั้งดิบ
และสุก สีเปลือกออกเหลืองนวล จึงมีชื่อภาษาไทยว่า “นวลคำ”

ที่สวนของพ่อหลวง เพิ่งเก็บมะม่วงไปเมื่อเดือนที่แล้ว ตอนนี้เราจึงเห็นแต่ต้นมะม่วงที่กำลังถูกตัดแต่ง ซึ่งจะต้องคอยตัดแต่งทุกปีไม่ให้ต้นสูงเกินไปจะทำให้ดูแลและเก็บผลผลิตลำบาก พ่อหลวงเล่าเรื่องการปลูกและดูแลมะม่วงให้พวกเราฟังพร้อมเดินตามกันไปจากแปลงโน้นเข้าแปลงนี้

การปลูกมะม่วงเพื่อให้แข็งแรงออกผลผลิตดีและดูแลง่ายขึ้น เขาจะไม่ใช้กิ่งชำของมันปลูกลงดิน จะใช้กล้ามะม่วงพันธุ์พื้นเมืองเพื่อให้คุ้นเคยกับสภาพพื้นที่เป็นต้นตอ เพื่อการหาอาหารและต้านทานโรคได้ ส่วนมากใช้พันธุ์ “ตลับนาค” เมื่อต้นตออายุได้ 1 ปี ก็เอากิ่งพันธุ์มาทาบ เมื่อมีอายุได้ประมาณ 3 ปี มะม่วงก็เริ่มให้ผลผลิต ก็ต้องใส่ปุ๋ยเร่ง ฉีดยาฆ่าแมลงเมื่อเป็นผลแล้วก็เด็ดผลที่เยอะเกินไปออก ให้เหลือแต่ลูกที่สมบูรณ์ที่สุดพอเริ่มโตก็ต้องเอาถุงมาครอบปิดมะม่วงทุกผล เพื่อป้องกันหนอนมาชอนไชถ้าเป็นมะม่วงนวลคำที่ต้องการให้ผิวเหลืองนวลสวยเขาก็จะใช้ถุง “ชุนฟง”ซึ่งเป็นถุงที่มีคาร์บอนเคลือบไว้ด้านในห่อไว้ แต่ถ้าต้องการให้มีสีแดงจัด
สวยงามเหมือนกับพันธุ์อ้ายเหวินก็ใช้ถุงสีขาวธรรมดา

เมื่อมะม่วงเริ่มโตก็จะเอาไม้ไผ่ปักไว้ ต้นละหลายลำนั้น เพื่อผูกยึดค้ำกิ่งที่มีลูกเยอะ เพราะแต่ละลูกเมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักตั้งแต่ 0.8-1 กิโลกรัมเมื่อเก็บผลผลิตไปหมดแล้วก็ต้องให้ต้นได้พักสัก 1 เดือน แล้วค่อยตัดแต่งกิ่งใบที่ตัดลงมาก็เอาคลุมดินไว้รอบต้น ปล่อยให้บริเวณติดโคนต้นว่างเอาปุ๋ยใส่ใต้กองใบไม้แล้วรดน้ำให้ปุ๋ยละลาย มะม่วงเป็นไม้ทนแล้งไม่จำเป็นต้องรดน้ำ แต่ต้องระวังไม่ให้น้ำขังหรือดินแฉะ

การเก็บเกี่ยวเพื่อส่งผลผลิต ต้องกะให้ผลสุกเมื่อถึงปลายทาง ตลาดของมะม่วงสายพันธุ์ต่างประเทศนี้ นอกจากส่งให้ภายในประเทศแล้วยังส่งตลาดมาเลเซีย สิงคโปร์และจีน ผลผลิตที่เหลือจากการรับซื้อของโครงการหลวง ทางเจ้าของสวนก็สามารถขายให้กับตลาดนอกได้ แต่เป็นผลผลิตที่ทางโครงการหลวงไม่ได้รับรอง


ไร่ผักของชาวบ้าน
ไร่ผักของชาวบ้านเชื้อสายกะเหรี่ยงที่มีโอกาสไปดูอยู่ตีนดอย หน้าฝนเขาจะมาทำไร่บนนี้ พอหน้าแล้งเกี่ยวข้าวแล้วก็ย้ายลงไปแปลงนาข้าวที่ราบช่องเขาอยู่ใกล้ๆ แต่ละครอบครัวมีที่ดินเป็นสิทธิทำกินครอบครัวละ1 ไร่ และมีแปลงนาสำหรับปลูกข้าวไว้กินอีกส่วนหนึ่ง ผักที่ปลูกมีฟักทองญี่ปุ่น ข้าวโพดสีม่วง มะเขือม่วงก้านดำและก้านเขียว และอื่นๆสลับกันไปตามใบสั่งที่ศูนย์ฯ หมอกจ๋ามรับจากส่วนกลาง แล้วจัดแบ่งให้สมาชิกของศูนย์ฯ ปลูกแต่ละช่วงเวลา

ฟักทองในหนึ่งไร่จะมีถึง 1,600 ต้น แต่ละต้นจะใช้พื้นที่1 ตารางเมตร เป็นการปลูกแบบขึ้นค้าง แปลงถัดมาเป็นมะเขือม่วงเพิ่งเริ่มปลูก ถัดไปมีข้าวโพดหวานสีม่วง กำลังออกช่อออกฝัก ก็เลยได้เรียนรู้ว่าดอกข้าวโพดที่เห็นโยกไหวอยู่ปลายยอดนั้นคือเพศผู้ มันจะ
ปลิวลงมาผสมกับเพศเมียที่เป็นเส้นฝอยๆ มากมายข้างล่าง ที่เวลาทานเราต้องลอกมันออกนั่นเอง ทุกเมล็ดที่เราทานน่าจะเป็นการตั้งท้องของเมล็ดข้าวโพดใช่ไหมนะ ดังนั้นเพื่อไม่ให้มันผสมข้ามสายพันธุ์กันเวลาปลูกก็ต้องระวังปลูกกันคนละระยะเวลากับข้าวโพดสายพันธุ์อื่นเพื่อให้เกสรมันแก่ไม่เท่ากัน


ปัจจุบันสมาชิกเกษตรกรของศูนย์ฯ หมอกจ๋ามที่ยังทำอยู่จริงๆ มีประมาณ 200 ครอบครัว เท่าที่ได้พูดคุยกันชาวบ้านก็ดูมีความสบายใจกับการที่มีเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ หมอกจ๋ามมาคอยดูแล และดูเหมือนทุกครอบครัวจะมีความเป็นอยู่ที่สุขสบายพอสมควร มีรถมอเตอร์ไซค์์หรือไม่ก็รถกระบะไว้ใช้กันทุกครัวเรือน

อาคารผลผลิต
ที่อาคารรับผลผลิต จะเป็นที่รับพืชผัก ผลไม้ เพื่อส่งไปศูนย์ใหญ่ที่แม่เหียะ เชียงใหม่ สำหรับจัดส่งลูกค้าหรือส่งโครงการหลวง ที่กรุงเทพแต่ก่อนรับพืชผักหรือผลไม้นั้น เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลพืชผักหรือผลไม้จะต้องรับผิดชอบดูแลเรื่องสารพิษตกค้างเป็นอันดับแรก โดยการออกไปสุ่มตรวจเสมอ และก่อนถึงวันส่งจะออกไปสุ่มตรวจอีกครั้ง พืชผักที่นำมาส่งแล้วก็จะต้องสุ่มตรวจซ้ำ สำหรับไม้ผลจะออกไปตรวจล่วงหน้าเพื่อตรวจว่าสารพิษยังตกค้างอยู่ในผลไม้หรือไม่ ถ้ายังมีอยู่ก็ต้องรอระยะเวลาให้สารพิษเจือจางก่อนจึงจะนัดส่งได้

เกษตรกรจะนำผลผลิตมาส่งที่ศูนย์ฯ หมอกจ๋ามทุกช่วงเช้า นำผลผลิตใส่ลังของโครงการหลวง ก่อนการคัดแยกและชั่งน้ำหนัก พนักงานจะคัดแยกส่วนที่ได้มาตรฐานกับส่วนไม่ได้มาตรฐานออกจากกัน พืชผักที่ได้มาตรฐานจะใส่ลังสีส้ม พืชผลได้มาตรฐานจะใช้ลังสีเขียว ชั่งน้ำหนักแล้วลงบันทึกส่วนที่โครงการหลวงรับซื้อ เพื่อการจ่ายเงินให้เกษตรกรเป็นงวดๆ ส่วนที่โครงการหลวงรับซื้อแล้ว เจ้าหน้าที่จะคัดและจัดแต่งอีกครั้ง ทำความสะอาดแล้วบรรจุใส่ถุง พร้อมจำหน่ายในชื่อ “ดี อร่อย”หรือจัดส่งเป็นลัง มาที่ศูนย์แม่เหียะเพื่อส่งต่อให้ลูกค้า

ที่บ้านวังไผ่
นอกจากการส่งเสริมให้ชาวบ้านพื้นที่สูงเรียนรู้ที่จะทำการเกษตรให้มีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้แล้ว หน้าที่ของศูนย์พัฒนา ทุกศูนย์ฯ ก็ต้องพยายามให้ทุกชุมชนรักษาขนมธรรมเนียมประเพณีและวิถีของตนเองทำให้เกิดความภาคภูมิใจในชาติกำเนิด ชุมชนใดที่ดูเข้มแข็งทางศูนย์ฯก็จะเริ่มส่งเสริมพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมของชนเผ่า เกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน

ศูนย์ฯ หมอกจ๋ามกำลังจะพัฒนา “บ้านวังไผ่” ซึ่งเป็น “ชาวไทลื้อ”แม้จะมีประชากรน้อยกว่าเชื้อชาติอื่นที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ แต่ยังคงมีศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมา สามารถนำมาส่งเสริมเป็น หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้ ทางศูนย์ฯ จึงแนะนำและส่งเสริมให้เปิดหมู่บ้านเป็นแหล่งท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีชีวิตชาวไทลื้อบ้านวังไผ่อย่างใกล้ชิด ด้วยการนั่งเรือจากท่าเรือในเมืองมาที่ท่าเรือวังไผ่เข้าพักบ้านชาวไทลื้อ (ที่พักแบบโฮมสเตย์) ชมการแปรรูปบุก แบบภูมิปัญญาดั้งเดิม ชมการจักสานเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยไม้ไผ่แบบไทลื้อทานอาหารไทลื้อพร้อมชมการแสดง การละเล่น เช่น ฟ้อนดาบ ฟ้อนรำประกอบการบรรเลงดนตรีที่ไพเราะ และจังหวะสนุกสนานแบบไทลื้อเราไม่มีโอกาสเห็น เพราะกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ

สองวันหนึ่งคืนที่หมอกจ๋าม พวกเราก็มีความสุข สนุกกับการต้อนรับที่อบอุ่นจากท่านเจ้าหน้าที่ทั้ง 3 และยังได้คำศัพท์ใหม่ที่น่ารัก
“หมอกจ๋าม” ที่เข้าใจว่าหมายถึงหมอกนั้นน่ะ แท้จริงเป็นภาษาไทใหญ่หมายถึง “ดอกจำปี” ที่มีอยู่ทั่วไปที่นั่น และได้มีโอกาสเริ่มเข้าใจสิ่งเคยสงสัย ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ได้ท่องเที่ยวธรรมชาติชีวิตที่แท้จริงทำให้ความเข้าใจการทำงานร่วมกันของชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่โครงการหลวงเป็นความอบอุ่นใจที่รู้สึกได้ว่าทั้ง 3 ท่าน และเจ้าหน้าที่โครงการหลวงทุกรุ่น มีความตั้งใจที่จะพัฒนาดูแลชาวบ้าน ด้วยความรู้ความสามารถที่แต่ละท่านมี ตามแนวทางที่พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงพระราชทานไว้ จนสำเร็จเป็นความเขียวชอุ่มที่สมบูรณ์ ดังที่พวกเราได้เห็นและอยากให้ธรรมชาติคู่ชีวิตนี้คงอยู่ยั่งยืนตลอดไป

ขอขอบคุณ
คุณชาติชาย พิทยาไพศาล (ตึ๋ง) นักวิชาการไม้ผล
คุณสมนึก สมพงษ์ (นึก) นักวิชาการพืชผัก
คุณชัยณรงค์ เตียงศรี (ยา)
เจ้าหน้าที่ประสานงานและสนับสนุนงานโครงการหลวง
พ่อหลวงศรีนวล หมื่นนามหน่อ เจ้าของสวนมะม่วง

เรื่องราวและภาพจาก…
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม
ที่อยู่ : บ้านห้วยศาลา หมู่ 15 ตำบลท่าตอน
อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ 50280
โทร 0 5345 1463 หรือ 08 1961 2677[:]

[:TH]ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง “ทุ่งหลวง” (มะเขือเทศแฟนตาซี)[:]

[:TH]

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2522 ในเขตหมู่บ้านห้วยตอง ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเขาให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ โดยเริ่มดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมด้านพืช ได้แก่ ไม้ผล ไม้ดอก และผักเป็นลำดับแรก ต่อมาได้ทำการขยายผลการดำเนินงานไปในด้านการเลี้ยงสัตว์ จนสามารถดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม พร้อมทั้งได้ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติควบคู่กันไป ปัจจุบันศูนย์ฯ ทุ่งหลวง มีพื้นที่รับผิดชอบดำเนินงาน1,460.50 ไร่ ครอบคลุม 12 หมู่บ้าน ประชากรที่ได้รับการพัฒนาและส่งเสริมจำนวน 952 ครัวเรือน 4,477 คน ประกอบด้วยชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง และเผ่าม้ง นับถือศาสนาพุทธ คริสต์ และบางส่วนยังนับถือผีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขามีพื้นที่ราบบริเวณหุบเขา สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
960-1,200 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 7 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 37 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปี 1,400 มิลลิเมตร

2 ตุลาคม 2560
ถึงจะเป็นเส้นทางที่เคยมาหลายครั้งแล้ว แต่เรายังไม่เคยไปถึงทุ่งหลวง ทุกครั้งที่จะได้เดินทางขึ้นเขาหัวใจเราจะเป็นสุข ออกจากถนนเลียบคลองชลฯ เข้าถนนเลี่ยงเมืองสันป่าตอง-หางดงไปแม่วาง ออกจากแม่วาง เส้นทางเริ่มขึ้นเขา เข้าสู่ป่า สองข้างทางเป็นต้นไม้สูงโปร่ง บางช่วงเห็นสายน้ำแม่วาง แทบไม่มีรถใครวิ่งตามหรือสวนมาเลย จนชักไม่แน่ใจมาถูกหรือเปล่านี่ แต่ไม่เป็นไรป่ายังสวยให้ชื่นใจ แล้วเราก็ได้เห็นป้ายทางเข้า บ้านทุ่งหลวง แต่คนดู GPS ท้วงว่า …. ม่ายช่ายนะ ต้องไปอีกหน่อย… และก็ไม่ใช่จริงๆ เพราะโทรถามแล้ว เขาบอกว่าอยู่ที่ หมู่บ้านห้วยตอง ถ้าเห็นนักบุญเปาโลองค์ใหญ่ยืนเหมือนไม้กางเขนอยู่หน้าโบสถ์ละก็ ตรงนั้นแหละเข้าไปได้เลย

ใกล้เที่ยงแล้วเลยแวะทานข้าวหน้าศูนย์ฯ ทุ่งหลวงกันก่อน สำรวจไว้เผื่อเย็นค่ำจะได้รู้ว่าหาเสบียงได้ที่ไหน มีร้านอาหารตามสั่ง 3-4 ร้านแต่ละร้านดูสะอาดดี แปลกนะ! ดูเป็นหมู่บ้านเงียบๆ เป็นคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง แต่สามารถเปิดร้านอาหารกันได้ตั้งหลายร้าน แสดงว่าวิถีชีวิตของคนที่นี่เปลี่ยนไปแล้ว แล้วยิ่งต้องแปลกใจ เมื่อสั่งอาหารมา ข้าวผัดกะเพราไข่ดาวนะนี่ หน้าตาดูดีมีราคา ประมาณร้านอาหารในเมืองแต่ราคาชาวบ้านนะ

ก่อนออกจากร้านพ่อครัวหนุ่มน้อยพ่อลูกอ่อนยังแบ่งกล้วยหอมให้พวกเราคนละใบ นี่แหละนะ…น้ำใจหาได้ง่ายจัง กล้วยหอมลูกน้อยๆเลยอร่อยขึ้นเยอะ

อิ่มท้องแล้วก็ได้เวลาเข้าไปพบเจ้าหน้าที่ ได้พบ คุณแบงค์(คุณคุณากร เปี้ยบุญยืน) เจ้าหน้าที่ประสานงานและสนับสนุน
โครงการหลวง และ คุณเพชรพโนทัย บุญเรือง นักวิชาการผักที่ขายังเข้าเฝือกก็เขย่งเข้ามา เนื่องจากพามอเตอร์ไซค์ไปล้มกระดูกหักต้องเขย่งแบบนี้มา 2 เดือนแล้ว

หลังจากเข้าใจตรงกันแล้วว่าเราจะมาทำอะไร เราก็ได้รู้ข้อมูลมากมายจากที่สงสัยกันมานาน

หมู่บ้านที่ศูนย์ฯ ทุ่งหลวงดูแลอยู่นี้ มีชาวกะเหรี่ยง กับม้ง ซึ่งมีวิถีชีวิตต่างกัน ดังนั้นในการเข้าไปส่งเสริมก็ต้องศึกษาพื้นฐานการดำรง
ชีวิตของแต่ละเผ่า ถึงทั้งสองชนเผ่าจะนับถือศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่แต่ต่างยึดถือธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติมาแต่บรรพบุรุษ จึงทำให้วิถีชีวิตหรือแนวการปฏิบัติตัวของพวกเขาแตกต่างกัน ส่วนน้อยที่นับถือศาสนาพุทธและยังมีที่นับถือผีอยู่

โครงการหลวงเข้ามาก็เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกพืชผักเป็นรายได้แทนการปลูกฝิ่น ทำให้การปลูกฝิ่นค่อยๆ ลดลง แนวทางในการเข้าถึงชาวบ้านที่ต้องจำให้ขึ้นใจคือ…ศูนย์พัฒนาฯ ได้งาน ชาวบ้านได้เงิน…

