[:TH]ละครเวทีตลก เล่นใหญ่ ทะลุจอ 2018 “เดอะเชฟบ๊ะ ปะทะ มาสเตอร์เฟคไทยแลนด์”[:]

[:TH]

บึ้ม!! ได้เวลาระเบิดเสียงฮาที่เชียงใหม่ให้ทะลุจอ
ยำรายการทีวีสุดฮิต สะกิดทุกกระแสสุดฮอต
สู่ละครเวทีสุดฮาที่คุณต้องไม่พลาด!!!

ละครเวทีตลก เล่นใหญ่ ทะลุจอ 2018
“เดอะเชฟบ๊ะ ปะทะ มาสเตอร์เฟคไทยแลนด์”

นำแสดงโดย
เดียว มาสเตอร์เชฟซีซั่น 2
สไปร์ท รีแคปบั้ง!
นิวแซน Big Snax The X Factor Thailand
และนักแสดงสุดฮาอีกเพียบ

จะเป็นยังไงถ้ารายการที่คุณชื่นชอบ กลายเป็นภาคพิสดาร
พบกับแคมเปญสุดพิลึก กล่องปริศนาสุดสะพรึง
หัวเราะกันให้น้ำตาเล็ด 2 ชั่วโมงเต็ม
พร้อม Interactive ตลอดการแสดง!!

*** เชียงใหม่ ***
เปิดแสดง ศุกร์/เสาร์/อาทิตย์
ที่ 27-29 กรกฎาคมนี้
รอบเวลา 13.00/16.00/19.00 น.
ณ กาดสตูดิโอ ชั้น 7 กาดสวนแก้ว

บัตรราคา 200 บาทเท่านั้น!
ทุกที่นั่งรับส่วนลดดูหนัง ที่ Major Cineplex ด้วย
รายได้ส่วนหนึ่งหลังหักค่าใช้จ่ายมอบให้
องค์กรการกุศลที่ช่วยเหลือผู้พิการทางสายตา

ชวนเพื่อนมาจองบัตรกันได้แล้ววันนี้ที่…
– Line : @lenyai (มี@ด้วยนะคะ)
– Fanpage : เล่นใหญ่
– เคาท์เตอร์ประชาสัมพันธ์ชั้น G กาดสวนแก้ว
หรือโทร.098-818-8339

รีบจองก่อนที่นั่งเต็ม พลาดแล้วจะเสียใจ เตือนแล้วนะ!
#เล่นใหญ่ทะลุจอ2018

[:]

[:TH]ป้าแก้วรีวิว การใช้งาน จักรยาน Mobike[:]

[:TH]สวัสดีเจ้าาาา วันนี้ป้าแก้วจะมารีวิววิธีการใช้จักรยาน Mobike และจะพาทุกคนไปปั่นเล่นกันนน

อันดับแรก ป้าโหลด Mobike App แปบนะ โหลดได้ทั้งมือถือ IOS หรือ Android

https://mobike.com/global/download

2.ลงทะเบียนผู้ใช้งานเรียบร้อยแล้ว ก็เติมเงินลงบัญชี Mobike App ขั้นต่ำ 100 บาทน๊ะจ๊ะ

3.เราต้องหาจุดจอดจักรยาน Mobike ที่ใกล้ที่สุด ด้วยการปักหมุดสถานที่ของเรา แล้ว Mobike App ก็จะแสดงให้เรารู้ว่าจุดจอดจักรยานที่ใกล้เราที่สุดอยู่ตรงไหน

ว้าววววว ป้าเจอจุดจอดจักรยาน Mobike แล้วว อยู่ที่หน้ากาดสวนแก้วนี่เองงง

4.สแกน QR code ก็สามารถปั่นรถจักรยาน Mobike ได้แล้วเจ้าาา อัตราค่าบริการอยู่ที่ 10 บาทต่อ 30 นาที ( 10 นาทีแรกไม่เสียค่าบริการ ) 

 

Mobike เขามีป้ายวิธีการใช้บอกด้วยนะ 

โหลด Mobike App เรียบร้อย สแกน QR code แล้ว ไปปั่น Mobike เล่นกันเจ้า

 

[:]

[:TH]Prize Winner Concerts[:]

[:TH]เชิญชม Prize Winner Concerts
การแสดงจากผู้ชนะการประกวดแข่งขันดนตรีระดับนานาชาติ (CGIFM)

จัดแสดงวันที่ 30 มิถุนายน 2561
เวลา 4:30pm 
เวลา 7:30 pm.
สามารถขมได้ทั้งสองคอนเสิร์ต
ณ โรงละครกาดเธียเตอร์ ชั้น 5 อุทยานการค้ากาดสวนแก้ว