ศูนย์ฯ ทุ่งหลวงจะเปิดรับสมัครสมาชิกของศูนย์ฯ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เมื่อสมัครเข้ามาแล้วก็จะจัดการอบรมให้ความรู้
พื้นฐาน ตรวจสุขภาพ เมื่อผ่านขั้นตอนแล้วจะส่งรายชื่อและประวัติไปที่เชียงใหม่และส่วนกลาง เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกรของโครงการฯ

ปัจจุบันมีสมาชิกที่ขึ้นทะเบียนไว้อยู่ 780 ราย แต่ทำจริงๆ แค่300 กว่ารายเท่านั้น ด้วยเหตุผลต่างๆ กัน แม้จะมีเกษตรกรน้อย แต่
แผนงานจากส่วนกลางกลับมากขึ้น และในตลาดก็มีคู่แข่งเรื่องผลผลิต หลากหลาย เช่น การปลูกพืชผักก็มีการแข่งขันปลูกผัก GAP และผักอินทรีย์

หรือบางทีก็อยู่ที่ค่านิยม เช่น พืชหัว ซึ่งถึงแม้ทางโครงการหลวงจะควบคุมเรื่องการใช้ยาและสารเคมี แต่ไม่สามารถควบคุมรูปทรงลักษณะขนาดได้คงที่ สู้พืชหัวของจีนที่มีขนาดใหญ่รูปร่างได้มาตรฐานเท่ากันทุกลูกไม่ได้

สิ่งเหล่านี้ก็เป็นปัญหาที่ทางโครงการหลวงต้องคอยปรับปรุงให้สินค้าได้มาตรฐานอยู่เสมอ นับเป็นปัญหาที่ค่อนข้างลำบากกับทั้งเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ ที่จะต้องคอยตรวจตรา ดูแลแก้ไขอยู่ตลอดเวลา บางทีอาจทำให้สมาชิกรู้สึกยุ่งยากมากไป ก็เลยทำให้สมาชิกน้อยลงไปอีกการผลิตสินค้าก็จะไม่ได้ตามแผน

เกษตรกรเมื่อเป็นสมาชิกของโครงการหลวงมีสิทธิซื้อพันธุ์กล้าจากโครงการหลวงในราคาสมาชิกไปเพาะปลูก เมื่อได้ผลผลิตก็นำมาส่งเข้าโครงการหลวงได้เลย ระหว่างปลูกจะมีเจ้าหน้าที่ไปดูแลแนะนำส่งเสริมหากเกิดปัญหาหรือปลูกแล้วไม่ได้มาตรฐาน ทางศูนย์ก็จะช่วยหาทางระบายสินค้าให้ ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทส่งให้โรงงานแปรรูป

เจ้าหน้าที่ในศูนย์ฯ ทุ่งหลวงตอนนี้มีอยู่ 12 คน มีเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับหลายๆ ส่วน มีตำแหน่งแตกต่างกันไป แบ่งเป็น
ทีม เช่น ทีมอารักขาพืชหรือทีมหมอ, ทีมเจ้าหน้าที่ส่งเสริม, ทีมไม้ผล,ทีมไม้ดอก, ทีมผัก, ทีมพืช GAP เหล่านี้เป็นต้น สำหรับทีมหมอนี้แต่ละศูนย์ฯ จะมีเป็นหลักไว้ 1 คน เจ้าหน้าที่ทุกคนจะมีเบอร์ติดต่อที่สามารถรับเรื่องกันได้ทันที แต่เมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับผลผลิตของเกษตรกรเจ้าหน้าที่แปลงก็จะสามารถเข้าไปดูแลให้คำปรึกษาได้ เพราะเจ้าหน้าที่ทุกคนมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหมอพืชเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว

ระบบการดูแลสมาชิกเกษตรกรของศูนย์ฯ ทุ่งหลวง
– ส่วนกลางเป็นผู้วางแผนการตลาดว่าแต่ละปีจะมีการส่งผลผลิตเป็น
จำนวนเท่าไร
– ทางศูนย์ฯ ทุ่งหลวงจะรับแผนนั้นมาแล้วมาพิจารณาว่า เกษตรกร
ในพื้นที่ที่ดูแลอยู่จะมีศักยภาพสามารถรับแผนการปลูกพืชชนิดใด
ได้บ้างรับได้อย่างละเท่าไร
– เมื่อตกลงรับแผนแล้วก็จะซื้อเมล็ดพันธุ์จากส่วนกลาง หรือสถานีที่
เพาะเมล็ดพันธุ์มาตามแผน
– ทำการเพาะกล้าที่ศูนย์แล้วแบ่งขายให้กับสมาชิกเกษตรกรตาม
แผนที่กระจายให้ตามความสามารถของสมาชิกแต่ละคน
– เกษตรกรรับกล้ามาปลูกในพื้นที่ของตนเอง โดยมีเจ้าหน้าที่คอย
ออกมาดูแลและตรวจสอบ พร้อมช่วยกันแก้ปัญหาอย่างสม่ำเสมอ
– เมื่อได้เวลาส่งผลผลิตก็มาส่งที่อาคารผลผลิต เจ้าหน้าที่ก็ตรวจรับ
ตามระเบียบปฏิบัติ ออกใบรับให้แต่ละครั้ง แล้วรวบรวมจำนวน
รับซื้อของแต่ละคนแล้วจัดจ่ายเงินให้ภายใน 7 วัน

แต่ในบางครั้งอาจเกิดปัญหา เช่นช่วงที่สภาพอากาศไม่ค่อยดี ฝนตกแยะ หรือลามไปถึงมีโรคแพร่ระบาดในพื้นที่ ทำให้กล้าที่รับมาเสียหายส่งของไม่ทันกำหนด เจ้าหน้าที่จะต้องแจ้งไปทางส่วนกลางให้ทราบก่อนแล้วถึงติดต่อไปยังศูนย์ฯ ใกล้เคียง เพื่อที่จะหาผลผลิตที่จะรองรับและส่งผลผลิตให้ได้ตามแผนที่รับมา เป็นการช่วยเหลือกันอีกทางหนึ่ง

นอกจากนี้ สมาชิกเกษตรกรของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุกศูนย์จะมีการตั้งกลุ่มสหกรณ์ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือกลุ่มสมาชิกที่ขาดแคลนหรือบางครั้งเกิดปัญหา เป็นการทำให้กลุ่มสมาชิกเข้มแข็งขึ้น

สำหรับพื้นที่ทำกินนั้น ชาวบ้านที่นี่มีพื้นที่ทำกินกันมาก่อนที่โครงการหลวงจะเข้ามา ดังนั้นที่ดินของบางคนก็มีโฉนด บางคนก็ไม่มี
หรือบางคนมีถึง 10 ไร่ แต่บางคนมีเพียง 5 ไร่ ไม่เท่ากัน เวลาจะปลูกพืชก็จะปลูกแบบหมุนเวียน ปลูกข้าวบริเวณที่ราบเอาไว้กินในครัวเรือน ปลูกผักหมุนเวียนส่งโครงการหลวง ทางศูนย์ฯ ทุ่งหลวงก็พยายามจำกัดการใช้พื้นที่ของชาวบ้าน เพราะเกรงจะมีการรุกล้ำพื้นที่ป่ามากเกินไปซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านและทางกรมป่าไม้เข้ามาช่วยดูแล

ศูนย์ฯ ทุ่งหลวงนี้ยังเป็นพื้นที่ที่รับพืชพันธุ์ที่วิจัยใหม่ๆ จากส่วนกลางมาทดลองปลูก ก่อนจะนำไปส่งเสริมให้กับสมาชิกซึ่งตอนนี้ที่นำไปส่งเสริมก็จะเป็น ผักกาดขาวปลี และผักสลัดต่างๆ

ไปดูสวนผักที่ศูนย์ฯ ทุ่งหลวงส่งเสริม

ที่นี่เป็นสวนผักปลูกในโรงเรือนที่ทำแบบง่ายๆ แต่ก็สร้างรายได้ให้อย่างดี วันนี้เราจึงเห็นโรงเรือนโครงเหล็กแข็งแรงโรงใหม่ ขนาดใหญ่ไม่ใช่น้อย เตรียมรับแผนใหม่จากโครงการหลวง

พื้นที่ฝั่งนี้ค่อนข้างสมบูรณ์ด้วยน้ำ มีร่องน้ำเล็กๆ แทรกอยู่ทั่วไปพื้นที่ราบปลูกข้าวไว้กิน สำหรับพืชผักที่ปลูกอยู่บนเนินก็สูบน้ำจากร่องน้ำขึ้นมาพักไว้ในถัง ร่องน้ำเล็กๆ มีน้ำไหลรินตลอดเวลา รถไถนาขนาดเล็กที่ใช้แทนควายไถนา ช่วงว่างงานก็ทำหน้าที่ใหม่เป็นเครื่องปั่นไฟสำหรับใช้กับเครื่องสูบน้ำเวลาจะสูบไปใช้รดน้ำผัก ดูเป็นการใช้งานที่คุ้มค่าจริงๆ

น้ำและเส้นทางขนส่งสินค้า เป็นสิ่งสำคัญของเกษตรกร ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ตั้งแต่พระองค์ทรงเริ่มเข้ามาให้ความช่วยเหลือเกษตรกรบนพื้นที่สูง เราจึงได้พบแหล่งเก็บน้ำและถนนคอนกรีตที่สร้างใหม่ไล่ตามไปในทุกพื้นที่ที่มีการเพาะปลูก


แปลงผักเล็กๆ อีกแปลงหนึ่งอยู่ติดธารน้ำ ผักดูอวบใหญ่ ธารน้ำนี้มีชื่อ “ห้วยข้าวลีบ” ไม่น่าเชื่อว่าจากนาข้าวใกล้ๆ กันนี่เอง ที่เราเห็น
ร่องน้ำเล็กๆ ที่เห็น จะกลายเป็นธารกว้างขนาดนี้ ในพื้นที่แถบนี้คงมีร่องน้ำหลายร่องไหลมารวมตัวกัน จึงเกิดเป็นธารน้ำใสๆ เห็นแล้วน่าลงไปเดินเล่น มีหินใหญ่สวยงามดักน้ำไว้เป็นบางส่วนและมีการเสริมฝายคอนกรีตเพื่อดักน้ำไว้ใช้ ทำให้จุดนี้ดูใกล้เคียงน้ำตก จากแอ่งน้ำมีร่องเล็กๆ ด้านข้างผันน้ำแยกไปเพื่อส่งไปเลี้ยงนาข้าวที่อยู่ต่ำไปอีกด้านบริเวณนี้ดูจะมีธรรมชาติสวยงาม ถ้าได้สะสางหญ้ารกๆ ออก ก็น่าจะเป็นจุดถ่ายภาพธรรมชาติที่น่าชื่นใจได้อีกจุด

เข้าเขตทุ่งหลวงมายังไม่เห็นพืชไร่แปลงใดไกลสุดลูกตาเลย ทุกแปลงทำแค่ทำไหว นาข้าวมีแค่พอกิน เครื่องมือเครื่องใช้ก็ใช้อย่างรู้ค่าน้ำที่ไหลผ่านที่นาของใครก็ไม่ใช่ของคนนั้น มีไว้แบ่งปันกัน จะสูบน้ำใช้ก็กั้นฝายเล็กๆ พอจุ่มหัวสูบได้น้ำพอใช้ในแต่ละครั้งก็ปล่อยน้ำไป

กลับมาที่ศูนย์ฯ ทุ่งหลวง มีโอกาสดูการรับผลผลิต รู้สึกเกรงใจเจ้าหน้าที่ที่เราไปรบกวน เพราะจดหมายที่ขออนุญาตมาก็ไม่ได้ระบุ
ชัดเจนว่าเราขอทำอะไรบ้าง แต่เจ้าหน้าที่ก็พยายามจัดให้เราได้ทำงานตามที่ตั้งใจไว้

เกือบ 4 โมงเย็นแล้วพวกเรามาที่ อาคารผลผลิต อาคารผลผลิตของที่นี่ใหญ่กว่าทุกที่ที่ไปมา สงสัยว่าไร่สวนกว้างขวางที่มีผลผลิต
มากมายอยู่แถวไหน เรายังไม่เห็นเลย แต่ที่นี่มีพื้นที่รับผลผลิตใหญ่มากมีชาวบ้านกำลังมาส่งผักกาดขาวห่อพอดี รถกระบะ 3 คันบรรทุกผักมาเต็มกระบะ ทำให้บริเวณรับของดูชุลมุนวุ่นวายพอควร เจ้าหน้าที่และชาวบ้านต่างช่วยกันทำการกำจัดใบที่ไม่ต้องการทิ้งจนเหลือแต่กาบขาวๆที่นี่มีพนักงานเยอะ น่าจะรับผลผลิตมากกว่าที่อื่นๆ จริงๆ

ห้องคัดแยก

เมื่อคุณแบงค์ขออนุญาต คุณปฐมพงษ์ วงศ์ชมพู นักวิชาการคัดบรรจุ ผู้ดูแลอาคารผลผลิตแล้ว พวกเราก็ได้เข้าไปดูภายในห้อง
ทุกคนต้องใส่หมวก ซึ่งจริงๆ แล้วเราจะต้องมีผ้ากันเปื้อนหรือเสื้อคลุมด้วยแต่เราไม่ได้แจ้งไว้ก่อน

ห้องข้างในใหญ่ โล่ง ดูสะอาดอย่างกับห้องผ่าตัดเลย พนักงานทุกคนใส่ชุดเสื้อคลุมใส่ถุงมือ ใส่หมวก ใส่ผ้าปิดปาก กำลังก้มหน้า
ก้มตากำจัดใบอีกครั้ง เช็ดหัวผักกาดให้ปราศจากขี้ดิน เสร็จแล้วก็วางในสายพาน สายพานจะนำผลผลิตเลื่อนหายเข้าห้องถัดไป เห็นรางยาวๆ มีสายพาน มีอ่างน้ำยาวๆ ด้วยอีกหนึ่งชุด แต่ไม่มีการใช้ ได้ทราบว่านั่นเป็นเครื่องที่ใช้น้ำเย็นจัดลดอุณหภูมิของผักให้เย็นลง เพื่อรักษาผักให้สด ส่วนใหญ่ใช้กับผักประเภทหัว เช่น แครอท แรดิช หน่อไม้ฝรั่งเป็นต้น และใช้กับผลผลิตประเภทงานทดลองวิจัย เรียกว่าระบบHydro Cooled แต่กรรมวิธีนี้ต้องผ่านหลายขั้นตอน แต่ละขั้นตอนต้องใช้เวลานาน กว่าจะเสร็จสิ้นครบทุกกระบวนการใช้เวลาเป็นชั่วโมง จึงยกเลิกวิธีนี้ไป เครื่องนี้ทางบริษัทผู้ผลิตนำมาติดตั้งให้เอง เนื่องจากเมื่อก่อนที่ศูนย์ฯ ทุ่งหลวงนี้ ก็เป็นศูนย์ฯ หนึ่งสำหรับทำงานวิจัยด้วย เมื่อไม่ได้ใช้แล้ว ก็คงจะหาทางแยกชิ้นส่วนนำไปใช้ทำอย่างอื่นให้เกิดประโยชน์และพื้นที่นี้จะได้ใช้ในการตรวจรับเช็คผลผลิตได้มากขึ้น

ห้องบรรจุผลผลิต

เข้าไปอีกห้องเป็นห้องบรรจุผลผลิต เจ้าหน้าที่กำลังบรรจุผักที่สายพานนำเข้ามาใส่ถุงพลาสติกที่มีชื่อ “ดี อร่อย” ในห้องจะมีคอมพิวเตอร์สำหรับผลิตสติคเกอร์ระบุ ชื่อสินค้า น้ำหนัก วันที่ผลิต ( บอกเป็นระบบ Julian Date ) หมายเลขเกษตรกร หมายเลขศูนย์ฯ ที่รับและส่งเสริมผลผลิต เกรดของผลผลิต ถ้าเป็นพืชอินทรีย์ก็จะบรรจุในถุงเฉพาะที่ระบุคำว่า..ออร์แกนิค เท่านั้น

เพื่อรักษาผลผลิตให้สดอยู่ได้นานนั้นมี 3 วิธีการ คือ
ระบบ Force Air Cooling ใช้เครื่องปรับอากาศอุณหภูมิต่ำและมีความชื้นสัมพัทธ์สูง มีพัดลมหมุนเวียนอากาศอยู่ภายใน
ช่วยยืดอายุของผลผลิต ส่วนใหญ่ใช้กับพืชผัก
ระบบ Hydro Cooled เป็นการลดอุณหภูมิโดยใช้น้ำเย็นจัดไหลผ่านอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพในการรักษาความสดสูง
แต่น้ำต้องเย็นจัดมากๆ จนสามารถลดความร้อนจากผลผลิตได้ส่วนใหญ่ใช้กับพวกพืชผักประเภทหัว
ระบบ Vacuum cooling เป็นการลดอุณหภูมิของผักด้วยระบบสูญญากาศ ส่วนใหญ่ใช้กับผลิตผลของลูกค้าที่มีความต้อง
การรักษาความสดใหม่ของผลผลิตสูง และผลิตผลเหล่านี้จะต้องเก็บรักษาไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิต่ำ การขนส่งต้องใช้รถที่มีห้องเย็น

ห้องที่ทำ vacuum นี้ดูแน่นหนาแข็งแรงและน่ากลัว เห็นแล้วไม่กล้าเข้าใกล้ กลัวสัญญานปิดเปิดรวนขึ้นมาเราจะถูกดูดเข้าไปแล้วจะ
ออกมาอย่างไร ประตูเหล็กหนาหนักขนาดนั้น แต่ดูเจ้าหน้าที่ทุกคนไม่รู้สึกว่ามันน่ากลัวเหมือนที่พวกเรารู้สึกกันเลย