บัตรราคา 700, 500, 300
?แจกบัตรฟรีสำหรับนักเรียน
?ลด 50 % สำหรับนักเรียนมหาวิทยาลัย

** ซื้อตั๋วเพียงใบเดียวเพื่อดูทั้งสองคอนเสิร์ต **
(ซื้อตั๋วก่อนวันที่ 15 มิถุนายน)

เว็บไซต์: http://chiangmai-imf.com

[:]

[:TH]ละครเวที “Bus 143″[:]

[:TH]ในขณะที่ ตั้ม หนุ่มออฟฟิตคนหนึ่งกำลังรอรถเมล์เพื่อเดินทางกลับบ้าน หญิงสาวฟรีแลนซ์อย่าง นวล ก็กำลังรอรถเมล์สายเดียวกันเพื่อเดินทางไปทำงานด้วยเช่นกัน… คนทั้งคู่มีดวงชะตาเหมือนเป็นเส้นขนานที่ไม่มีวันโคจรรอบกันได้ แต่คนบนฟ้าเหมือนเล่นตลกจับทั้งสองให้มาโคจรรอบกันและกันบนรถเมล์สายนี้
.
เพราะความผิดพลาดของเหล่ากามเทพ พวกเขาผูกด้ายแดงให้กับ ตั้มและนวลมนุษย์ที่มีดวงชะตาเป็นอริกัน ด้วยความกลัวว่าจะถูกลงโทษ ทำให้เหล่ากามเทพตัดสินใจฝืนดวงชะตาคนทั้งคู่ เพลย์ลิสต์เพลงรักที่หญิงสาวชอบฟังระหว่างเดินทางจึงเป็นเครื่องมือหนึ่งของการทำภารกิจจับคู่ในครั้งนี้
.
ผู้โดยสารโปรดทราบ
กรุณาเตรียมหัวใจและหูฟังของคุณให้พร้อมแล้วมาฟังเพลงในรถเมล์คันนี้ไปพร้อมกัน เพราะรถเมล์สายนี้กำลังมีความรัก

???
——————————-

ละครเวที “Bus 143”
แสดงวันที่ 1-3 , 8-10 มิถุนายน 2561
เวลา 14:00 น. / 19:00 น.
(วันศุกร์มีแค่รอบ 19.00 น.)

สถานที่ Creative room / Kad performance school ชั้น 7 กาดสวนแก้ว

บัตรราคา
บุคคลทั่วไป 200.-
นักเรียน / นักศึกษา 160.-

#theplaylish #bus143 #กาดสวนแก้ว

[:]

[:TH]Junior Model Contest Thailand 2018[:]

[:TH]ประกาศ! ยังรับสมัครอยู่เรื่อยๆจร้า
เรียนเชิญผู้ปกครองที่สนใจพาน้องๆ ชาย-หญิง.
เข้าร่วมกิจกรรม Junior Model Contest Thailand 2018
#ไม่ต้องเดินเป็นเรามีครูสอนเดินเเบบเทรนให้ฟรี!
#ไม่ต้องเเสดงความสามารถพิเศษ 
#เรามีรางวัลพิเศษอื่นๆให้
#หากต้องการเเสดงความสามารถเรามีรางวัลพิเศษมอบให้(ในส่วนของการเเสดงความสามารถพิเศษ)
#ไม่ต้องนำชุดมาเรามีชุดไทยให้
#รับรองคุณภาพชุดจากห้องเสื้อบ้านคนรักลูกทุ่ง
#ไม่ต้องเเต่งหน้าทำผมมาเรามีช่างเเต่งหน้าให้
#รับรองฝีมือช่างเเต่งหน้าจากกองประกวด
#ไม่ต้องกังวลเรื่องโปรไฟร์เรามีช่างภาพเก็บงานให้ทุกคน
# ร่วมรางวัลพิเศษ มากกว่า 10’รางวัล.ทุกรางวัลมี มงกุฎ สายสะพาย โล่เกียรติยศ เงินสด ให้ทุกรางวัล #รับรองคุ้ม #เพราะเราเป็นผู้จัดมืออาชีพ #ไม่มีงานเทผู้ปกครองสบายใจได้ ติดต่อสอบถามโทร 0830271909 ครูนก #บ้านคนรักลูกทุ่งเชียงใหม่

[:]

[:TH] “ช้อปหยุดโลก 2018” รวมไอเทมฟุตบอลโลก 2018 และสินค้ากีฬามากมายมาไว้ในงานเดียว [:]

[:TH]คอบอล นักช้อป ห้ามพลาด   
กับงาน “ช้อปหยุดโลก 2018” รวมไอเทมฟุตบอลโลก 2018 และสินค้ากีฬามากมายมาไว้ในงานเดียว พร้อมช้อปสินค้าภายในงาน ครบทุก 300 บาท (**รวมใบเสร็จได้) มีสิทธิ์ลุ้นรับรางวัลใหญ่ ตั๋วเครื่องบินไป – กลับ 1 รางวัล 2 ที่นั่ง
ในงานมาสนุกกับบูทเล่นเกมส์และกิจกรรมมันส์ๆ อีกมากมาย
?เริ่มวันที่ 8 มิ.ย. – 15 ก.ค.61 ?ลานโปรโมชั่น ชั้น 2 กาดสวนแก้ว

[:]

[:TH]สถานีเกษตรหลวง “อ่างขาง” (พี้ชอำพัน)[:]

[:TH][metaslider id=1838]

            อ่างขาง…คงไม่มีใครไม่รู้จัก  โดยเฉพาะหน้าหนาวต้องคอยฟังข่าวกันทุกปีว่าหนาวนี้ที่อ่างขางกี่องศา  ยิ่งอุณหภูมิต่ำเท่าใด  ใครๆ ก็อยากรีบขึ้นไปสัมผัส  นอกจากความหนาวเย็นจนเป็นแหล่งเก็บข้อมูลของศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือของกรมอุตุฯ แล้ว  ยังเป็นที่ตั้งสถานีเกษตรหลวงอ่างขางของมูลนิธิโครงการหลวง  ซึ่งมีไม้ดอกไม้ประดับอันสวยงามของต่างประเทศหลากหลายให้ไปชม  มีที่พักหลายรูปแบบให้เลือกพักกับบรรยากาศเงียบสงบในยามเย็นกลางหุบเขาบนดอยสูง เช้าขึ้นมายังได้มีโอกาส  ดูพระอาทิตย์ขึ้นบนยอดดอย  สัมผัสหมอกที่ลอยจากกลางหุบเขาเข้ามาให้ชื่นใจในยามเช้า

แต่สำหรับพวกเรามาปลายฝนต้นหนาว  ได้พบบรรยากาศใหม่ๆ ที่ทำให้รู้ว่า  แม้ยังไม่ใช่หน้าหนาวที่นี่ก็มีธรรมชาติที่สวยงามและมีเรื่องราวน่าสนใจมากมาย  จนสองวันหนึ่งคืนก็ยังไปไม่ทั่วถึงดังตั้งใจ

            ประวัติของการก่อเกิด “สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง”หรือคำเรียกที่คุ้นเคย…โครงการหลวงอ่างขาง…คงมีให้อ่านกันมากแล้ว  เมื่อมายืนอยู่ในพื้นที่จริง ณ วันนี้คงไม่มีใครนึกออกว่า ดอยอ่างขางที่บอกว่าเคยเป็นไร่ฝิ่นนั้นโล่งกว้างขนาดไหน  ลมพัดแรงจนแทบยืนไม่ติดนั้นเป็นอย่างไร  เส้นทางเข้าที่ทุรกันดารสร้างความลำบากแค่ไหน

ยิ่งเมื่อคุณตรี เจ้าหน้าที่ของโครงการหลวงชี้ให้ดูเส้นทางเดินเท้าไต่เขาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙  ทรงใช้ในการเข้ามาถึงอ่างขาง  พวกเราได้แต่ตื้นตัน  เส้นทางเช่นนั้น  พวกเราจะกล้าฝ่าฟันไหม

ทรงบากบั่นเพื่อรักษาพื้นดินทุกตารางนิ้วของประเทศ ทรงห่วงใยทุกข์ สุขของพสกนิกรทุกชนเผ่า ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะรู้จัก และเข้าพระราชหฤทัยทุกสิ่งก่อนจะหาทางแก้ไข… และนั่นคือแนวทางที่ทรงวางไว้กับการก่อตั้งโครงการหลวงอ่างขาง ซึ่งเป็นโครงการส่วนพระองค์  เมื่อปี พ.ศ. 2512 และได้เปลี่ยนเป็น สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ในปี พ.ศ. 2514 ไต้หวันได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาศึกษาสภาพพื้นที่และความเหมาะสมในการปลูกไม้ผลเมืองหนาว หลังจากนั้นก็ได้ส่งเชื้อเห็ดหอม และพันธ์ุพืชมาถวายโดยไม่คิดมูลค่า เพื่อให้ทรงนำมาใช้ประโยชน์ตามพระราชประสงค์ในโครงการหลวง