มะเขือเทศสีเหลือง
ออกจากอาคารคัดบรรจุ เดินมาที่โรงเรือนปลูกมะเขือเทศแฟนตาซี 5 สี แต่ที่นี่มีอยู่สีเดียว คือ สีเหลืองว่าที่ร้อยตรี สุพล แสงแก้ว นักวิชาการไม้ดอกบอกว่าพวกเรามาช้าไป เพิ่งเก็บมะเขือเทศ 5 สีไปเมื่อวันก่อน ตอนนี้เหลือแต่สีเหลืองตรงนี้แหละกำลังเริ่มออกช่อ มะเขือเทศสีเหลืองมีรสหวานมากกว่าสีอื่นลูกค้าชอบ เลยปลูกแต่สีเหลืองตามออเดอร์ของลูกค้า

ทางโครงการหลวงได้นำพันธุ์จากต่างประเทศมาทดลองปลูกและวิจัยตามศูนย์ฯ ต่างๆ และได้เริ่มเพาะมะเขือเทศแฟนตาซีเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2553

การเพาะกล้ามะเขือเทศจะเพาะในขุยมะพร้าวกับปุ๋ย พอได้กล้าแล้วก็เอาลงแปลง ซึ่งแปลงมะเขือเทศนี้ก็เป็นแปลงขุยมะพร้าว เอากล้าลงในกาบมะพร้าวเป็นเหมือนกระถางในตัว กาบมะพร้าวใส่อยู่ในถุงพลาสติก เพื่อควบคุมระดับน้ำที่ให้กับต้นมะเขือเทศ จะให้น้ำค้างอยู่ในถุงสูงได้ไม่เกิน 5 เซนติเมตรเถามะเขือเทศจะเลื้อยขึ้นไปตามเชือกที่ขึงไว้ พอสูงได้ประมาณ 60 เซนติเมตร มันก็จะเริ่มออกดอกเป็นช่อยาวเกือบ 40 เซนติเมตร ดอกจะค่อยๆ กลายเป็นผลไล่ระดับจากโคนไปจนปลาย เขาก็ไล่เก็บไปเรื่อยๆ จนหมด ต้นก็หมดอายุ ต้องปลูกใหม่ซึ่งรวมเวลาตั้งแต่เพาะกล้าจนหมดอายุประมาณ 5-6 เดือน

มะเขือเทศทั้ง 5 สีมาจากคนละต้น แต่ละต้นไม่ใช่พันธ์ุเดียวกันมีรสชาติแตกต่างกัน สีแดงเหมือนมะเขือเทศราชินี สีชมพูกับสีเหลืองมีรสหวานที่สุด สีส้มเปลือกหนาและเหนียวกว่าสีอื่น สีช็อกโกแลตที่ดูเหมือนพุทราเน่า แต่รสชาติเป็นมะเขือเทศมากที่สุด ทานแล้วได้ความรู้สึกว่าเนื้อหนากว่าสีอื่นแต่แท้จริงเขาบอกว่าผิวของมะเขือเทศน่ะไม่มีสีหรอกนะ สีแดงชมพู ส้ม เหลือง หรือช็อกโกแลตนั้น เกิดจากสีเนื้อข้างในของผลมะเขือเทศนั่นเอง

ออกจากโรงเรือนเพาะปลูกมะเขือเทศแฟนตาซี ฟ้าก็เริ่มมืดอากาศเริ่มเย็น เข้าบ้านพักของศูนย์ฯ ทุ่งหลวงที่อยู่ใกล้ๆ นั่นเอง

3 ตุลาคม 2560

ตื่นแต่ตี 5 คุณแบงค์พาไปดูทะเลหมอกบนยอดเขาใกล้ๆ ขับรถย้อนกลับไปจอดที่ตีนบันไดนาค วัดพระธาตุ ศรีสมเด็จ พระพุทธชินวงศ์ต่อจากบันไดนาคก็เดินไปตามทางเดินเท้าลัดเลาะไปจนถึงบริเวณตักของพระพุทธรูปองค์ใหญ่บนยอดเขาที่เราเห็นตั้งแต่เมื่อวาน แล้วเดินต่อขึ้นไปถึงบนยอดซึ่งน่าจะเป็นระดับอกของพระพุทธรูป ตอนนี้เราอยู่หลังองค์พระพุทธรูป ด้านที่ยืนอยู่กลายเป็นผาสูงมองได้กว้างไกล ฟ้ายังมืดแต่หมอกเริ่มหนาแล้ว อากาศเย็นสบายกำลังดีไม่หนาวเกินไป

มองลงไปเห็นไฟวับแวมสองสามจุดอยู่ซ้ายมือ นั่นคือบ้าน “ห้วยอีค่าง” ที่เราผ่านไปดูไร่ที่ “ห้วยข้าวลีบ” เมื่อวานตอนเย็น คุณแบงค์บอกว่าข้างขวาต่ำลงไปอีกหน่อยมีดวงไฟมากกว่าสักหน่อย นั่นคือ “บ้านทุ่งกว้าง” ที่เราจะเข้าไปเมื่อวาน อะไรนี่ !!! เมื่อวานที่ผ่านมา เราคิดว่าบ้านทุ่งกว้างกับ “บ้านห้วยตอง” อยู่ในระดับไล่เรี่ยกัน แต่ดูอย่างนี้เท่ากับเราอยู่บนยอด แล้วต้องลงไปอีกหลายร้อยเมตรถึงจะเป็นระดับหมู่บ้านทุ่งกว้างนะ

ก่อนเดินลงตามเส้นทางเลียบหน้าผา กราบขอขมาต่อพระพุทธองค์ด้วยความเคารพและศรัทธา ไม่ค่อยแน่ใจว่าเราควรรู้สึกอย่างไรกับพระพุทธรูปองค์ใหญ่เหมือนผุดขึ้นมาจากภูเขา ท่ามกลางหมู่บ้านเล็กๆที่ดูอบอุ่น แล้วเรายังขึ้นบันไดไต่เขามาเคียงบ่าเคียงไหล่พระพุทธรูปที่ควรเคารพบูชาด้วยเจตนาหาความสุข แล้วทันทีที่ได้เห็นความงามของทะเลหมอกยามเช้าเราก็ตื่นเต้นจนลืมสำรวม เราอาจทำผิดวัตถุประสงค์ของผู้ริเริ่มก่อสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้ก็เป็นได้

เช้่านี้ยังไม่มีโปรแกรมรีบไปไหน ทานอาหารเช้าเสร็จเดินไปอาคารผลผลิต เห็นชาวบ้านกำลังช่วยกันเพาะพันธุ์กล้าอยู่ใกล้ๆ ได้ความรู้มานิดหน่อยว่าที่นี่มีชาวกะเหรี่ยง 3 – 4 ครอบครัวมารับเพาะพันธุ์กล้าทางศูนย์ฯ ทุ่งหลวงจะมีวัตถุดิบให้ทุกอย่าง ทั้งเมล็ดพันธุ์ ถาดเพาะ ดินปุ๋ยสำหรับเพาะ พวกเขามีหน้าที่เอาดินปุ๋ยใส่ถาด เอาเมล็ดพันธุ์หยอดลงหลุม หลุมละ 1 เมล็ดอย่างคล่องแคล่ว เอาดินปุ๋ยกลบเรียบร้อยแล้วเอาเข้าโรงบ่มซึ่งอยู่ใกล้ๆ เพื่อกระตุ้นให้ต้นกล้างอกเร็วขึ้น เพราะในห้องบ่มจะมีอุณหภูมิสูงกว่าข้างนอก จากนั้นเอาเข้าไปเรียงไว้ในโรงเรือน เลี้ยงจนกว่าต้นกล้าจะพร้อมนำไปปลูก ระหว่างนั้นต้องมาดูแลรดน้ำ แยกต้นที่เกินออกให้เหลือเพียงหลุมละ 1 ต้นเท่านั้น เพราะในการหยอดเมล็ดพันธุ์อาจจะมีบางหลุมที่มีเมล็ดพันธุ์มากกว่า 1 ต้น แต่ต้นที่เกินนี้ไม่ต้องทิ้งไปไหนเพราะมีหลายหลุมที่ต้นกล้าอาจไม่ขึ้นก็เอาต้นที่ดึงออกใส่ลงไปแทน เมื่อมีอายุพอที่จะไปปลูกได้แล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้เกษตรกรมาเลือกซื้อผู้เพาะกล้าจะได้ค่าจ้างการเพาะกล้าที่มีต้นกล้าสมบูรณ์ครบทุกหลุม ถาดละ 4 บาท


ชาวบ้านโดยเฉพาะพวกผู้หญิงชอบที่จะรับงานเหมา เพราะสามารถผลัดกันมาทำได้ มาทำเวลาไหนก็ได้ บางครั้งต้องดูแลลูกหรือ
มีเรื่องอื่นต้องทำก็จัดเวลาของตัวเองได้ แค่รับผิดชอบส่งงานให้ครบก็พอถ้าเป็นลูกจ้างโครงการหลวงต้องมาตามเวลา ค่ำถ้าจะทำโอทีก็ไม่ได้ ต้องทำงานตามเวลาที่โครงการหลวงกำหนด การทำแบบนี้ทำให้พวกเขาสะดวกและทางโครงการหลวงเองก็ได้งานมากกว่า นับว่าดีต่อทั้งสองฝ่ายนะ

การที่ทุกศูนย์ฯ จะต้องเพาะกล้าขายให้กับเกษตรกรแทนการขายเป็นเมล็ด เพราะถ้าเกษตรกรเอาเมล็ดไปเพาะเองอาจเพาะไม่หมด หรือเพาะแล้วแต่เสียหายก็จะทำให้ไม่ได้ผลผลิตตามแผนที่รับมา

เช้านี้คุณแบงค์จะพาไปดูสวนผักอินทรีย์ แต่ก่อนไปก็แวะดูอ่างเก็บน้ำของศูนย์ฯ ทุ่งหลวงก่อน อยู่หลังโรงเรียนที่มีรูปปั้นนักบุญเปาโล อ่างเล็กๆ แต่ดูเป็นธรรมชาติดีจังเลย คุณแบงค์บอกเดิมทีศูนย์ฯ ทุ่งหลวงตั้งอยู่ตรงนี้แหละ แต่พื้นที่เล็กไปเลยย้ายขยับไปอยู่ตรงที่ตั้งปัจจุบัน ก็ห่างกันนิดเดียว อ่างเก็บน้ำนี้เพิ่งสร้างเสร็จเมื่อ ปี 2558 นี่เอง มีป้ายเขียนไว้ว่าเป็นโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำเพื่อสนับสนุนศูนย์ฯ ห้วยตองเอ…ก็งงเหมือนกัน ใช่ศูนย์เดียวกันกับทุ่งหลวงหรือเปล่า ยืนอยู่บนสันเขื่อนดินนี้ทำให้เห็นว่า บริเวณนี้มีโรงเรือนเก่าๆ ของศูนย์ฯ ทุ่งหลวงหลายโรง แต่ปัจจุบันใช้เป็นโรงผลิตปุ๋ย ก็น่าเสียดายพื้นที่นะ

จากนี้ก็ได้ไปดูไร่เกษตรอินทรีย์ขนาดเล็ก ได้เห็นแปลงเกษตรอินทรีย์ของเด็กนักเรียนที่ดูเหมือนร้างไปแล้ว แต่ศาลาเรียนยังมีข้อมูลการสอนวิธีปลูกผักอินทรีย์น่าสนใจดี

ฝนทำท่าจะตกเลยกลับ ถึงศูนย์ฯ ทุ่งหลวงฝนตกพอดี วิ่งหลบฝนในโรงเรือนที่อยู่ใกล้ที่ทำการ แล้วพวกเราก็เจอขุมทรัพย์ มะเขือเทศ 5 สีที่ตามหาอยู่เกลื่อนกลาดบนพื้น เจ้าหน้าที่คงล้มต้นเตรียมปลูกไม้ดอกที่เราเห็นมีอยู่ในโรงเรือนด้านหนึ่ง ดีใจรีบเก็บลูกเล็กลูกน้อยขึ้นมา…น่ารักจริงๆ สีช็อกโกแลตก็มีจริงด้วยซิ…เราก็เลยได้ภาพที่ตั้งใจมาใช้แล้วดีใจจริงๆ แล้วก็แอบชิมจนครบทุกสี อร่อยดีจริงๆ ด้วย

แต่ดูซิ !!! ฝนมามืดไปหมด เปิดดูสถานการณ์ฟ้าฝนในกูเกิ้ล อะไรนี่…เราอยู่ตรงกลางกลุ่มฝนก้อนมหึมา ฝนก้อนนี้ปกคลุมไปทั่วภาคเหนือชนิดไม่ต้องคิดหนีไปทางไหน อย่างนี้จะไปเที่ยวต่อกันได้ไงล่ะ

…เก็บของกลับบ้านกันเถอะ…

แต่ถึงไม่ได้ไปเที่ยวที่ไหนก็มีคำแนะนำสำหรับการท่องเที่ยวแถวทุ่งหลวงอยู่หลายแห่งตามคำบอกเล่า

การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ไปชมแปลงสาธิตพืชผัก ผลไม้เมืองหนาวชมการทำนาแบบขั้นบันได ตามความลาดชันของภูเขา

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เช่น ชมวิถีชีวิตชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงและม้ง สาธิตการทอผ้า

เที่ยวน้ำตกห้วยกระแส, น้ำตกโป่งสมิต, น้ำตกห้วยเย็น สำหรับท่านที่ชอบเดินศึกษาธรรมชาติ

ขอขอบคุณ…
คุณเพชรพโนทัย บุญเรือง นักวิชาการผัก
คุณปฐมพงษ์ วงศ์ชมพู นักวิชาการคัดบรรจุ
ว่าที่ร้อยตรีสุพล แสงแก้ว นักวิชาการไม้ดอก
คุณคุณากร เปี้ยบุญยืน
เจ้าหน้าที่ประสานงานและสนับสนุนงานโครงการหลวง

เรื่องราวและภาพจาก…
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง
ที่อยู่ : บ้านห้วยตอง เลขที่ 79 หมู่ที่ 10 ตำบลแม่วิน
อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ 50360
โทรศัพท์ : 09 8278 9061, 08 4948 3546[:]

[:TH]ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง “ขุนวาง” (เห็ดปุยฝ้าย)[:]

[:TH]

ขุนวางเป็นพื้นที่ต่อเนื่องของดินแดนที่มีการปลูกฝิ่นจนมีแต่เขาหัวโล้นเมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว

ในปี พ.ศ. 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จฯ ไปยังบ้านขุนวาง ได้ทอดพระเนตรเห็นว่าบริเวณนี้ยังมีพืชเสพติดอยู่มาก จึงรับสั่งให้หน่วยงานในพื้นที่ช่วยกันพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบจำนวน 7 หมู่บ้าน คือ บ้านขุนวาง บ้านป่ากล้วยบ้านโป่งลมแรง บ้านโป่งน้อยเก่า บ้านห้วยยาว และบ้านขุนแม่วากซึ่งเป็นชาวเขาเผ่าม้งและเผ่ากะเหรี่ยง

โดยเริ่มดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมด้านไม้ผลเป็นลำดับแรก ต่อมาได้ทำการขยายผลการดำเนินงานไปในด้านไม้ดอก เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม พร้อมทั้งได้ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติควบคู่กันไป ปัจจุบัน ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง มีพื้นที่รับผิดชอบดำเนินงาน 499 ไร่ ครอบคลุม 7 หมู่บ้าน ประชากรที่ได้รับการพัฒนาและส่งเสริม จำนวน 380 ครัวเรือน 2,005 คน

ศูนย์ฯ ขุนวาง ได้ส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่จนสามารถลดพื้นที่การบุกรุกป่าจากอดีต ซึ่งเกษตรกรในพื้นที่ส่วนมากจะปลูก
กะหล่ำปลีใช้พื้นที่กว่า 333 ไร่ เมื่อทางศูนย์ฯ ขุนวางได้ส่งเสริมเกษตรกร โดยให้เปลี่ยนมาปลูกผักในโรงเรือนทำให้สามารถลด
พื้นที่เพาะปลูกได้ถึงร้อยละ 80% สร้างรายได้ให้เกษตรกรมากขึ้นจนสามารถเลี้ยงชีพด้วยตนเองได้

6 ตุลาคม 2560
ออกเดินทาง เวลา 8.00 น. ไปศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง หลังจากหาข้อมูลพร้อมแล้วว่าถ้าอยากไปดูการเพาะพันธุ์เห็ด
ต้องไปที่ “ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง” นะ ไม่ใช่ไป “ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงขุนวาง” ที่นั่นเขาไปดูนางพญาเสือโคร่งกัน จากตัวเมืองเชียงใหม่ไปได้ 2 เส้นทาง คือ เส้นแม่วาง-ขุนวาง เราจะต้องผ่านศูนย์วิจัยเกษตรหลวงขุนวางก่อน และเส้นจอมทอง-อินทนนท์ เราจะถึงศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวางก่อนเราเลือกทางเส้นจอมทอง-อินทนนท์ทางนี้จะอ้อมกว่าเล็กน้อย แต่เป็นทางที่คุ้นเคยมากกว่า ระหว่างทางอากาศครึ้มๆ เหมือนฝนจะตก

ถึงศูนย์ฯ ขุนวางได้พบกับผู้ประสานงานและจะคอยดูแลพวกเราวันนี้คุณนุ่ม (ศิริลักษณ์ ลัทธิประสิทธิ์) เจ้าหน้าที่ธุรการ กำลังรอพวกเราอยู่ ได้รับรู้ข้อมูลเบื้องต้นกันพอประมาณว่าที่นี่เน้นปลูกผัก ปัจจุบันผักรายได้เยอะที่สุดรองลงมาเป็นไม้ผล เช่น เสาวรส สตรอว์เบอร์รี่ เคพกูสเบอร์รี่ และมีผลไม้น้องใหม่ คือ เปปปีโน พืชอีกอย่างที่ส่งเสริม คือ ชา ชาของที่นี่แตกต่างจากที่อื่น เพราะอยู่บนพื้นที่สูงกว่า ทำให้ได้คุณภาพชาดีไม้ดอกก็จะเป็น ไลเซนทัส มีปลูกที่นี่ที่เดียวและที่ส่งเสริมทำรายได้ดีอีกอย่าง คือ การเพาะเห็ด มีทั้งเห็ดปุยฝ้ายเห็ดพอร์ตโตเบลโล ซึ่งเป็นเป้าหมายของเราในทริปนี้