สถานีเกษตรหลวงอ่างขางใช้เป็นสถานที่ทดลองค้นคว้าวิจัยพืชผลเมืองหนาวที่สามารถปลูกได้ดีในพื้นที่ เพื่อนำผลจากการทดลอง ค้นคว้าและวิจัย จนได้มาตรฐานแล้ว มีตลาดรองรับแล้ว ไปส่งเสริมให้ชาวไทย ภูเขาเผ่าต่างๆ และชาวจีนยูนนานที่อพยพลี้ภัยเข้ามาอาศัยในแผ่นดินไทยนี้นำไปปลูกทดแทนการปลูกฝิ่น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระราชดำริให้การพัฒนาต่างๆ ในทุกพื้นที่ จะต้องสอดคล้องกับการอนุรักษ์พื้นที่นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กบนภูเขา เพื่อทดน้ำมาใช้ในการเกษตรกรรม หรือการปลูกป่าฟื้นฟูป่าธรรมชาติ

ดูเหมือนว่า การจะพัฒนาชุมชนสัก 1 ชุมชน นอกจากการเกษตรแล้วยังต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงานหลายหน่วยงาน ต้องสร้างความเข้าใจให้กับชุมชนทุกเรื่อง ตั้งแต่การอนุรักษ์ป่า รักษาดิน ดูแลต้นน้ำลำธาร การตลาด การท่องเที่ยว มลพิษ สิ่งแวดล้อม สุขอนามัย การศึกษา และทุกเรื่องก็ยังคงเป็นเรื่องที่มูลนิธิโครงการหลวงต้องดำเนินต่อไป นั่นหมายถึง เจ้าหน้าที่ทุกคนยังคงต้องดำเนินงานด้วยความเสียสละ เพื่อให้จุดประสงค์ของมูลนิธิฯ ดำเนินไปตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ นั่นคือ

…ช่วยชาวเขา ช่วยชาวเรา ช่วยชาวโลก….
ด้วยแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง

19 กันยายน 2560

พวกเราขึ้นมาถึงอ่างขางเมื่อเวลาประมาณ 10.45 น คิดว่าใกล้เที่ยงแล้วควรเรียนคุณมณพัฒ ยานนท์ (คุณตรี) นักประชาสัมพันธ์เกษตรหลวงอ่างขางว่า จะขอไปสำรวจบริเวณโดยรอบของสถานีให้ทั่ว จะได้พอนึกภาพต่างๆ ได้ในขณะพุดคุยกัน แล้วจะมาพบหลังอาหารเที่ยง แต่เมื่อพบกัน ยังไม่ทันแนะนำตัว ก็ไม่สามารถขยับตัวไปไหนได้ มีข้อมูลเบื้องต้นมากมายจนบันทึกกันไม่ทัน เวลาผ่านไปเกิน 2 ชั่วโมง ท้องเริ่มประท้วง ก็ได้เวลาพักทานอาหารกลางวัน ระหว่างทานอาหารประกอบด้วยผักสดจากไร่ที่สโมสร เราก็พยายามเรียบเรียงเรื่องราวที่ได้รับฟังมา ทำให้สรุปตามความเข้าใจได้ว่า สถานีเกษตรหลวงอ่างขางนี้
มีงานหลักๆ คือ
…เป็นสถานีวิจัยพืชพันธ์ุใหม่ๆ ที่สามารถนำไปส่งเสริมให้เป็นพืชเศรษฐกิจของเกษตรกรบนพื้นที่สูงได้ต่อไป
…เป็นศูนย์พัฒนา ส่งเสริมและดูแลชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงมาตั้งแต่ต้น ได้แก่ บ้านนอแล บ้านขอบด้ง บ้านปางม้า บ้านคุ้มและบ้านหลวง
…เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงาน ของผู้สนใจงานด้านพืชเมืองหนาว และการพัฒนาชุมชน
…เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ อันสวยงามและวิถีชีวิตชนเผ่าที่นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติสนใจ

จากข้อมูลเบื้องต้น คุณตรีก็พาไปสัมผัสของจริงทุกจุดของสถานีฯอ่างขาง แม้จะเคยขึ้นมาที่นี่สองสามครั้งแล้ว แต่วันนี้เริ่มเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตคนไทยทุกคน เริ่มรู้สึกว่า ณ ที่นี้ก็คือแผ่นดินของเรา ที่ที่สร้างไว้เพื่อให้คนไทยไม่ว่าจะเป็นเชื้อสายใด ได้เรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างอบอุ่น ด้วยแนว…เศรษฐกิจพอเพียง…ที่เปี่ยมล้นด้วยความเข้าใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ใส่ใจกันและกัน ทำให้เรารู้สึกอบอุ่นกับทุกคนที่พบเจอ เสมือนว่าทุกคนคือครอบครัวเดียวกัน

งานวิจัย

ถึงจะมีพันธ์ุพืชวิจัยหลายชนิด แต่พวกเราตั้งใจมาหาข้อมูลเรื่องพีช เราจึงได้พบกับ คุณณัฐทวี มาบางครุ (เอ) นักวิชาการพีช ได้ชื่อว่าเป็นนักวิจัยพันธุ์พีชและพลัมคนเดียวของประเทศไทย

ก่อนพบคุณเอ พวกเราคาดไว้ว่าจะได้พบกันในห้อง LAB แบบนักวิทยาศาสตร์ ห้องวิจัยที่มีเครื่องมือมากมาย เพราะยังไม่เข้าใจว่าการวิจัยและทดลองพันธ์ุพืชนั้นเขาทำกันอย่างไร จึงแปลกใจที่พบคุณเอ ศิลปินร่างใหญ่ใส่เสื้อยืดรองเท้าแตะ ขี่มอเตอร์ไซค์ BIGBIKE แล้วพาพวกเราไปชมสวนพีช…ที่โครงการหลวงสะกดว่า….พี้ช…เพราะคนชอบสับสนกับคำว่า..พืช…

ในแปลงทดลองหลายแปลงที่เดินผ่านไปมีป้ายบอกไว้ว่าเป็น พี้ชพันธุ์อะไร ออกดอกเมื่อไร เก็บเกี่ยวผลเมื่อไร แปลงที่คุณเอพามาดูเป็นพี้ชที่ดูแก่มากๆ แต่แท้จริงมันผลัดใบไปหมดแล้วและกำลังผลิดอก กิ่งก้านโดนรัดตรึงไว้ให้แผ่ไปตามนอน เพื่อการดูแลและเก็บเกี่ยวที่สะดวก เราคิดว่าต้นไม้ที่เราต้องการผลประโยชน์จากมัน จะโดนบังคับจนดูเหมือนไม่ใช่ต้นไม้ แล้วมันก็ยอมออกดอกออกผลเต็มไปหมด ก็ดูซิ…ตอนนี้ทุกๆกิ่งมีตุ่มตามากมาย คุณตรีพยายามสอนให้ดูว่าตุ่มไหนคือดอกตุ่มไหนคือใบ ฟังแบบนี้แล้วอยากกลับมาวันที่ดอกท้อบาน ไม่รู้จะสวยเหมือนดอกซากุระไหม ก็ดอกมันเหมือนกันจนเราคงแยกไม่ออกว่าดอกไหน
พี้ช บ้วย หรือซากุระ

ได้ความรู้ว่าเดิมพี้ชที่ปลูกๆ กันนั้นเป็นพันธุ์ที่มากับคนจีนที่อพยพลี้ภัยเข้ามา เอาผลมากินแล้วเอาเมล็ดมาเพาะจนเกิดเป็นต้นพี้ช หรือที่เราเรียกว่า “ลูกท้อ”

ส่วนพี้ชที่ปลูกทดลองอยู่ในสถานีแห่งนี้เป็นพี้ชสายพันธ์ุต่างประเทศโครงการหลวง นำมาวิจัยเปลี่ยนสายพันธุ์ให้สามารถปลูกและเติบโตได้ในพื้นที่ประเทศไทยประมาณ 10 กว่าปีแล้ว ซึ่งขณะนี้โครงการหลวงมีพี้ชสายพันธ์ุของตนเองชื่อ อำพันอ่างขาง 1, 2, 3, 4 ปลูกทดลองหลายรุ่นจนได้ผลคงที่ตามต้องการ จากพี้ชก้นแหลมทำให้ไม่สะดวกในการจัดส่ง ก็มีการปรับผสมสายพันธ์ุเพื่อให้ได้พี้ชก้นบุ๋ม แต่รุ่นแรกๆ รสชาติยังเปรี้ยวอยู่ ก็ต้องเอาเกสรสายพันธุ์หวานมาผสมจนติดผล แล้วก็เก็บผล
ที่ได้ไปทำการเพาะปลูกอีกครั้ง ใช้เวลารอคอยจนติดลูกแต่ละรุ่น ประมาณ4 ปี ในหนึ่งต้น รสชาติจะต้องเหมือนกันทุกผล หากไม่ได้ตามที่ต้องการก็ต้องตัดทิ้ง และหากรสชาติยังก้ำกึ่งก็จะให้เวลาอีก 1 ปี ถ้าได้ก็จะนำไปลงแปลงทดสอบ จนกว่าจะได้ผลผลิตดังที่ต้องการจึงจะนำไปส่งเสริมฟังแล้วรู้สึกถึงความยากลำบากในหลายๆ ด้าน ตั้งแต่การชิม ชิม ชิมชิมข้ามปีกันเลยนะนี่ เชื่อเลยแหละที่คุณเอบอกว่าชิมพี้ชมาไม่ต่ำกว่า 1,000 ลูกแล้ว