เห็ดปุยฝ้าย หรือเห็ดหัวลิง หรือเห็ดยามาบุชิตาเกะ
(Lion’s Mane, Hedgehog Mushroom)
ระหว่างคุยกันฝนตกลงมา คุณนุ่มเลยพาพวกเราเข้าเรือนเพาะเห็ดเพราะอยู่ใกล้ที่สุดได้พบกับ อ.อ้วน (สมาน สุปินนะ) นักวิชาการเห็ดกับกลุ่มยุวเกษตรกรกำลังขนก้อนเห็ดที่เพาะเชื้อแล้วเข้าไปในโรงบ่ม กลุ่มยุวเกษตรกรก็คือกลุ่มที่ทางศูนย์ฯ ขุนวางตั้งขึ้น เพื่อให้เด็กที่เรียนจบแล้วสนใจมาศึกษาร่วมกับระบบงานโครงการหลวง เด็กส่วนใหญ่จะเป็นคนในพื้นที่ พ่อแม่เป็นเกษตรกรภายในศูนย์ฯ อยู่แล้ว จะมีการเปิดรับให้เรียนรู้เป็นรุ่นๆ ไป รุ่นนี้เป็นรุ่นแรก มีทั้งหมด 30 คน แบ่งออกไปตามความสนใจ ให้เรียนรู้จนกลายเป็นเกษตรกรที่ดีในอนาคต ไม่มีการจำกัดระยะเวลา เรารู้สึกว่านี่เป็นโครงการสานต่อที่พ่อทำไว้ ได้ดีมากๆ เลย

ที่โรงเรือนนี้เป็นที่อัด “ก้อนเพาะเห็ดปุยฝ้าย” และนึ่งฆ่าเชื้อพร้อมหยอดเชื้อเห็ด เด็กๆ กำลังช่วยกันขนก้อนเพาะเห็ดที่เสร็จเรียบร้อยแล้วขึ้นรถเพื่อจะนำเข้า “โรงบ่ม” เพราะอากาศที่นี่ชื้น เวลาหนาวก็หนาวจัดจึงต้องมีโรงบ่ม ซึ่งมีการควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ประมาณ 25-30 ํC

เห็ดปุยฝ้าย จะต้องใช้เวลาในการบ่มประมาณ 2 เดือนกว่าๆ การบ่มคือการทำให้ “เชื้อเดินเต็มก้อน” ถ้าเชื้อเดินเต็มก้อนเรียบร้อยจึงจะย้ายไปที่ “โรงเปิดดอก”

ที่โรงเปิดดอก มี “ก้อนเพาะเห็ด” ที่มีเส้นใย (เชื้อ) เดินเต็มก้อนแล้ววางเรียงซ้อนกันในช่องที่เตรียมเอาไว้ โดยหันปากถุงไปทางเดียวกับด้านที่เข้าไปเก็บดอกได้สะดวก คนเพาะจะต้องพ่นน้ำเป็นฝอยๆ ทุกวันวันละ 1-2 ครั้ง มีการติดตั้งระบบอีแวป ( EVAP) คือ ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ซึ่งของที่นี่จะเป็นอีแวปแบบ 2 in 1 คือ ตัวดูดอากาศกับตัวให้ความเย็นอยู่ในตัวเดียวกัน ซึ่งถือเป็นโรงเรือนต้นแบบ

ปกติเห็ดนั้นถ้าปล่อยให้ขึ้นเองตามธรรมชาติ ฤดูที่เหมาะสม คือฤดูฝน มันก็ออกดอก แต่เมื่อได้พัฒนานำระบบอีแวปมาใช้ตอนนี้เห็ดที่นี่ก็เลยออกดอกได้ทั้งปี เกษตรกรก็มีรายได้มากขึ้น

เราได้พบกับพี่วรรณ (รัชณีวรรณ วงศ์ชยางกูล) เกษตรกรที่เช่าโรงเรือนที่นี่เพาะเห็ด พี่วรรณเริ่มทำก้อนเห็ดตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม
ผลผลิตเริ่มออกเดือนกรกฎาคม เก็บเกี่ยวยาวไปจนถึงธันวาคม ถ้าดูแลดีๆ สามารถเก็บได้เป็นปี เห็ดที่โตเต็มที่แล้วพอเก็บดอกไปอีกประมาณ1 อาทิตย์ดอกใหม่ก็จะออกมาอีก ออกแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าเชื้อเห็ดที่มีจะหมด ก่อนที่จะออกดอกใหม่จะต้องมาแต่ง แคะเศษต่างๆ ที่เหลืออยู่ออก ทำความสะอาด ถ้าบริเวณนั้นเป็นสีน้ำตาล แสดงว่ามันเป็นโรคจะเอาแอลกอล์ฮอลมาเช็ดเพื่อฆ่าเชื้อแล้วดอกจึงจะออก

เห็ดปุยฝ้ายนี้มีเชื้อสายมาจากประเทศจีน มันจะใหญ่ได้ถึง 30 เซนติเมตร แล้วพอแก่จะกลายเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ ขนฝอยๆ ของมันห้อยลงมาทำให้ดูคล้ายหัวลิง ก็เลยมีอีกชื่อว่า “เห็ดหัวลิง”

แล้วดูเหมือนเห็ดนี้จะมีคุณค่าทางโภชนาการมากเลยแหละในประเทศจีนเขาเอามาต้ม ผัด แกง ทอด เป็นเมนูสุขภาพชั้นดี
ได้ชื่อว่าเป็น 1 ใน 4 อาหารชั้นเลิศของประเทศจีนเลย

เห็ดพอร์ตโตเบลโล (Portobello Mushroom)
เห็ดพอร์ตโตเบลโล หรือเห็ดกระดุมสีน้ำตาล เป็นเห็ดที่เพาะเลี้ยงในที่ที่มีอากาศหนาวอุณหภูมิประมาณ 20-25 ํC มีลักษณะดอกเห็ดสีน้ำตาล ขนาดดอก 2-6 นิ้ว ให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี เพราะอยู่ ในห้องควบคุมอุณหภูมิ การเพาะเห็ดพอร์ตโตเบลโลจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่าเห็ดปุยฝ้าย เกษตรกรที่สนใจจะต้องเข้ามาทำที่โรงเพาะของศูนย์ฯ ขุนวางเท่านั้น เพราะต้องลงทุนสูงถ้าผิดพลาดมาจะไม่คุ้ม เห็ดชนิดนี้ต้องเพาะในที่มืด ใช้เพียงฟางข้าวและดินสำหรับกลบหน้านิดหน่อย ดินที่ใช้จะต้องผ่านการฆ่าเชื้อและปรับค่า pH ให้อยู่ที่ 7-14 การใช้ดินกลบก็เพื่อให้รูปร่างของเห็ดจะออกมาแน่นอน มิฉะนั้นก้านมันจะใหญ่ ดอกจะเล็กนิดเดียว

ได้ความรู้พอประมาณ ได้ภาพจนพอใจพวกเราก็ออกจากโรงเห็ดใกล้เที่ยงแล้วเลยแวะทานอาหารที่ทุกอย่างประกอบด้วยเห็ด ภายในศูนย์ฯ ขุนวาง อาหารทุกอย่างหน้าตาน่าทานรสชาติอร่อย แถมวิวยังดี มองออกไปเห็น “น้ำตกผาดำ” ไกลๆถ้าเวลาเหลือจะแวะไปดู


ดอกไลเซนทัส (Lisianthus)
ทานข้าวเสร็จคุณนุ่มพาไปพบกับ อาจารย์กร (นิกร บัวปอน)นักวิชาการส่งเสริมไม้ดอก อาจารย์กร พาไปดูการปลูก ดอก
ไลเซนทัส ต้นมีลักษณะคล้ายถั่วลันเตา ดอกคล้ายกุหลาบแต่จะออกเป็นช่อดอก ไม่ใช่ดอกเดี่ยวเหมือนดอกกุหลาบ มีทั้งหมด 7- 8 สี แต่ที่ศูนย์ฯ ขุนวาง ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพียง 3 สี คือ สีขาว สีเหลืองสีชมพู ดอกไม้ชนิดนี้ชอบอากาศเย็น อุณหภูมิประมาณ 18-25 ํC ปลูกได้ตลอดปี เป็นพืชที่ต้องการแสงมาก จึงต้องเปิดไฟให้มันวันละ4 ชั่วโมง เพื่อให้ก้านมันยืดยาว การปลูกต้องใช้เวลานานหน่อย ใช้เวลาเพาะเมล็ด 2 เดือน (ทางศูนย์ฯ เป็นคนเพาะ) แล้วเอาลงแปลงประมาณ4 เดือนถึงจะเก็บดอกได้ ถ้าเป็นพันธุ์หนักใช้เวลาปลูกประมาณ 5 เดือนทางศูนย์ฯ จะพยายามส่งเสริมให้ปลูกพันธุ์เบา เพื่อจะได้ตัดดอกเร็วๆดอกไลเซนทัสนี้กลีบจะบางๆ ดูอ่อนนุ่ม แต่ไม่ช้ำง่าย อยู่ได้นาน ถ้าตัดดอกขายจะอยู่ได้ประมาณ 2 อาทิตย์

พันธุ์เบา หมายถึง พันธุ์ที่ดอกจะออกเร็ว ต้นจะเล็กกว่าพันธุ์หนักดอกจะบานช้า ต้นสูงใหญ่ เราสามารถดูได้ว่าพันธ์ุหนักหรือเบาจากหมายเลขที่กำกับไว้ พันธุ์เบาจะเป็นเลข 2 ห้อยท้าย ถ้าเลข3 ห้อยท้ายจะเป็นพันธุ์หนัก

โรงเรือนนี้เป็นโรงเรือนที่ศูนย์ฯ ขุนวาง เปิดให้เกษตรกรมาเช่า ตอนนี้มีประมาณ 10 กว่าราย ปลูกไลเซนทัส 5 ราย บางรายก็ปลูกแบบกระถางแบบกระถางถ้าตัดครั้งหนึ่งสามารถเลี้ยงต้นให้เป็นรุ่นที่ 2 ได้ เวลาเกษตรกรนำมาขายคืนให้ทางศูนย์ฯ จะได้กำละ 150 บาท กำหนึ่งมี10 ก้าน ความยาวประมาณ 70 ซม.ดอกไลเซนทัส ทางศูนย์ฯ ขุนวาง เพิ่งเริ่มส่งเสริมได้แค่ปีเดียว ทำวิจัยอยู่ 3 ปี มีปลูกที่ขุนวางที่แรกและที่เดียว

ออกจากสวนดอกไม้เราก็ไปที่แปลงเกษตรของชาวบ้าน อยู่ข้างนอกศูนย์ฯ ขุนวาง พี่อาหลู่ (อดิชัย ศรีลิมปนนท์) นักวิชาการไม้ผล
เป็นคนพาเราไป ออกมาไม่ไกลนักพี่อาหลู่จอดรถไว้ริมถนน เราจะต้องเดินเข้าไปในแปลงอีกพอสมควร พอไปถึงที่แปลงเกษตรได้พบกับพี่บุญลือ แซเหล – พี่เต้า แซงยะ สองสามีภรรยาและลูกเล็กๆ อีก3 คน ทั้ง 2 คนพาเราไปที่แปลงของต้นเปปปิโน

เปปปีโน
“เปปปีโน” เมื่อตอนได้ยินชื่อก็รู้สึกไม่คุ้นเคย ยิ่งได้มาเห็นผลดูเหมือนมะเขือยักษ์ ยังนึกไม่ออกว่ารสชาติจะเป็นผลไม้ได้อย่างไร เขาบอกว่ารสคล้ายๆ แคนตาลูป กำลังเริ่มส่งเสริมและเปิดตัวปีนี้ คนเริ่มรู้จักและชอบกันมากขึ้นเรื่อยๆพี่อาหลู่บอกว่า ชาวบ้านที่นี่รู้จักกันมานานแล้ว เขาเรียกกันว่ามะเขือหวาน เป็นพืชตระกูลเดียวกับมะเขือ ตระกูลแตง ต้นจะเหมือนมะเขือ แต่กลิ่นจะเหมือนแตงเมล่อน เปปปิโนมีปลูกแถวนี้มานานแล้วเห็นว่ามาจาก UN เอามาให้ชาวบ้านทดลองปลูกกัน แต่ไม่ค่อยมีใครชอบทานก็ปลูกๆ กันไปตามมีตามเกิด ผลผลิตก็เป็นลูกเล็กๆ เก็บขายให้นักท่องเที่ยวบ้างตามข้างถนน เมื่อ 2-3 เดือนก่อนนี้เอง พี่บุญลือเก็บมาให้อาจารย์ลองชิม เพื่อขอให้ทางโครงการหลวงช่วยส่งเสริมอาจารย์เลยส่งเสริมให้ปลูก ตอนนี้ยังมีแค่พี่บุญลือนี่แหละที่ปลูก ปลูกกัน
ไปทดลองกันไป ผลผลิตก็เริ่มโตขึ้น ถ้าดูแลดีๆ ผลแก่จัดจะหวานหอม

วิธีการปลูกก็ง่ายๆ เอายอดต้นเดิมที่ปลูกตามมีตามเกิดมาชำแล้วนำไปปักลงดิน ถ้าความชื้นดีประมาณ 1-2 อาทิตย์ มันจะออกราก แล้วเอามาปลูกใส่ในถุง หลังจากนั้น 3 เดือนจะได้ผลผลิต หนึ่งต้นจะออกผลเป็นพวงมีหลายลูก แต่ต้องตัดออกให้เหลือลูกเดียว ถ้าไม่ตัดลูกจะไม่โตต้นที่เราเห็นมีอายุ 5 เดือน

ยังไม่ทันได้ชิมรสเปปปิโนว่าจะเหมือนแคนตาลูปจริงไหม เมฆก้อนดำๆ ก็มุ่งหน้ามาทางเราอีกแล้วเลยรีบกลับ แต่วิ่งมายังไม่ถึงรถฝนก็ตกลงมาหนักมาก โชคดีที่นุ่มคงเข้าใจฝนบนเขานี้ดี เตรียมร่มมาเผื่อพวกเราด้วย แต่ถึงอย่างนั้นเรา 3 คน ร่ม 1 คัน ก็ยังเปียกไม่เป็นท่ากันถ้วนหน้ากลับมาถึงศูนย์ฯ ประมาณ 4 โมงเย็น ฝนไม่มีทีท่าว่าจะเบาบางลงเลย จึงตัดสินใจกันว่าวันนี้พอแค่นี้ก่อนแล้วกัน

7 ตุลาคม 2560
เช้านี้เรานัดกัน 8 โมง ฝนเพิ่งหยุดตก วันนี้ พี่เดี่ยว (ทวีโชต อินปัญญา) นักวิชาการผัก จะพาเราไปที่สวนของชาวบ้าน ที่แรกที่ไปคือ โรงงานชาที่ขุนแม่วาก ระหว่างทางอากาศดีมาก พวกเราดีใจวันนี้ฟ้าสวยแจ่มใส แดดออกตลอดทาง แต่พี่เดี่ยวบอกยิ้มๆ ว่า…อย่าได้ไว้ใจเช้าเมื่อวานก็เป็นแบบนี้แหละ…แล้วก็เป็นแบบนั้นจริงๆ เพียงไม่นานเราก็พบกับบรรยากาศมืดครึ้มด้วยหมอกหนาจนมองไม่เห็นท้องฟ้าอีกต่อไป

ไร่ชาและโรงงานชา
ถึงโรงผลิตชา มีเจ้าหน้าที่รอชงชาต้อนรับอยู่หน้าโรงงาน ชื่อพี่ดี(นราธิป จันทร์ไตร ) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมชาจีน พี่ดีไม่รอช้ารีบชงชา
เพื่อต้อนรับพวกเรา ได้จิบชาอุ่นๆ ท่ามกลางหมอกหนาๆ มองไปข้างหน้าเป็นไร่ชา แหม…บรรยากาศมันได้จริงๆ ชิมชาไปพี่ดีก็เล่ากรรมวิธีในการผลิตชาอู่หลงให้เราฟังไปด้วย

ชาที่นี่จะเริ่มเก็บตอน 8 โมงเช้า ที่ไม่เก็บตอนเช้ามากๆ เพราะมีเรื่องของน้ำค้างแข็ง ถ้าสายหน่อยใบจะแห้ง แห้งแล้วจะดีกว่า

เสร็จแล้วก็เอามาผึ่งเพื่อให้ได้รับแสงแดดอ่อนๆ ใต้สแลน แดดจะเป็นตัวที่ทำให้ชามีกลิ่นหอม จะคลายความฝาดความขม ใช้เวลาตากประมาณ 1 ชั่วโมง จนอ่อนตัว แต่ก็ต้องคอยพลิกให้ชาได้รับแสงแดดทุกใบแล้วไปผึ่งต่อในห้องแอร์ 8 ชั่วโมง แล้วเข้าเครื่องเขย่าเพื่อไล่กลิ่นเหม็นเขียว เอาชาใส่กระด้งแบนๆ หมักไว้ประมาณ 2-4 ชั่วโมง (หมักในความหมายของขั้นตอนนี้ก็คือทิ้งไว้เฉยๆ)

จากนั้นกลิ่นชาก็จะออกมาแล้วจึงนำไปคั่ว ประมาณ 7-8 นาที เพื่อหยุดการทำงานของชา ให้คงสี คงกลิ่น คงรสชาติไว้ประมาณนั้น เหมือนสตาฟไว้ ถ้าผ่านไปเกิน 2 ชั่วโมงแล้วไม่คั่วกลิ่นก็จะหายไป

คั่วแล้วนำมานวด นวดแล้วพักชา 4 ชั่วโมง แล้วเอามาทำให้เป็นเม็ดๆ เสร็จแล้วส่งไปศูนย์ฯ แม่เหียะแพคสูญญากาศเพื่อจำหน่าย ถ้า
แพคสูญญากาศจะทำให้คงคุณภาพไว้ เก็บได้นาน 2-3 ปี