เมื่อไม่ได้อย่างต้องการก็ตัดทิ้งไป ทดลองใหม่อีก 4 ปี สำหรับพวกเราที่ไม่เข้าใจเรื่องวิจัยสงสัยว่า….ทำไมต้องตัดทิ้งแล้วไม่เสียดายหรือ….นักวิจัยตอบว่า….เพื่อไม่ให้สับสนกับการทดลอง ก็ต้องตัดทิ้งไป

เมื่อพวกเราอยากเห็นภาพพี้ชรุ่นแรกๆ นักวิจัยศิลปินร่างใหญ่ทำตาลอยแบบครุ่นคิดแล้วสั่นหน้า…ไม่ได้ถ่ายไว้เลย…ฟังแล้วผิดหวัง แปลกใจ…สมัยนี้แค่สั่งก๋วยเตี๋ยวธรรมด้าธรรมดา ยังถ่ายรูปอวดกันให้ว่อนไป

เลยตั้งคำถามไขข้อข้องใจว่า…เวลาทดลองแล้วได้ผลอย่างที่ตั้งใจรู้สึกอย่างไรบ้าง…คุณเอหัวเราะตอบได้ทันทีว่า…แรกๆ ก็ตื่นเต้นนะ แต่ตอนหลังๆ ก็เฉยๆ

…นั่นซิ…ถึงไม่นึกจะถ่ายรูปเก็บไว้ให้พวกเราดูบ้างเลยนะนี่…

เมื่อได้พันธุ์ที่สามารถปลูกในเมืองไทยได้แล้ว ก็ใช่ว่าการวิจัยพี้ชจะหยุดอยู่แค่นั้น ขณะนี้คุณเอก็ยังวิจัยสายพันธ์ุอื่นๆ ต่อไป เพราะธรรมชาติของตลาด ต้องการพันธุ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ นักวิจัยทั่วโลกก็ผสมพันธุ์พืชใหม่ๆเกิดสายพันธุ์ใหม่ๆ ขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้สถานีฯ อ่างขาง ผสมได้สายพันธ์ุใหม่แล้วอีกหนึ่งสายพันธุ์ แต่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ…เพราะไม่อยากใช้ชื่อแบบ
ฟังแล้วโบราณ…แล้วก็ไม่อยากใช้หมายเลขอีกด้วย

งั้นก็จะคอยติดตามชื่อพี้ชสายพันธุ์ใหม่ต่อไป แต่คงต้องคอยอีกสัก2-3 ปี กว่าสายพันธุ์จะนิ่ง แล้วเราค่อยซื้อมาชมและชิมตอนนั้นแล้วกัน

ในสถานีฯ อ่างขางนี้ เราได้เห็นแปลงพี้ชหลายๆ รูปแบบซึ่งพอจะรวบรวมตามความเข้าใจว่า แปลงวิจัยเหล่านี้เป็นแปลงทดสอบ
พี้ชตามที่ได้รับฟังมาว่า

            ระยะแรก เป็นแปลงทดสอบลูกผสมระยะชิด นำกล้าจากที่มีอายุ 8-10 เดือน จากโรงเรือนมาลงแปลงทดสอบจัดระยะต้นให้ถี่
ระยะที่ 2 คัดเลือกลูกผสมขั้นสูงครั้งแรก เมื่อต้นมีอายุประมาณ 3 ปี จะเริ่มติดดอกและติดผล ทำการประเมินลักษณะและคุณภาพผล
เป็นเวลา 2-3 ปี จากนั้นคัดเลือกต้นที่มีการเจริญเติบโตดี คุณภาพ ผลเด่น ผลผลิตสูงอย่างสม่ำเสมอทุกปี
ระยะที่ 3 คัดเลือกและทดสอบลูกผสมขั้นสูง ( ปีที่ 7-9 ) นำกิ่งของต้นลูกผสมที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกไปเปลี่ยนยอดบนต้นใหญ่ในแปลงผลิตจำนวน 2-3 ต้นต่อรหัส ในพื้นที่สถานีฯ อ่างขาง (ระดับความสูงจากน้ำทะเล 1,400 เมตร) และ ศูนย์วิจัยหลวงขุนวาง (ที่ระดับความสูงจากน้ำทะเล 1,260 เมตร ) เพื่อทดสอบและประเมินลักษณะของต้นลูกผสม
ระยะที่ 4 คัดเลือกลูกผสมรอบที่ 2 จากต้นที่เปลี่ยนยอด ลูกผสมที่ผ่านการคัดเลือกรอบนี้ จะปลูกทดสอบเชิงพาณิชย์จำนวน 10-20 ต้นต่อพันธ์ุ ต่อสถานี ที่สถานีฯ อ่างขาง และสถานีฯ อินทนนท์ (ระดับความสูงจากน้ำทะเล 1,200 เมตร)

            พี้ช ก็เหมือนพืชอื่นๆ มีสมาคมนักวิจัยพี้ชสากล มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและเกสรกัน เพื่อหาพันธุ์พี้ชใหม่มาให้พวกเราได้ชิมลิ้มรส แต่น่าเสียดายที่มาช่วงนี้ไม่มีพี้ชเปรี้ยวหรือหวานให้ชิมเลยสักนิด ได้รับคำแนะนำพร้อมรอยยิ้มว่า คืนนี้ลองชิม “พี้ชลอยแก้ว” ที่สโมสรก่อนแล้วกัน แต่ก็เข้าใจแล้วว่า การวิจัยและทดลองพันธุ์พืชน่ะ เขาทดลองกันในแปลงของจริงเลย พวกเราถึงต้องฟังเลคเชอร์ไป เดินไปในแปลงพี้ชอยู่หลายแปลง แต่ก็นับเป็นห้องเลคเชอร์มีชีวิต ที่สร้างความสดชื่นให้พวกเรา ท่ามกลางต้นไม้ ใบหญ้าและขุนเขาสำหรับผู้สนใจอยากดูพี้ชระยะไหนลองศึกษาข้อมูลการแตกดอกออกผลของพี้ชใน 1 ปีตามรายการนี้ได้
            ช่วงเดือน ต.ค.-พ.ย. ใบจะเริ่มออกสีแดงๆ แล้วจะค่อยๆ ร่วงไปเอง
            ช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. จะเหลือแต่กิ่งโชว์ให้เราเห็น แต่จะเริ่มมีตาดอกออกมาชัดเจน
            ช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. เริ่มออกดอกให้เห็นเป็นสีชมพูคล้ายดอกซากุระ
            ช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย. ก็จะกลายเป็นผลผลิตให้เราได้เก็บ
นอกจากแปลงวิจัยพี้ชแล้ว ยังมี แปลงกีวี แปลงพลับ แปลงบ๊วย แปลงแอบปริคอต แปลงสาลี่ ฯลฯ

ศูนย์พัฒนา
            สถานีเกษตรหลวงไม่ใช่มีแต่แปลงวิจัย แต่ยังมีอาคารผลผลิตไว้รับซื้อผลผลิตจากไร่ของชาวบ้านที่เป็นสมาชิกของโครงการหลวง อยู่ในการดูแลของสถานีฯ อ่างขาง ได้แก่ บ้านนอแล บ้านขอบด้ง บ้านปางม้า บ้านคุ้มและบ้านหลวง โดยแต่ละพื้นที่นั้นทางสถานีฯ อ่างขางจะจัดสรรการเพาะปลูกผลผลิตไปตามวิถีชีวิตของแต่ละชนเผ่า และตามแผนการตลาดของส่วนกลางที่ส่งมาให้สถานีฯ อ่างขาง

            อาคารผลผลิต อยูใกล้สโมสรนี่เอง บ่าย 3 โมงแล้ว เมื่อพวกเรามาพบคุณภัทรประภา ชัยสุวิรัตน์ (แป้ง) นักวิชาการงานคัดบรรจุยังไม่ทันแนะนำตัวเอง ก็ได้ตื่นเต้นกับล่อสามตัว ที่แบกตะกร้าใส่ผักมาตัวละ 2 ใบ โดยมีเจ้าของมันเดินจูงมา ไม่น่าเชื่อว่าในยุคเทคโนโลยีล้ำสมัยเรายังได้มีโอกาสเห็นการเดินทางแบบย้อนยุคเช่นนี้ สอบถามกันแบบต้องปรับเข้าหากันนิดหน่อย เข้าใจได้ว่ามาจากบ้านปางม้า เส้นทางที่ลงมาประมาณแค่ 2 กิโลเมตร แต่ใช้เวลาชั่วโมงเต็ม เพราะทางชันรถยนต์ขึ้นไปไม่ได้ ฟังแล้วอยากตามล่อขึ้นเขาไป อยากเห็นวิถีชีวิตย้อนยุคที่บ้านปางม้า