ชิมชาแล้วมีความรู้บ้างแล้ว ก็ลงไปแปลงชา เกษตรกรที่ปลูกชาของที่นี่ส่วนใหญ่จะเป็นคนรุ่นเก่าๆ เพราะการปลูกชาต้องใช้เวลานานเกษตรกรรุ่นใหม่จะหันไปปลูกพืชผักอย่างอื่น ที่ใช้เวลาแค่ 3-4 เดือนก็ได้ผลผลิต เจ้าของไร่ชาที่นี่เป็นชาวเขาเผ่าม้ง ชื่อ ลุงตือ-ป้าเย้ง แซ่ลี ทั้ง2 คน ปลูกชาที่นี่มานานกว่า 20 ปีแล้ว ส่งเข้าที่โครงการหลวงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น


หลังจากนั้นเราได้ไปดูไร่ชาอีกที่หนึ่ง ต้องขับเข้าไปลึกหน่อย แปลงนี้ถ้ามองจากด้านบนลงไปจะเห็นเป็นรูปหัวใจ ธรรมชาติโดยรอบสวยมากแต่น่าเสียดายที่ภูเขาด้านหลังที่เห็นกำลังจะเป็นเขาหัวโล้น ได้รู้ว่าชาวบ้านที่นี่กำลังถางป่าเพื่อปลูกสตรอว์เบอร์รี่ มีนายทุนเข้ามาสนับสนุนให้ปลูกสตรอว์เบอร์รี่ปลูกแล้วได้กำไรดี ชาวบ้านก็เลยหันไปปลูกกันมากมาย เห็นแล้วน่าตกใจเพราะตอนนี้เราเข้าใจแล้วว่าการทำพืชสวนนั้นต้องเข้าใจดินให้เพียงพอ ถ้าเราปลูกพืชชนิดใดชนิดเดียวไปนานๆ ดินก็เริ่มเสีย ปลูกไม่ได้ผลดีเหมือนตอนแรกก็ต้องย้ายหาที่ใหม่ต่อไปในที่สุดป่าและต้นน้ำลำธารของ “พ่อ” ก็คงหายไปหมด

เราต้องเรียนรู้ให้เข้าใจก่อนลงมือทำสิ่งใด และนี่คือหลักหรือหัวใจในการดำเนินงานของมูลนิธิโครงการหลวง ที่เราเริ่มเข้าใจ

ดอกยูโคมิส (Eucomis, Pineapple Lily)
แปลงถัดกันไม่ไกลนัก เป็นแปลงปลูก ดอกยูโคมีส พี่ซอดีพรศิริโสภา เจ้าของแปลงกำลังจะเก็บดอกไปส่งให้โครงการหลวงพอดี
ยูโคมิสเป็นไม้ดอกประเภทหัวที่สามารถผลิตเป็นไม้ตัดดอก และทำไม้กระถางได้เพราะมีอายุการใช้งานนาน ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ดอกจะออกเพียงปีละครั้ง ถ้าดอกหมดแล้วต้องขุดหัวพันธุ์มาเข้าห้องเย็นอุณหภูมิ 2 ํC แล้วนำกลับมาปลูกใหม่ได้อีก เวลาจะเก็บดอกต้องดูว่าดอกบาน 50 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปจึงจะเก็บได้ โครงการหลวงรับซื้อดอกคืนในราคาช่อละ 40 บาท ถ้าเกรดไม่ค่อยดีก็ 25 บาท ศูนย์ฯ ขุนวางเริ่มส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกมาได้ 3 ปีแล้ว

ผักกาดหัวญี่ปุ่น
เราไปต่อกันที่ แปลงผักกาดหัวญี่ปุ่น มันก็คือหัวไชเท้าที่เรารู้จักกันดีนี่แหละ แต่เป็นพันธุ์มาจากญี่ปุ่น จะเป็นแบบไหล่เขียว คือ ข้างบนเป็นสีเขียวแล้วไล่ไปเป็นสีขาว เจ้าของสวนเป็นชาวปากาเกอญอ ชื่อดิเรก เกียรติศิรินามชัย ดิเรกบอกว่าช่วงนี้มีปัญหาเรื่องถอนใหญ่“ถอนใหญ่” คือ ผลผลิตมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่ตลาดต้องการ ส่วนการปลูกจะใช้วิธีการหยอดเมล็ดลงหลุมทีละเมล็ด หลังจากหยอดแล้วประมาณ 45 วัน จะได้เก็บผลผลิต ผลผลิตที่ได้ส่งเข้าโครงการหลวงทั้งหมด ถ้าช่วงหน้าร้อนประมาณ 3 เดือน (มี.ค.-พ.ค.) ที่นี่จะพักแปลงเพราะน้ำน้อย ทำการเกษตรไม่ได้ก็จะเปลี่ยนไปรับจ้างแทน

ก่อนกลับแวะโรงเรือนสำหรับเพาะกล้าของศูนย์ฯ ขุนวาง กล้าทั้งหมดจะถูกเพาะที่นี่ เพราะอุณหภูมิเหมาะสม ข้างๆ โรงเพาะกล้ามี
แปลงทดลองข้าวพันธุ์ไก่ป่า เป็นพันธุ์ข้าวจ้าวพื้นเมืองของชาวเขา เม็ดจะอ้วนๆ พื้นที่ตรงนี้เป็นนาข้าวที่ศูนย์ฯ ขุนวางเช่าที่ชาวบ้าน แล้วให้ชาวบ้านมาเช่าที่เพื่อทดลองปลูกข้าวอีกที ปลูกไปด้วยทดลองไปด้วยสาธิตไปด้วย เพื่อให้เกษตรกรได้มาเรียนรู้

หลังจากคุยเรื่องข้าว ได้ซักพักแล้วฝนก็ตกลงมา ดูเหมือนทริปนี้เราหนีฝนไม่พ้นเลย แต่ความเข้าใจของเราก็ค่อยๆ เติมเต็มด้วยเรื่องราวรายละเอียดตรงนั้นนิดตรงนี้หน่อย ที่ค่อยๆ ปิดช่องว่างของความไม่เข้าใจ เราค่อยๆ เชื่อมต่อทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติของมูลนิธิโครงการหลวงเข้าด้วยกัน ด้วยความอบอุ่นจากน้ำใจของเจ้าหน้าที่ และลุงๆ ป้าๆสมาชิกเกษตรกรของศูนย์ฯ ทุกแห่ง ที่พยายามบอกเล่าให้เราได้ฟังจนเข้าใจมากขึ้น และเราก็พยายามจะจดจำทุกสิ่งที่ได้รู้ เพื่อนำไปเผยแผ่แก่ผู้ที่อาจยังไม่ค่อยเข้าใจการปฏิบัติงานของมูลนิธิโครงการหลวงเหมือนเราก่อนที่จะได้เข้ามา

ขอขอบคุณ…
คุณวัชระ พันธุ์ทอง หัวหน้าศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง
คุณสมาน สุปินนะ (อ.อ้วน) นักวิชาการเห็ด / หัวหน้าศูนย์ย่อยแม่วาก
คุณนิกร บัวปอน (อ.กร) นักวิชาการส่งเสริมไม้ดอก
คุณอดิชัย ศรีลิมปนนท์ (อาหลู่) นักวิชาการไม้ผล
คุณทวีโชต อินปัญญา (พี่เดี่ยว) นักวิชาการผัก
คุณนราธิป จันทร์ไตร (พี่ดี) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมชาจีน
คุณศิริลักษณ์ ลัทธิประสิทธิ์ (นุ่ม) เจ้าหน้าที่ธุรการ
คุณรัชนีวรรณ วงศ์ชยางกูล เจ้าของโรงเรือนเห็ดปุยฝ้าย
นางเต้า แซงยะ / นายบุญลือ แซเหล เจ้าของสวนเปปปิโน
คุณดิเรก เกียรติศิรินามชัย เจ้าของสวนผักกาดหัวญี่ปุ่น
คุณซอดี พรศิริโสภา เจ้าของสวนดอกยูโคมิส

เรื่องราวและภาพจาก…
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง
ที่อยู่ : บ้านขุนวาง หมู่ 12 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง
จังหวัดเชียงใหม่ 50330
โทรศัพท์ : 0 5331 8333, 08 8413 7243[:]

[:TH]สถานีเกษตรหลวง “อินทนนท์” (ดอกเยอบิร่า)[:]

[:TH]

สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ เป็นสถานีวิจัย 1 ใน 4 ของมูลนิธิโครงการหลวง ตั้งขึ้น พ.ศ. 2522 ตามพระราชประสงค์ของ พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เพื่อเป็นสถานีรวบรวมพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาว พืชผัก ผลไม้เมืองหนาว รวมถึงงานประมงพื้นที่สูงเพื่อการส่งออก ส่งเสริม พัฒนาอาชีพให้กับเกษตรกรชาวไทยภูเขา รวมทั้งเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้นวัตกรรมใหม่ จากงานวิจัยด้านการเกษตรอย่างยั่งยืนบนพื้นที่สูงไปสู่สังคมสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200 เมตร มีพื้นที่ดำเนินการประมาณ 513 ไร่ ให้การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ
11 หมู่บ้าน 33 หย่อมบ้าน ซึ่งประกอบไปด้วยชาวไทยภูเขาเผ่าม้งและปกาเกอะญอ

มีศูนย์ย่อย 4 หน่วย ได้แก่
– สถานีบ้านขุนกลางเน้นการส่งเสริมเรื่องผัก
– สถานีวิจัยขุนห้วยแห้ง วิจัยดอกไม้เมืองหนาว มีโรงเรือนคัดไม้ดอก
– หน่วยแม่ยะน้อย ส่งเสริมเรื่องการปลูกกาแฟ
– หน่วยผาตั้ง ส่งเสริมเรื่องปศุสัตว์

11 ตุลาคม 2560
ออกเดินทางเวลา 07.30 น. ฝนตกหนักตั้งแต่เมื่อคืน เช้านี้ท้องฟ้าก็ยังมืดครึ้ม ยิ่งใกล้ดอยเท่าไหร่ก็ยิ่งมืดมิด วันนี้เราจะไปสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์แต่มองหาดอยไม่เจอเลย ความหวังในการเดินทางดูริบหรี่ระหว่างทางขึ้นเลยด่านตรวจไปนิดหนึ่ง สิ่งที่เราเห็นยิ่งทำให้ตกใจ น้ำตกที่เคยเห็นระหว่างทางจากที่เคยใสกลับกลายเป็นน้ำสีแดงขุ่นและไหลเชี่ยวรุนแรงแบบไม่เคยเห็นมาก่อน ขึ้นไปเรื่อยๆ สองข้างทางที่เป็นเขาจะมีน้ำไหลมาเหมือนน้ำตกระหว่างโขดหินในทุกๆ ที่ เราเริ่มกังวลว่าเราจะต้องเจอกับน้ำป่าอย่างที่เห็นในข่าวกับเขาหรือเปล่า

แต่ในที่สุดเวลา 9.30 น. พวกเราก็มาถึงสถานีฯ อินทนนท์ คุณแซนดี้ (กัญญาณี อภิวงค์) เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ นัดไว้ที่สโมสร คุณแซนดี้เป็นสาวน้อยอารมณ์ดีคุยไปหัวเราะไป บอกว่าที่นี่เป็นสถานีวิจัยที่เน้นในหลายๆ ด้าน ทั้งงานวิจัย งานส่งเสริม และการท่องเที่ยวด้วย โดยงานวิจัยและส่งเสริมจะเน้นที่ ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ถุงไม้กระถาง และไม้ผล ส่วนการท่องเที่ยวนั้น จะเน้นให้นักท่องเที่ยวที่มาได้ชื่นชมพันธุ์ไม้สวยงามต่างๆ และยังเป็นศูนย์เรียนรู้อีกด้วย

โรงเรือนจัดแสดงพันธุ์ไม้
ที่แรกที่ไป คือ โรงเรือนจัดแสดงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับซึ่งไม่ค่อยทนต่อสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ภายในโรงเรือนแห่งนี้จัดตกแต่งด้วยไม้ดอกเมืองหนาวนานาชนิด ด้านหน้าสุดเป็นดอกบิโกเนียสีแดงสด เป็นไม้อวบน้ำ เดินเข้าไปด้านในได้เจอกับ รองเท้านารีอินทนนท์ เป็นพันธุ์ไม้ที่พบครั้งแรกแถวกิ่วแม่ปานนี่เอง ทางสถานีฯ อินทนนท์จึงนำมาขยายพันธุ์ แล้วนำคืนสู่ธรรมชาติถือเป็นพันธุ์ไม้หายากและใกล้สูญพันธุ์ จึงต้องมีการอนุรักษ์ไว้

บริเวณกลางสวนจะมีดอกกุหลาบหลากสี ด้านหลังมีดอกไฮเดรนเยียสีหวานๆ แถมยังดอกใหญ่มากด้วยไฮเดรนเยียนี้เป็นพันธุ์ของประเทศญี่ปุ่นมีหลายสี เปลี่ยนสีไปตามสภาพความเป็นกรดและด่างของดิน และธาตุอาหารที่ได้รับ เดินวนกลับมาเจอกับดอกไม้เล็กๆ หลากหลายสีน่ารักดี ลักษณะเหมือนโคมไฟ มีชื่อว่าโคมญี่ปุ่นหรือตุ้มหูนางฟ้า บริเวณก่อนทางออกมีดอกกล้วยไม้ตระกูลแวนด้าทั้งสีขาวและม่วงเยอะแยะไปหมด จะว่าไปเราก็พอเคยเห็นเกือบทั้งหมด แต่ที่แตกต่างกว่าที่อื่นก็ตรงที่แต่ละชนิดจะมีสีสันที่แปลกและสะดุดตา ทำให้ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้พันธุ์ไม้ประดับตกแต่งที่น่าสนใจทีเดียว

โรงเรือนรวบรวมและจัดแสดงเฟิร์น
ในที่สุดฝนก็ตกลงมา พวกเราฝ่าสายฝนไปต่อกันที่โรงเรือนรวบรวมและจัดแสดงเฟิร์นของไทยและต่างประเทศกว่า 50 สกุล 200
กว่าสายพันธุ์ มีทั้งเฟิร์นที่หายาก และใกล้สูญพันธุ์ นอกจากนี้ยังมี เฟิร์นรัศมีโชติ คือ เฟิร์นลูกผสมพันธุ์ใหม่ของประเทศไทย ที่เกิดจากการทดลองผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างกูดดอยนิวคาลิโดเนียกับกูดดอยบราซิล ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ก้านใบจะมีขนสีดำปกคลุมทำให้ดูเก่าแก่คล้ายเฟิร์นโบราณ และยังได้รับพระราชทานนามอันเป็นมงคลจากในหลวง รัชกาลที่ ๑๐ ตามพระนามของพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ เวลาเข้ามาในโรงเรือนนี้จะมีความรู้สึกเหมือนกำลังเดินอยู่ในยุคดึกดำบรรพ์แบบจูราสิคพาร์คที่เต็มไปด้วยต้นไม้เขียวๆ ชื้นๆ และหน้าตาแปลกๆ

บ้านไม้หลังเล็กๆ ชั้นเดียว ตั้งอยู่บนเนินเขาด้านหน้าสโมสร บ้านหลังนี้มีชื่อว่า “บ้านหม่อมเจ้า” คือบ้านทรงงาน ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ เมื่อทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรและชาวโครงการหลวงอินทนนท์ ในปี 2532 และปี 2534 พระองค์ทรงใช้บ้านหลังนี้เป็นที่ประทับทรงงาน นอกจากนี้ยังเป็นที่ใช้ทรงงานของพระบรมวงศานุวงค์อีกด้วย ปัจจุบันเป็นที่ทำงานของหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธาน มูลนิธิโครงการหลวง

โรงคัดบรรจุดอกไม้
ช่วงบ่ายคุณแซนดี้พาออกไปข้างนอกสถานีฯ อินทนนท์ เพื่อไปที่สถานีวิจัยขุนห้วยแห้ง ดูการวิจัยไม้ดอกเมืองหนาว และโรงคัดบรรจุดอกไม้ที่นั่น ฝนตกลงมาหนักมาก ต้องรีบวิ่งเข้าไปด้านใน ได้พบคุณบี(ฟองจันทร์ รุกข์อนุรักษ์) เจ้าหน้าที่คัดบรรจุ วันนี้ฝนตกเลยยังไม่มีเกษตรกรมาส่งดอกไม้ ระหว่างรอคอยดอกไม้เราก็ได้รู้จัก “ดอกบูวาร์เดีย” มีลักษณะคล้ายดอกเข็ม เป็นดอกเล็กๆ มีสีชมพูและสีขาวยังอยู่ในช่วงปลูกทดลองยังไม่ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก เขากำลังเตรียมแพคส่งศูนย์ใหญ่

ด้านในอีกห้องหนึ่งกำลังคัดแยกดอกกุหลาบ กุหลาบที่นี่ดอกใหญ่และสีสันแปลกตา เป็นพันธุ์มาจากฮอลแลนด์ นำมาวิจัยและทดสอบตลาด และทดสอบอายุการปักแจกัน จึงจะส่งเสริมต่อให้ชาวบ้าน อายุการปักแจกัน ถ้าบนดอยอยู่ที่ 3 สัปดาห์ ข้างล่างอยู่ที่ 1-2 สัปดาห์

ขั้นตอนการเก็บกุหลาบ จะตัดดอกวันละ 2 ครั้ง เช้า บ่าย ตัดแล้วจะนำมาแช่สารละลายกรดซิตริกทันทีเพื่อป้องกันดอกเหี่ยว ใช้เวลาแช่1-2 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำมาส่งที่โรงคัดเพื่อคัดเกรด แล้วนำมาเข้ากำกำละ 10 ดอก ห่อดอกด้วยกระดาษลูกฟูก (เพื่อกันดอกช้ำ) หลังจากนั้นนำมาแช่สารละลายเกล็็ดเงินไธโอซัลเฟตประมาณ 2-4 ชั่วโมงเพื่อยืดอายุการปักแจกัน แล้วนำไปบรรจุใส่กล่องเก็บในห้องเย็นอุณหภูมิ 2-5 ํC มีการส่งเสริมให้ปลูกมากที่สุดที่บ้านผาหมอน

ฝนซาแล้ว เริ่มมีเกษตรกรมาส่งดอกเยอบีร่า เยอบีร่านี้ ได้พันธุ์มาจากฮอลแลนด์เช่นเดียวกับกุหลาบ นำมาวิจัยเรื่องผลผลิตว่าออกดอกดีไหมตลาดต้องการไหม อายุปักแจกันต้อง 1 สัปดาห์ขึ้นไป ทางศูนย์มีทั้งหมด14 สายพันธุ์ 14 สี เวลาขายให้เกษตรกรจะขายเป็นแบบต้นกล้าปลูกต่ออีก 2-3 เดือน ก็ได้ผลผลิต แต่ละฤดูสีของดอกก็ไม่เหมือนกันเวลาเอามาส่งที่ห้องคัดต้องเอามาเป่าลม ให้หน้าดอกแห้งก่อนที่จะแพคไม่มีการแช่น้ำยาที่โคนดอกเหมือนกุหลาบ

การบรรจุหีบห่อแต่ละดอกจะห่อด้วยพลาสติกใสแล้วมัดเป็นกำ กำละ10 ดอก ตัดปลายก้านออกเล็กน้อยเพื่อให้ก้านดอกดูดน้ำได้ดี แช่ดอกเยอบีร่าในสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรด์ใช้เวลา 4-6 ชั่วโมง แล้วแช่ในน้ำสะอาดเก็บในห้องเย็นที่อุณหภูมิ 4 ํC นาน 1 คืน เพื่อรอการขนส่ง

ก่อนการขนส่งจะบรรจุดอกลงในกล่องกกระดาษโดยหันดอกไปทางด้านกว้างของกล่องทั้ง 2 ข้าง วางดอกเป็นชั้นๆ จนแน่นเต็มกล่องอย่าให้กล่องหลวมเพราะดอกจะช้ำระหว่างขนส่ง

เกษตรกรจะมาส่งดอกไม้ทุกวันจันทร์ พุธ และเสาร์ ถ้าช่วงไหนดอกเยอะก็จะรับทุกวัน เมื่อเกษตรกรมาส่งทางสถานีฯ จะทำการแพค
และส่งต่อไปยังศูนย์ฯ ที่แม่เหียะ ไม่เกินตี 5 พอบ่ายๆ ก็ส่งต่อไปที่ กทม.


ประมงน้ำจืด
ขากลับได้แวะที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่ที่นี่ทดลองการเลี้ยงปลาสเตอร์เจียน และปลาเรนโบว์เทราต์ ที่สามารถให้ ไข่ปลาคาเวียร์ ได้ โดยปลาสเตอร์เจียนจะให้ไข่ปลาคาเวียร์สีดำ,ปลาเรนโบว์เทราต์ให้ไข่ปลาคาเวียร์สีแดง ไข่ปลาคาเวียร์ที่ขายมีราคาแพงถึงขีดละ 5,000 บาท การวิจัยปลาสเตอร์เจียนเริ่มขึ้นในปี 2550 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ได้พระราชทานเงิน 2 แสนบาท เพื่อซื้อไข่ปลาจำนวน 1 กิโลกรัมจากประเทศรัสเซียกรมประมงได้นำไข่มาฟักที่โรงฟักบนดอยอินทนนท์ ได้ลูกปลามาประมาณ9,000 ตัว จากนั้นได้ทดลองเลี้ยงเรื่อยมา เลี้ยงได้ประมาณ 8 ปี จึงได้ไข่ปลาคาเวียร์ และการวิจัยเพาะพันธุ์ได้สำเร็จในปี 2557 ตอนนี้สามารถเพาะพันธุ์ได้เองแล้ว ถือว่าเป็นแห่งเดียวในประเทศไทยที่สามารถเลี้ยงปลาสเตอร์เจียนได้เพราะต้องเลี้ยงในพื้นที่สูง น้ำที่ใช้เลี้ยงต้องเย็นมีอุณหภูมิไม่เกิน 20 ํC สำหรับที่นี่มีการผันน้ำจากน้ำตกสิริภูมิทำให้น้ำที่ไหลผ่านสะอาดและมีความเย็นตลอดเวลา

คุณแซนดี้บอกว่าช่วงนี้ใกล้ช่วงของการเปิดบ่อ ที่นี่เปิดบ่อปีละ 2ครั้ง หลังจากเอาปลาขึ้นจากบ่อจะไปน็อคด้วยน้ำแข็ง แล้วแช่เย็นไว้ส่วนใหญ่จะส่งให้ sizzler ปีละประมาณ 5,000 ตัว แต่น่าเสียดายวันที่เราไปฝนตกหนัก น้ำในบ่อขุ่นมากมองไม่เห็นปลาเลย ได้แต่เดินวนเวียนไปมารอบๆ และได้เห็นบ่อเลี้ยงปลาเรนโบว์เทราต์รุ่นแรกที่ได้ทดลองเลี้ยงที่นี่ สร้างตั้งแต่ปี 2516

นอกจากนี้ยังมี ซาลาแมนเดอร์อินทนนท์ พบที่ดอยอินทนนท์นี่เอง จะอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่สูง 1,200 – 2,000 เมตรเหนือระดับน้ำ
ทะเล จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองใกล้สูญพันธุ์ สัตว์ชนิดนี้ช่วยในการรักษาสมดุลของธรรมชาติ จึงทำให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่ได้ทำการศึกษาการเพาะพันธุ์และอนุบาลจนสำเร็จ ได้ลูกซาลาแมนเดอร์จำนวนมากเพื่อปล่อยคืนธรรมชาติเป็นประจำทุกปี

12 ตุลาคม 2560
ตื่นกันตั้งแต่ 6 โมงเช้า โชคดีที่อากาศสดใสไม่มีฝนตก หลังจากชื่นชมความงามตอนเช้าจากริมระเบียงหน้าบ้านพักของเราแล้วก็กลับขึ้นไปยังสถานีฯ อินทนนท์เพื่อจะไปดูเรื่องไม้ถุงไม้กระถาง

การผลิตไม้ดอกเป็นไม้กระถุงและไม้กระถาง
คุณแซนดี้พาเราเดินไปที่โรงผลิตไม้ถุงและไม้กระถาง มีอาจารย์ยุ (ยุวดี ด่านอนันต์) นักวิชาการไม้ดอก รอพวกเราอยู่ที่นั่น อาจารย์ยุเล่าว่า….ไม้ตัดดอกของที่นี่เริ่มจากการวิจัย ทดสอบสาธิต และส่งเสริม ที่สถานีวิจัยขุนห้วยแห้ง แรกๆ มีกุหลาบ เยอบีร่า หน้าวัว หลังๆ มามี จิปซอฟฟิลาลิลลี่ ตอนแรกปลูกเพื่อตกแต่งภายในสถานีฯ อินทนนท์ปีหนึ่งๆ ต้องใช้ไม้กระถาง 100,000 กว่าถุง พื้นที่ใน
สถานีฯ ไม่เพียงพอจึงส่งเสริมให้เกษตรกรที่บ้านผาหมอน(กะเหรี่ยง) และบ้านขุนกลางปลูก ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น พอเกษตรกรปลูกเยอะขึ้นๆ ก็ขยายการส่งให้กับภายนอก เช่น สวนราชพฤกษ์ ปีๆ หนึ่งจะส่งให้ประมาณ 60,000 ถุง ส่งเพียง 3 เดือน (พ.ย.-ม.ค.)ส่วนช่วงอื่นๆ ก็ปลูกเข้าสถานีฯ อินทนนท์ เพื่อส่งให้งานภูมิทัศน์ นอกจากนี้เกษตรกรก็หาตลาดเอง เช่นส่งตามรีสอร์ทต่างๆ จนปัจจุบันชาวบ้านที่บ้านผาหมอนปลูกกุหลาบมีรายได้ภายในหนึ่งครัวเรือนประมาณ 200,000 บาท/เดือน

การปลูก ทางสถานีจะสั่งซื้อเมล็ดมาจากประเทศอังกฤษ นำมาเพาะในถาดหลุมเล็กๆ ประมาณ1-2 เดือน พอเป็นต้นกล้าเกษตรกรก็ซื้อไปปลูกลงกระถาง

นอกจากนี้ภายในสถานีฯ อินทนนท์ ยังมีโรงเรือนสำหรับเป็นที่ทดสอบสาธิตและ
ให้เกษตรกรเข้ามาเรียนรู้อีกด้วย

พื้นที่แถบนี้มีความชื้นสูงถึง 70% ทำให้มีปัญหาเรื่องเชื้อรา ต้องให้หมอพืชมาดู ถ้าหมอพืชรักษาไม่ได้ก็จะส่งไปห้องแล็บที่แม่เหียะ ตอนปลูกแรกๆ ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคทั้งๆ ที่ปลูกกลางแจ้งเพราะดินอุดมสมบูรณ์ พอปลูกเยอะๆ ทำให้สารเคมีสะสมในดินหลังๆ มาจึงต้องใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์มาช่วย

การดูแลไม้ดอกต้องใช้ความละเอียด บางตัวชอบแสงรำไร บางตัวชอบแดดจัดบางตัวต้องเปิดไฟเพื่อให้ได้แสงนานขึ้นจึงจะออกดอก บางปีต้องเปิดสปอตไลท์ให้เพื่อปรับอุณหภูมิให้สูงขึ้น เพราะอากาศหนาวเกินไป ส่วนใหญ่จึงปลูกในโรงเรือนจะได้
ควบคุมได้ง่ายขึ้น ดินที่เอามาปลูกดอกไม้แต่ละชนิดอัตราส่วนก็ไม่เท่ากันช่วงเวลาที่ดอกสวยที่สุด คือ เดือนกุมภาพันธ์ ถึงแม้จะเป็นดอกไม้เมืองหนาวแต่ถ้าอากาศเย็นเกินไปจะเป็นเพียงแค่กระตุ้นให้ออกดอก แต่ดอกก็จะไม่ค่อยสวยการส่งไม้กระถางจะส่งด้วยลังสีม่วง ส่งช่วงเช้าไม่เกินตี 5 ส่งที่ศูนย์ฯ แม่เหียะและร้านโครงการหลวงที่ตลาดคำเที่ยง

***ช่วงที่เรามาเป็นช่วงเวลาที่ทางสถานีฯ อินทนนท์ ต้องจัดเตรียม ดอกเดเลีย เบญจมาศ
โซลิคเอสเตอร์ ทั้งหมด 3,000 กระถาง เพื่อไปตกแต่งพระเมรุมาศที่ท้องสนามหลวง


ขอขอบคุณ…
คุณยุวดี ด่านอนันต์ (อ.ยุ) นักวิชาการไม้ดอก
คุณฟองจันทร์ รุกข์อนุรักษ์ (พี่บี) เจ้าหน้าที่คัดบรรจุ
คุณกัญญาณี อภิวงค์ (แซนดี้) เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์

เรื่องราวและภาพ…
สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์
ที่อยู่ : บ้านขุนกลาง หมู่ 7 ตำบลบ้านหลวง
อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 50160
โทรศัพท์ : 0 5328 6777 – 8[:]

[:TH]สถานีวิจัยดอยปุย สวนสองแสน “พลับ”[:]

[:TH]
สวนสองแสน เป็นสวนที่ตั้งขึ้นเพื่อการวิจัยเป็น 1 ใน 3 แห่งของสถานีวิจัยดอยปุยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อันได้แก่ ดอยบวกห้าสวนสองแสน และไร่บุญรอด ดังนั้นเรื่องของสวนสองแสนคงต้องเริ่มต้นจากการก่อเกิดสถานีวิจัยดอยปุยนั่นเอง

เริ่มจากช่วงเวลาที่พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์สร้างแล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เริ่มแปร
พระราชฐานมาประทับที่พระตำหนักภูพิงค์ฯ ในช่วงฤดูหนาว และในช่วงเวลานั้น ศาสตราจารย์เทียม คมกฤส คณบดีคณะวนศาสตร์ได้ริเริ่มโครงการวิจัยเรื่อง “การจัดการต้นน้ำ” ขึ้น ณ ห้วยคอกม้า บริเวณดอยปุยจ.เชียงใหม่ และรัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำขึ้นโดยมีมติ แต่งตั้งให้ศาสตราจารย์เทียม คมกฤส เป็นประธานอนุกรรมการวิจัยการจัดการลุ่มน้ำแห่งชาติ ซึ่งพิจารณาแล้วว่า ควรหาวิธีหยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่าจากการทำไร่เลื่อนลอยและปลูกฝิ่นของชาวเขา ด้วยการเปลี่ยนเป็นปลูกไม้ผลยืนต้นแทน จึงมีงบประมาณการทำวิจัยเรื่อง “การปลูกไม้ผลบนพื้นที่สูง”โดยให้ศาสตราจารย์ปวิณ ปุณศรี แห่งภาควิชาพืชสวนและรองศาสตราจารย์อรรถ บุญนิธี แห่งภาควิชาพฤกษศาสตร์เป็นผู้รับผิดชอบ แต่เนื่องจากรัฐบาลไม่ให้ความสนใจโครงการวิจัยนี้นัก โครงการจึงเกือบล้มเลิกหลายครั้ง

ปี พ.ศ. 2511 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ได้ทรงทราบถึงความยากลำบากในการดำเนินงานวิจัยของ ม.เกษตรจึงได้พระราชทานความช่วยเหลือด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ทำให้โครงการวิจัยดำเนินต่อไปได้ด้วยดี

ในปี พ.ศ. 2512 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จฯเยี่ยมเยียนชาวไทยภูเขาตามหมู่บ้านบนเขาสูง พระองค์จึงมีพระราชดำริว่า“ถ้าจะให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่นและเลิกทำไร่เลื่อนลอย ต้องหาพืชอื่นที่ได้ราคาดี และ มีความเหมาะสมปลูกบนพื้นที่สูงมาให้ชาวเขาปลูกทดแทน” ในเบื้องต้นทรงมอบให้ ม.จ. ภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับสนองพระราชประสงค์ ท่านจึงชักชวน ม.ร.ว.ชวนิศนดากร วรวรรณแห่งภาควิชาสัตว์บาลมาร่วมงานด้วย และได้เลือกดอยอ่างขางเป็นสถานีวิจัยแรกของโครงการหลวง และได้รับพระราชทานชื่อว่า “สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง”

ในปี พ.ศ. 2513 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงทอดพระเนตรเห็นความลำบากแร้นแค้นของชาวเขา หลังจากทรงถามชาวบ้านว่าปลูกฝิ่นได้ไร่ละเท่าไร ขายท้อได้เท่าไร ชาวเขาตอบว่า ขายฝิ่นได้ไร่ละ 4,000 บาทเท่ากันกับท้อ พระองค์ทรงทราบว่ามีสถานีเกษตรของ ม.เกษตรมาตั้งอยู่ใกล้ๆ พระตำหนัก และมีการนำท้อลูกใหญ่มาทดลองปลูกโดยการเปลี่ยนยอด จึงมีพระราชดำรัสให้อาจารย์ไปแสดงวิธีการเปลี่ยนยอดท้อให้ชาวเขาดู

หลังจากนั้น ม.เกษตรจึงเริ่มทำการวิจัยไม้ผลเพื่อการเกษตรพื้นที่สูงให้กับโครงการหลวงด้วย ทำให้พื้นที่วิจัยไม่เพียงพอ พระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ จึงทรงพระราชทานเงินจำนวน 240,000 บาทให้ไปหาพื้นที่ขยายเพื่อทำการวิจัยเพิ่มขึ้น คณะกรรมการศึกษาต้นน้ำ จึงนำเสนอพื้นที่ของนายประชา เธียรประสิทธิ์ ซึ่งเคยขออนุมัติซื้อพื้นที่มาทำวิจัยต้นน้ำแต่ไม่ผ่านการอนุมัติ สถานีวิจัยดอยปุยของ ม.เกษตร จึงได้พื้นที่นี้เป็นสวนเพื่อการวิจัยพืชไม้เมืองหนาวเพิ่มขึ้นอีก 1 แปลง

จากนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ จะเสด็จไปที่สวนนี้พระองค์จะมีพระราชดำรัสว่า…ไปสวนสองแสนกัน….จึงนับว่าเป็นชื่ออันเป็นมงคลที่พระองค์พระราชทานให้ว่า “สวนสองแสน”

สิงหาคม 2552
พวกเรารู้จัก สวนสองแสน จากการไปพักที่ Size A ไร่กาแฟขุนช่างเคี่ยนของสถานีวิจัยเกษตรที่สูงเมื่อหลายปีก่อน ได้เห็นพลับที่แปลงกาแฟซึ่งเป็นพลับพันธุ์ฝาด กำลังถูกบ่มด้วยก๊าซคาร์บอนอยู่ แต่พลับแบบนี้ทานแล้วยางจะติดฟัน จากการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ทำให้รู้ว่าพลับแบบไม่ต้องบ่มก็มีนะ ที่ “สวนสองแสน” ที่เราผ่านมาแล้วนั่นเองเป็นฤดูกาลของพลับพอดี จึงได้มีโอกาสชิมพลับหวานกรอบพันธุ์ Fuyuแล้วยังได้รู้ว่าที่นี่เป็นแหล่งวิจัยพืชไม้เมืองหนาวมาตั้งแต่ต้น ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของโครงการหลวงเลยเชียว แต่ก็ยังไม่เข้าใจความเกี่ยวข้องของสวนสองแสน กับ ม.เกษตร และโครงการหลวงว่าเป็นอย่างไร แต่ที่สนใจเพราะได้ข้อมูลว่า พลับพันธุ์ Fuyu เห็นมีลูกเหลืองๆ น่ากิน ถูกห่อด้วยถุงพลาสติกอยู่นับร้อยต้นนั้น เป็นพลับวิจัยที่ยินดีรับผู้สนใจจองแบบเช่าเป็นเจ้าของ ปีต่อปี ระหว่างนั้นจะได้รับข้อมูลให้เราขึ้นไปรดน้ำพรวนดิน ใส่ปุ๋ย ห่อลูก แล้วก็เก็บเกี่ยวเป็นระยะ เป็นอะไรที่น่าสนใจมากๆ สำหรับการที่อยากเป็นเจ้าของสวนพลับแบบไม่ต้องรับผิดชอบเลย แต่ถ้าอยากดูแลก็ขึ้นมาตามเอกสารแจ้ง จะมีเจ้าหน้าที่มาสอนเราทุกขั้นตอนถ้าเราสนใจจะทำหรือเรียนรู้ ราคาเช่าต่อต้นต่อปี 1,500 บาท (ใครโชคดีบางปีต้นหนึ่งก็อาจมีลูกไม่ต่ำกว่า 200 ลูกเลยนะ)

หลังจากนั้นมาพวกเราก็ได้มีโอกาสขึ้นมาห่อพลับบ้างบางปี แต่ที่ขึ้นมาแน่ๆ คือมาเก็บเกี่ยวผลผลิต ทำให้เราได้มีโอกาสรู้จัก อาจารย์วิสิฐกิจ สมพร หัวหน้าสถานีวิจัยดอยปุย ในช่วงนั้น (ปัจจุบันท่านเกษียณแล้ว แต่ยังมาช่วยงานที่สถานีฯ อยู่ ในตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ทำให้เราได้รู้เรื่อง “พลับ” มาบ้างพอเล่าสู่กันฟังเท่าที่จดจำได้ว่า

พลับเป็นพืชเมืองหนาวที่มีต้นกำเนิดจากเมืองจีน แต่ไปโตที่ญี่ปุ่นและมีการพัฒนาเป็นไม้ผลเศรษฐกิจในประเทศญี่ปุ่น มีทั้งหมดกว่า 400 สายพันธุ์ แต่ถ้าแบ่งเป็นชนิดมีเพียง 2 ชนิด คือ ชนิดฝาด และชนิดหวาน

ปี พ.ศ. 2512 ม.เกษตร นำพลับพันธุ์ต่างๆ เข้ามาวิจัยร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวงที่สถานีวิจัยดอยปุย จนกระทั่งประสบผลสำเร็จเป็นบางพันธุ์ สามารถส่งเสริมการปลูกพลับเป็นการค้า

พลับมี 2 ประเภท
1) พลับฝาด (Astringent) มีรสฝาด เนื้อเป็นสีเหลือง ต้องนำพลับฝาดผ่านกระบวนการขจัดความฝาดก่อนจึงจะรับประทานได้ ความฝาดเกิดจากสารแทนนินที่อยู่ภายในลูกพลับ ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบที่ละลายน้ำได้ เมื่อพลับสุกเต็มที่ สารแทนนินจะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปที่ไม่ละลายน้ำทำให้เวลารับประทานแล้วไม่รู้สึกฝาด ดังนั้นการทานลูกพลับฝาดควรทานเมื่อพลับสุกเต็มที่หรือมีเนื้อนิ่ม พลับฝาดต้องนำไปผ่านกระบวนการขจัดความฝาดก่อน จึงจะรับประทานได้

2) พลับหวาน (Non-astringent) มีรสหวาน ผลใหญ่ เนื้อสีส้มอมเหลือง สามารถรับประทานสดได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการขจัดความฝาด เช่น พลับพันธุ์ Fuyu แต่พลับพันธุ์ Hyakume รสฝาด ถ้าดอกไม่ได้รับการผสมเกสรจะไม่เกิดเมล็ด เนื้อจะเป็นสีเหลือง หากได้รับการผสมเกสรจะมีเมล็ด 4-8 เมล็ด เนื้อจะเป็นสีน้ำตาล สามารถรับประทานได้ทันที รสชาติหวานกรอบฉ่ำน้ำกว่าพันธุ์ Fuyu นิดหน่อย

ปัจจุบันที่สวนสองแสนปลูกพลับหวานพันธุ์ Fuyu ในพื้นที่ราว 10 ไร่ แต่กว่าจะได้เป็นพลับหวาน ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องปลูกต้นตอพันธุ์ก่อนเป็นพันธุ์เต้าซื่อ หรือพลับพันธุ์ป่า ให้เป็นต้นพยุงและหาอาหารให้ต้นพลับ ต้นเต้าซื่อที่ว่านี้สามารถเข้ากับพลับฝาดได้ทุกสายพันธุ์ ยกเว้นพลับหวาน

ฉะนั้นจึงต้องใช้กรรมวิธีถึง 3 ขั้นตอน หรือต้องเสียบยอดถึง 2 ช่วง คือ ปลูกต้นเต้าซื่อก่อน แล้วเอาพันธุ์ฝาดมาต่อยอด จนพันธุ์ฝาดโตและแข็งแรง จึงนำพันธุ์หวานหรือพันธุ์ Fuyu เสียบกิ่งอีกที่ด้านบนสุด เท่ากับว่าต้องใช้ต้นพันธุ์ถึง 3 สายพันธุ์ และใช้เวลาเป็น 10 ปี กว่าจะได้พลับพันธุ์หวานที่ปลูกในบ้านเราได้

แต่ดูเหมือนพลับยังได้ผลไม่ค่อยคงที่นัก ในตลาดจึงยังไม่ค่อยมีใครรู้จัก ก็เลยทำให้การขึ้นไปเก็บพลับของผู้เช่าต้นทุกรายเป็นช่วงเวลาของครอบครัว แม้จะแค่ครึ่งวันใน 1 ปี แต่ก็เป็นช่วงเวลาอบอุ่นที่ครอบครัว และมิตรสหายได้มาปฏิบัติกิจกรรมเก็บพลับกันอย่างสนุกสนาน ช่วยกันทำความสะอาดพลับ ชั่งน้ำหนักแยกแต่ละต้นให้เจ้าหน้าที่บันทึกเป็นข้อมูลเพื่อการวิจัย จากนั้นทานอาหารที่เตรียมมาแล้วจบลงด้วยพลับหวานกรอบ ท่ามกลางความสดชื่นของอากาศบนดอยสูง พร้อมชมความงามของเทือกเขาที่ทอดยาวต่อเนื่องกันไปจนถึงดอยอินทนนท์โน่นเลย

สถานีวิจัยดอยปุย

แม้หนังสือเล่มนี้จะตั้งใจบอกเล่าเรื่องราวของมูลนิธิโครงการหลวง แต่เมื่อเริ่มทำความรู้จักมากขึ้น ก็ได้รู้ว่ามีหลายหน่วยงานที่เป็นกลไกสำคัญช่วยกันก่อร่างโครงการหลวงขึ้นมา ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ จนเป็นรูปร่างที่ชัดเจนเช่นวันนี้ และสถานีวิจัยดอยปุยก็คือหน่วยงานสำคัญมากๆ หน่วยงานหนึ่งที่ทำงานให้โครงการหลวงมาตลอด เราคงไม่สามารถบอกเล่าหรือสรุปเองได้จึงขอนำบทสัมภาษณ์ท่านอาจารย์ วิสิฐ กิจสมพร ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ม.เกษตรศาสตร์ ให้ท่านอ่านและทำความเข้าใจด้วยตัวเองดังนี้

อาจารย์เล่าว่า…ในยุคแรก ที่ศึกษาลิ้นจี่ ตอนกิ่งส่งขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปที่ อ.ฝาง อ.แม่สรวย เพื่อให้ปลูกทดแทนป่าไม้ และปกคลุมดินถือเป็นผลไม้เศรษฐีเพราะหากินยาก ชาวบ้านเรียกพันธุ์พระราชทาน และมีอีกพันธุ์ ชื่อพันธุ์หมอหม่อง ซึ่งไปเจอที่สถานีรถไฟ สรุปแล้วก็คือ พันธุ์ฮงฮวยนั่นเอง ในสมัยนั้นเริ่มทำวิจัยเรื่องสตรอว์เบอร์รี่ ทดสอบพันธุ์โดยกรมวิชาการเกษตร สั่งเข้ามาเป็นเบอร์ๆ พันธุ์ที่ปรับตัวได้ดีกับประเทศไทย คือเบอร์ 13, 16 และ 20 พระองค์ท่านได้พระราชทานพันธุ์สตรอว์เบอร์รี่ให้กับหมู่บ้านช่างเคี่ยนเป็นที่แรก เบอร์ 13 คือ สายพันธุ์เคมบริดจ์ เบอร์ 16 คือ ทาโอก้า เบอร์ 20 คือซีควอญ่า เมื่อปลูกไปนานๆ ปรากฎว่าเบอร์ 13
ไม่ค่อยดี เบอร์ 16 กับ 20 ดีกว่า และเบอร์ 20 อร่อยกว่าเบอร์ 16 ปลูกไป 20 ปี เป็นการผลิตไหล โดยสตรอว์เบอร์รี่ต้นแม่ต้องปลูกในที่หนาวเย็นมากๆ เมื่อปล่อยให้รากยาวออกมา ก็จะเกิดต้นลูกใหม่ ไหลออกมาเป็นเส้นๆ เส้นละประมาณ 10 ต้น เราก็จะตัดต้นลูกแบบ Bare Root คือตัดล้างรากให้ไม่มีดินติด แล้วมัดรวมกันเพื่อขนส่งทางเฮลิคอปเตอร์ได้สะดวก การปลูกสตรอว์เบอร์รี่มี 2 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ ครึ่งปีแรกจะปลูกแบบไหล ครึ่งปีหลังปลูกเอาผลแดงที่ข้างล่าง ในสมัยก่อนสามารถปลูกแบบไหลได้ถึง 200 ต้นลูก แต่สมัยนี้ได้ 30 ต้นลูกก็ถือว่าดีแล้ว ต้นแม่ปลูกไหลได้ 2 ฤดู ก็ควรกำจัดทิ้ง เพราะต้นจะอ่อนแอลงคนแรกที่บุกเบิกโครงการหลวงคือ ศาสตราจารย์ปวิณ ปุณศรีราวปี 2512 ในหลวงท่านก็ทรงตั้งสถานีวิจัยที่ดอยอ่างขางเป็นที่แรก ถัดมาเป็นที่ดอยอินทนนท์ และต่อมาที่ปางดะ ปางดะเป็นศูนย์ขยายพันธ์ุพืชส่งให้สถานี และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทั้งหมด

ถาม : ไม่ค่อยเข้าใจอยู่เรื่องหนึ่ง คือ เรื่องการทดลอง การวิจัยพอพูดแล้วจะนึกถึงภาพในห้องแล็บมีอะไรต่อมิอะไร แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่แบบนั้น ก็เลยนึกภาพไม่ออก การที่เรียกว่าวิจัย หรือทดลองขั้นตอนเป็นยังไงคะ
ตอบ : ตอนผมเรียนก็เหมือนกัน รู้สึกว่าการทำวิจัยต้องทำในห้องแล็บ ไม่เคยนึกว่าข้างนอกก็วิจัยได้ จริงๆ ทดลองวิจัยที่ไหนก็ได้ มันอยู่ที่ไอเดีย อยู่ที่แนวคิด และอยู่ที่การวางรูปแบบ ที่จะศึกษา ที่จะวิจัย

ถาม : อย่างการเอาสตรอว์เบอร์รี่มา พันธุ์อะไรก็ได้ มาปลูกที่ของเรา เราต้องวิจัยหรือพัฒนาให้อยู่ในสภาพพื้นที่ของเราให้ได้ ต้องทำยังไงคะ
ตอบ : โดยปกติมันมีแหล่งกำเนิดเหมือนคนเรา ที่มีสีผิวที่แตกต่างกันตามทวีปต่างๆ บนโลก ฉะนั้นเราต้องนำสตรอว์เบอร์รี่มาทดลองก่อนว่ามันปรับตัวได้ไหม คน สัตว์ สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้เร็วดีกว่าพืช พืชต้องใช้เวลาในการปรับตัว เพราะพืชไม่สามารถที่จะเดินไปกินน้ำเองได้ไม่เหมือนคน มีหลายอย่างหลายปัจจัยที่จะต้องให้มันปรับตัวดินไม่เหมือนที่บ้าน อากาศไม่เหมือนกันอีก ต้องรอเวลาในการปรับตัวนี่ก็เป็นการศึกษาวิจัย เรานำของต่างชาติมาปลูก ต้องทดลองในพื้นที่ของเรา มันก็จะปรับตัวได้ไม่ได้ก็จะรู้ผล เราก็ต้องมีนักวิจัย และนักวิชาการที่นั่งเฝ้าดูการเจริญเติบโตของมัน ผมยกตัวอย่างง่ายๆ เลย ก็คือ ขณะนี้เอาทิวลิปมาปลูกในเมืองไทย ทิวลิปจะออกดอกหลังจากมันอยู่ในหัวแล้วเหมือนต้นหัวหอมอยู่ในหัว เอาไปไหนก็ได้ เมืองไทยก็ฉวยโอกาสโดยนักพัฒนา นักวิชาการ หรือใครก็แล้วแต่ ไปเอาทิวลิปจากฮอลแลนด์มาปลูกที่เชียงราย ก็จับช่วงที่มันฟักตัวเรียบร้อย มันจะตื่น พอตื่นแล้วก็ออกดอกโดยกินอาหารในหัวเดิมที่เอามา


ถาม : ทำยังไงให้ดอกทิวลิปมีชีวิตต่อไปได้อีก
ตอบ : ไม่ มันออกมาแล้วคือได้ดอกแล้ว เราต้องสั่งมาเรื่อยๆเพราะสภาวะการที่นี่ไม่เหมาะสมกับดอกทิวลิปเหมือนที่บ้านมันอย่าง
แท้จริง ถ้าอยู่พื้นที่ของมัน มันก็จะออกหัวใหม่ของมันเอง

ถาม : ไม่เคยมีใครทดลองวิจัย
ตอบ : มีครับมี แต่มันยากเหมือนกับเอามะม่วงน้ำดอกไม้ไปปลูกที่อังกฤษ นักวิจัยฝั่งนู้นก็เหมือนเช่นเรา

ถาม : ถ้าจะทำจริงๆ เขาอาจมีกรรมวิธี
ตอบ : ใช่ มันต้องใช้ High Technology แล้ววิชาการขั้นสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็ไม่พ้นมือนักวิจัยและนักวิชาการ เช่น เราทำสภาวะต่างๆให้คล้ายต่างประเทศ มันก็ทำได้ แต่ต้องลงทุนสูง

ถาม : พืชผักที่ปลูกบ้านเราได้ เช่นสตรอว์เบอร์รี่ที่ไม่ใช่ของบ้านเรา แล้วนำมาทดลองปลูก จนกระทั่งสามารถอยู่ได้ พัฒนาการได้ยังไงคะ
ตอบ : มันปรับตัว พืชปรับตัวช้ากว่าคน แต่ก็สามารถปรับตัวได้เช่น พระราชทาน 3 เบอร์แรกมาเพาะเพื่อศึกษา มันก็อยู่ได้ ปรับตัวได้
ถึงอยู่มาได้เรื่อยๆ จนถึง 30 ปี แต่ก็ต้องเจอโรคหลายโรคสะสมอยู่เรื่อยสุดท้ายนักวิชาการมาสรุปว่า ศึกษาพันธ์ุใหม่ก็เอามาจากต่างประเทศบ้าง ก็เอามาผสมพันธ์ุ ให้ได้เมล็ด เพื่อนำเมล็ดมาทดลองใหม่ ซ้ำแล้วซ้ำอีก อยู่ 4-5 ปี แล้วแต่ เราก็จะได้พันธุ์ใหม่ซึ่งเกิดในเมืองไทย แสดงว่าพืชชนิดนี้ปรับตัวเข้าได้ดีแล้ว เช่น พันธ์ุพระราชทาน 70 พันธ์ุพระราชทาน50 พันธ์ุพระราชทาน 80 พันธ์ุที่เกิดในเมืองไทยจริงๆเลยที่ดอยปุย คือพันธ์ุพระราชทาน 60 พันธ์ุพระราชทาน 80


ถาม : เวลาเราเอาของจากต่างประเทศมา เราต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ให้เขาไหมคะ
ตอบ : เรื่องนี้เป็นความร่วมมือต่างประเทศบ้าง โดยเฉพาะไต้หวันเขาจะเอากิ่งพันธ์ุพวกนี้มาเปลี่ยนยอดต้นไม้พื้นเมืองของเรา เราศึกษาไปแล้วก็ใช้ไปเรื่อยๆ พืชบางชนิดที่ได้พันธ์ุมาศึกษาสำเร็จแล้ว บางทีเราก็จะใช้ชื่อเดิมของเขา

ถาม : หลังๆ ทางโครงการหลวงก็มีวิจัยของตัวเองด้วยแล้วทางสถานีวิจัยดอยปุยทำส่งให้ใครคะ
ตอบ : ทางเราแบ่ง 2 ส่วน ด้วยเป็นสถานีวิจัยราชการของ ม.เกษตรในฐานะที่เราตั้งสถานีวัตถุประสงค์ คือ เราต้องทำให้กับประชาชนโดยรอบรัศมีของสถานี ด้านบนฝั่งนี้ไม่มีโครงการหลวง เพราะมีทางสถานีเราดูแลอยู่ เราก็เรียกชาวบ้านมาอบรม เราได้ความรู้นี้มา เราก็ให้ไป ส่วนงานอีกส่วนหนึ่งก็คือ ถ้าเรามีวิจัย เช่น สตรอว์เบอร์รี่พันธุ์พระราชทาน 80เราก็ส่งเสริมให้โครงการหลวงต่อไป โครงการหลวงก็ไปส่งเสริมให้ชาวบ้านทุกวันนี้บนอ่างขางทั้งหมดก็จะปลูกพันธุ์นี้

ถาม : การที่เราจะเอาพืชผักผลไม้เมืองหนาวเข้ามาวิจัย หรือเอามาทดลองปลูก เราเอามาจากไหน
ตอบ : พระองค์ท่านไม่จำกัดนักวิจัยและนักวิชาการ มีไอเดียอะไรได้หมด ยุคแรกๆ เราศึกษาไม้ผลกันเยอะ แต่พวกอาจารย์พวกนัก
วิจัย พวกนักศึกษาที่ออกไปเรียนต่างประเทศ เรียนหลายสาขากลับมาอยากช่วย บางคนจบไม้ดอกมาก็ลองเอาไม้ดอกไปปลูกดู มันก็ช่วยได้ ก็หาเงินให้กับชาวบ้านได้ บางคนจบผักมา เห็นกะหล่ำปลีปลูกบนดอยได้ดีชาวบ้านก็อยากได้ ก็ลองส่งเสริมดู ถ้าปลูกได้ดีก็ขออนุมัติ ทำเรื่อง เพราะทุกคนที่จะขึ้นไป หน่วยงานต้องลงทะเบียนกับโครงการหลวงเป็นอาสาสมัคร จากนั้นก็ขอพื้นที่ก่อน มีความรู้อะไรก็เอามาทดลอง บางครั้งถ้าเป็นนักวิจัย เขาจะเขียนโครงงานวิจัยแล้วก็ยื่นเสนอเอกสารโครงร่างให้กับโครงการหลวง โครงการหลวงจะมีนักวิจัยพิจารณาว่าผ่านหรือไม่ เมื่อผ่านแล้ว บางทีทางโครงการหลวงจัดสรรทุนไว้ให้ สมมุติว่าเขาจัดสรรทุน
ไว้ในปีนี้ สองร้อยล้าน คนนี้เขียนมาสามแสนห้าแสน ก็มีการอนุมัติจากชุดนี้ แล้วก็ให้ไปทำงาน ถ้าทำได้ผลก็เอามาส่งเสริม แต่ต้องผ่านกรรมการก่อนนะว่าควรส่งเสริมไหม ซึ่งส่วนใหญ่จะผ่านตั้งแต่ขั้นตอนให้วิจัยแล้วถ้าพืชนี้วิจัยได้เขาก็ต้องส่งเสริมกันต่อไป


ถาม : การผสมพันธุ์ที่ได้ลักษณะเด่นของแต่ละพันธุ์มาแล้วได้พันธุ์ใหม่แล้วจะยั่งยืนมั้ย
ตอบ : มันจะมีระยะเวลาของมัน โดยธรรมชาติมันจะไม่ยั่งยืน นักผสมพันธุ์ก็ต้องหาพันธุ์ใหม่ๆ ไปเรื่อยๆ ตอนนี้เริ่มมีพันธุ์แปลกๆ เข้ามา นักผสมพันธุ์จะเก็บลักษณะต่างๆ หลายๆ ด้าน ศึกษาจนกว่าจะได้ความนิ่งในทุกฤดูกาล จึงต้องใช้เวลามาก เรื่องลิขสิทธิ์จึงเป็นเรื่องสำคัญมากสมัยก่อนมีการปลูกผักสลัดเยอะมาก นักวิชาการผักจะปลูกผักเพื่อให้ออกดอกแล้วนำไปผสมพันธุ์ เมล็ดพันธุ์ต่างๆ จะซื้อมาจากต่างประเทศในครั้งแรก หลังจากนั้นก็จะนำมาขยายพันธุ์เอง ปัจจุบันรายได้จากการปลูกผักของโครงการหลวงสูงเป็นอันดับ 2 รองจากการท่องเที่ยว โครงการหลวงปลูกพืชผักในโรงเรือน ในขณะที่ชาวบ้านปลูกในพื้นที่ส่วนตัวโดยได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวง การปลูกพืชในโรงเรือนระบบปิดจะทำงานและควบคุมดูแลง่าย มีชาวบ้านเพียงบางส่วนที่สร้างโรงเรือนเอง
เมื่อผลิตได้แล้ว โครงการหลวงก็รับซื้อคืน ที่แม่โถมีชาวบ้านที่ปลูกผักโดยไม่เข้าเป็นสมาชิกโครงการหลวงเยอะมาก โดยขายผ่านพ่อค้าคนกลาง

ถาม : ในขณะที่โครงการหลวงพยายามควบคุมปริมาณการผลิตไม่ให้ล้นตลาด ให้สมาชิกมีรายได้สม่ำเสมอ และดูแลเรื่องการตลาดให้แต่กลุ่มชาวบ้านที่ไม่ได้อยู่ในโครงการหลวง มีจำนวนมากกว่าและจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่า โครงการหลวงจะมีปัญหาหรือไม่
ตอบ : ปัญหาพวกนี้มีตลอดมาอยู่แล้ว หากชาวบ้านปลูกได้มากกว่าที่โครงการหลวงรับซื้อได้ ก็จะต้องขายกับพ่อค้าคนกลาง โดยโครงการหลวงไม่การันตี โครงการหลวงมีระบบอารักขาพืช โดยสุ่มนำพืชทุกอย่าง 5 เปอร์เซ็นต์มาตรวจหาสารเคมี หากเจอสารเคมีจะส่งคืน หากไม่พบสารเคมีก็จะติดตราโครงการหลวงเพื่อจำหน่ายต่อไป

ถาม : การปลูกสตรอว์เบอร์รี่ ทำลายดินหรือไม่
ตอบ : การปลูกพืชทุกอย่างทำลายดินหมด การปลูกสตรอว์เบอร์รี่ที่ขยายเป็นวงกว้างในปัจจุบัน นับเป็นปัญหาหนึ่งที่โครงการหลวงไม่สามารถเข้าไปแก้ไขได้ การปลูกพืชหมุนเวียนเป็นการพยายามที่จะปรับปรุงสภาพดินให้ดีขึ้น พืชที่ช่วยในการปรับปรุงดิน คือ พืชตระกูลถั่ว อาจจะปลูกพืชเกษตร 1-2 ปี แล้วสลับด้วยการปลูกพืชตระกูลถั่ว เรามีสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร สังกัด ม.เกษตร แก้ปัญหาระบบการปลูกพืช และสิ่งแวดล้อมบนที่สูง ในเมืองใหญ่ ในดินทราย

การศึกษาวิจัยในปัจจุบัน เปลี่ยนไปตามแหล่งทุนของการวิจัย ว่าต้องการวิจัยเรื่องอะไร เพื่อแก้ปัญหาวิกฤติและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร

สำหรับท่านที่อ่านแล้วยังสนใจใคร่รู้เรื่องราวความสัมพันธ์อันแนบแน่นของสถานีวิจัยดอยปุยกับมูลนิธิโครงการหลวงเพิ่มเติม ก็แวะขึ้นไปเยี่ยมเยียนท่าน อ.วิสิฐ หรือ คุณนิภา หัวหน้าสถานีวิจัยดอยปุย ได้ที่สถานีวิจัยดอยปุย หรือสนใจไปพักผ่อนนอนเล่นหนาวเย็นกลางไอหมอกแถมได้ความรู้หลากหลายเกี่ยวกับป่าไม้และงานเกษตร ที่สถานีวิจัยมีบ้านพักสวยงามใหม่เอี่ยมให้ไปเยี่ยมชมได้ทุกวัน

 

ขอขอบคุณ…
อ.วิสิฐ กิจสมพร ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ม.เกษตรศาสตร์
คุณนิภา เขื่อนควบ นักวิจัยชำนาญการ หัวหน้าสถานีวิจัยดอยปุย

เรื่องราวและภาพจาก…
สถานีวิจัยดอยปุย
ที่อยู่ : หมู่ 12 ถนนศรีวิชัย ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ : 0 5321 1142[:]

[:TH]หลบร้อนเข้าห้าง … ถ้าไม่ใช่แค่เดินตากแอร์[:]

[:TH]

​It’s Summer Time ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการมาถึงแล้วจ๊ะพี่จ๋า อากาศร้อนทะลุปรอทแบบนี้ ต้องหนีร้อนมาพึ่งเย็น เดินเล่นตากแอร์ในห้างชิลๆ แต่เดี๋ยวก่อนถ้าห้างไม่ได้มีไว้แค่เดินตากแอร์ช้อปปิ้งอย่างเดียวล่ะค่ะซิส กาดสวนแก้วมี 6 กิจกรรมที่ไม่อยากให้คุณพลาดใน Summer นี้ ตามแอดมาทางนี้เลยจ้า มา ๆ ๆ

 


#1 เตรียม “กล้อง” มาถ่ายรูปมุมโดนๆ ในกาดสวนแก้ว
​ของมันต้องมีมุมถ่ายรูปต้องมา ไม่ว่าจะสายมินิมอล สายสตรีท หรือสายไหนๆ ต้องหยิบกล้องขึ้นมาถ่ายรูปกับมุมโดนๆ ในกาดสวนแก้ว ตึกอิฐที่ไม่ว่าจะถ่ายมุมไหนก็ดี๊ดีไปหมด แอดแอบกระซิบว่าพอร์ตเทรตของแดดช่วงหน้าร้อนทำให้ภาพที่ออกมาดูสดใส มีชีวิตชีวา บวกกับการเพิ่มความสนุกให้กับ Summer เปิดตู้ค้นเสื้อฮาวายลายดอกสไตล์โอปป้ามามิกซ์แอนด์แมชต์ โพสท่าหน้านิ่งสู้แดด แค่นี้ก็ได้รูปเหมือนในนิตยสารไปอัพลงโซเชียลให้คนอิจฉากันแล้วจ่ะ
ปล. มุมดาดฟ้าต้องขออนุญาตก่อนนะจ๊ะ เพื่อความปลอดภัย

 

#2 เย็นทุกองศาที่ I Like : Ice Cream สาขากาดสวนแก้ว
​เย็นฉ่ำรับซัมเมอร์แบบฟินๆ ดับร้อนด้วยไอศกรีมโฮมเมด ที่โดดเด่นด้วยความอร่อยหลากหลายรสชาติ มีเมนูให้เลือกมากกว่า 20 เมนู แถมราคายังน่ารักน่าคบ จะมาเป็นหมู่คณะหรือมาเดี่ยวก็คุ้ม สีสันของร้านสดใสเข้ากับซัมเมอร์ มีมุมถ่ายรูปสวยๆ หลายมุม ถูกใจสายเช็คอินอย่างแน่นอน แวะมากินไอศกรีมให้ฉ่ำหัวใจงที่ I Like : Ice Cream สาขากาดสวนแก้ว ชั้น 2 โซน A กาดสวนแก้ว นะจ๊ะ

 

#3 So hot ขนาดนี้ว่ายน้ำกันดีกว่า
เพราะฤดูร้อนมีความสนุก Summer นี้มาโดดน้ำให้ฉ่ำปอด แหวกว่ายในสระว่ายน้ำให้ความร้อนมันละลาย อวดชุดว่ายน้ำแซ่บๆ กับห่วงยางน้องฟลามิงโก้มุ้งมิ้ง รออะไรล่ะค่ะ ออกจากบ้านมาเพิ่มความสุขให้ตัวเองกันเถอะ
พิกัด : สระว่ายน้ำ โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว เชื่อมต่อกับกาดสวนแก้ว
เปิด : 9.00 – 21.00 น.
ค่าเข้า : ผู้ใหญ่ ครั้งละ 150 บาท เด็ก ครั้งละ 70 บาท นักเรียนนักศึกษา ครั้งละ 100 บาท

 

#4 Little Cooking Camp ความสนุกบุกตลาด
​ปิดเทอม Summer นี้ ชวนเชฟตัวน้อยมาบุกตลาด เรียนทำอาหารกับคุณลุงคุณป้าใจดี สร้างสรรค์ด้วยวัตถุดิบปลอดภัย มาปลดปล่อยจินตนาการเติมความคิดสร้างสรรค์ให้เมนูจานอร่อยผ่านการลงมือทำจริง เนรมิตตลาดเป็นห้องครัวแสนสนุก เปิดรับสมัคร น้องๆ อายุ 7-15 ปี ตั้งแต่วันนี้ – 3 เมษายน 61 สมัครได้ที่ Facebook : กาดสวนแก้วเชียงใหม่, Email : eventkad@gmail.com และเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ชั้น G กาดสวนแก้ว สอบถามเพิ่มเติม โทร. 083-7623738 รีบมาสมัครกันเยอะๆ น้าาาาา

พิกัด : กาดนัดชุมชนเกษตรปลอดสาร ชั้น B1 กาดสวนแก้ว
ค่าสมัคร : วันละ 150 บาท เหมาจ่าย 4 วัน 500 บาท

 

#5 Kiddy Land ดินแดนของหนูน้อย
​จูงมือลูกน้อยมาปล่อยพลังขั้นสุดในดินแดนแห่งของเล่น kiddy land ความสนุกสำหรับคุณหนูๆทั้งหลาย เพลิดเพลินกับบ้านบอล สไลเดอร์เป่าลม และเครื่องเล่นสุดหรรษาอีกมากมาย

พิกัด : Kiddy Land ชั้น 2 โซน B กาดสวนแก้ว
เปิด : 10.00 – 20.00 น.
ค่าเข้า : 100 บาท เล่นได้ทั้งวัน

 

#6 ม่วนกั๋นหน้ากาด Landmark สงกรานต์เชียงใหม่
​ไม่ว่าจะ Summer นี้หรือ Summer ไหนที่ขาดไม่ได้ คือ เทศกาลสงกรานต์ ถ้าพูดถึงสงกรานต์ในจังหวัดเชียงใหม่ หนึ่ง Landmark ก็คือสงกรานต์หน้ากาดสวนแก้ว ต้นฉบับความมันส์ที่สาดความสนุกให้ชาวเชียงใหม่มาทุกรุ่นทุกวัย สงกรานต์ปีนี้แอดแอบมากระซิบบอกว่า “อื้อหืออออออออ เด็ดมาก” กาดสวนแก้วขนทัพศิลปินอันดับต้นๆ ของประเทศมาระเบิดความมันส์ เตรียมปืนฉีดน้ำให้พร้อม แล้วมาม่วนกั๋นหน้ากาด 13-15 เมษายน นี้ แน่นอน ![:]

[:TH]ทดลองขึ้น RTC Chiangmai Smart Bus[:]

[:TH]

วันนี้ไปทดลองขึ้น RTC Chiangmai Smart Bus มา ขึ้นตรงจุดจอดหน้าบ้านเลยจ้าาา
#RTCCMSMARTBUS สมาร์ทบัสเจ้าแรกของเชียงใหม่ นั่งสบาย ฟรี Wifi ที่สำคัญแอร์เย็นจนหนาวเลย เปิดให้ชาวเชียงใหม่ทดลองขึ้นฟรี!! ในวันที่ 6 – 7 มี.ค. 61 มีทั้งหมด 5 รอบ คือ 10.00 น. 12.00 น. 14.00 น. 16.00 น. และ 18.00 น. ทดลองวนซ้ายเท่านั้น และจะเปิดใช้จริงในวันที่ 1 เม.ย. 61 ค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายทั้งเส้นทางวนซ้ายและวนขวา มีทั้งหมด 11 คัน วนซ้าย 6 คัน วนขวา 5 คัน แต่ละคันห่างกันประมาณ 20 นาที ให้บริการตั้งแต่ 6 โมงเช้า – เที่ยงคืน จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดอยู่ที่สถานีสนามบินเชียงใหม่ โดยแต่ละรอบจะใช้เวลาประมาณ 45 นาที หรือ 1 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับสภาพการจราจร) ตอนนี้อาจจะยังไม่เห็นหน้าตาของป้ายจุดจอดแต่ละจุด รวมถึงลวดลายกราฟฟิคของตัวรถ และบัตรโดยสาร เพราะอยู่ในระหว่างประกวดหาผู้ชนะการออกแบบ หลังวันที่ 14 มี.ค. 61 เราคงจะได้เห็นกัน สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่เฟซบุ๊ค แฟนเพจ RTC Chiangmai Smart Bus

 


#RTCChiangmaiSmartBus โดยบริษัท รีเจียนนอล ทรานซิต คอปอเรชั่น จำกัด (RTC) ในเครือบริษัทพัฒนาเมืองแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรถซิตี้บัสปรับอากาศในมิติตัวถังขนาดมาตรฐานหลังคาต่ำแบบที่ใช้กันทั่วโลก ซึ่งเป็นรถโดยสารสาธารณะขนาดความยาว 12 เมตรใช้เชื้อเพลิง NGV ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ออกแบบโดยอิงหลัก Universal Design สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงถึง 80 คน กว้างขวางขึ้นลงรถได้อย่างสะดวกง่ายดาย มีพื้นที่สำหรับผู้พิการ พื้นที่สำหรับวางกระเป๋าเดินทางสำหรับนักท่องเที่ยว และสามารถเก็บจักรยานได้ 2 คัน ตอกย้ำความเป็น #สมาร์ทบัส ด้วยฟังก์ชั่นทันสมัยอย่างการจ่ายค่าโดยสารด้วยบัตร RTC Smart Card โดยสามารถหาซื้อได้ที่สนามบินตรงประตูทางออกที่ 1 หรือจะซื้อบนรถก็ได้ หรือจ่ายค่าโดยสารเป็นเงินสดได้ด้วยเช่นกัน และในอนาคตอาจรับรองบัตร Rabbit เหมือน กทม. นอกจากนี้ยังมีระบบอัจฉริยะอำนวยความสะดวกและปลอดภัยแก่คนขับรถ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการจ่ายค่าโดยสาร จำนวนผู้โดยสาร กล้องวงจรปิดทั้งในและนอกรถทางเข้าและออกแยกจากกันอย่างชัดเจน จีพีเอสนำทาง ทำให้ใช้คนขับรถเพียงคนเดียวก็เพียงพอต่อการควบคุมรถทั้งคัน ที่สำคัญยังมี #แอพพลิเคชั่น#CMTransitbyRTC สำหรับเช็คว่า รถอยู่ที่ไหนบ้าง? และจะมาถึงจุดรับส่งภายในกี่โมง? (ซึ่งพร้อมสำหรับ android แล้ว แต่ระบบ ios นั้นสามารถดูได้ที่ http://chiangmai.yusai.asia/app/)

 

บรรยากาศในรถมันก็จะกว้างขวางประมาณนี้จ้ะ

 


โซนนี้เป็นโซนพิเศษที่เค้าจัดไว้สำหรับผู้พิการจ้าา


Wifi ฟรี!! ไม่มีรหัส จริงแท้แน่นอน



ชมวิวคูเมืองวนไปจ้าา
ชมวิวคูเมืองวนไปจ้าา



อยากลงสถานีไหนกดกริ่งได้เล้ยย


ถึงล่ะกลับบ้านก่อนนะจ๊ะ


เส้นทางตามนี้น้าา


และตารางเวลา ?

 [:]