            เสร็จภาระอันหนักหน่วง เจ้าล่อทั้งสามก็ได้รางวัลเป็นหญ้าสวยๆในสนามของสถานีฯ อ่างขาง ส่วนเจ้านายของมันก็จัดเรียงผักคะน้าสดใหม่ใส่ลัง “สีส้ม” ที่เจ้าหน้าที่วางไว้ให้ ด้วยท่าทางมีความสุขเพลิดเพลินกับท่าทางขะมักเขม้นจัดผักของชาวบ้านปางม้า สลับ
กับการถ่ายรูปล่อสามตัว พร้อมกับรับฟังข้อมูลจากคุณแป้ง ก็มีรถกระบะเข้ามาจอดอย่างรวดเร็ว มีชาวบ้าน 4-5 คน ลงจากรถรวดเร็วพอๆ กันพร้อมมีดบางๆ ในมือ ยกลังผักลง จัดการเฉือนก้านผักนอกๆ ออก เมื่อได้ผักที่ต้องการแล้ว เอาใส่ตะกร้า “สีเหลือง” ที่เจ้าหน้าที่นำมาเตรียมไว้ให้อย่างรวดเร็วเช่นกัน

ส่วนผักที่เด็ดทิ้งมากมายนั้น โยนลงตะกร้าใบใหญ่ที่ทางสถานีฯอ่างขาง เตรียมไว้ ผักนี้เอาไว้ทำปุ๋ยบ้าง ชาวบ้านเอาไปเลี้ยงสัตว์บ้าง

ท่ามกลางบรรยากาศที่ปะปนกันระหว่างการทำธุรกิจแบบเร่งด่วนของผู้มาใหม่ กับความเนิบช้าของคนปางม้า คุณแป้งให้ข้อมูลว่าเวลาทำการของอาคารผลผลิต เปิดช่วง 07.30 – 16.30 น. แต่ทุกๆ วันศุกร์จะไม่มีการรับผลผลิต จะเป็นวันทำความสะอาดใหญ่ของอาคารผลผลิต
แต่ละวันแบ่งการรับผลผลิตเป็น 2 ช่วงเวลา
        ช่วงเช้า จะรับประเภทอินทรีย์ (ไม่ใช้สารเคมีกับผลผลิต) ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตประเภทผักและสมุนไพร จะมีการนำเข้าของผลผลิต 6 วันต่อสัปดาห์ เนื่องจากมีการปลูกที่เยอะกว่าแบบ GAP
        และช่วงบ่าย จะรับประเภท GAP (Good Agriculture Practices)ใช้ปุ๋ยและยาตามมาตรฐานของโครงการหลวงเท่านั้น และต้องผ่านการตรวจสอบว่าผลผลิตนั้นเมื่อนำมาส่ง สารเคมีได้เจือจางไปอยู่ในระดับปลอดภัยแล้ว

ชาวบ้านที่นำผลผลิตเข้ามาส่งที่อาคารผลผลิตนี้ คือ กลุ่มสมาชิกของโครงการหลวง ทั้ง 5 หมู่บ้านที่โครงการหลวงดูแลอยู่ ผลผลิตของชาวบ้านจะเป็นไปตามการจัดสรรของสถานีฯ อ่างขาง เพื่อให้ได้ผลผลิตส่งโครงการหลวง หรือผู้บริโภคได้ครบตามแผน ในกรณีที่เกิดปัญหาไม่สามารถส่งผลผลิตได้ตามกำหนด ก็จะต้องแจ้งไปยังศูนย์ต่างๆ เพื่อช่วยกันให้ได้ครบตามแผนประจำปี ทุกแปลงพืชไร่หรือไม้ผลจะมีเจ้าหน้าที่เฉพาะทางออกไปเยี่ยมเยียนและสุ่มตรวจสอบเป็นระยะ ถ้ามีปัญหาก็จะมีเจ้าหน้าที่อารักขาพืชไปดูแล ตามระบบของโครงการหลวงมีขั้นตอนการสุ่มตรวจสอบอีกถึง 3 ขั้นตอนทั้งก่อน และหลังการรับผลผลิต

ขั้นตอนที่ 1 เจ้าหน้าที่จะออกไปสุ่มตรวจสอบการใช้สารเคมีจากแปลงปลูกของเกษตรกรก่อน ถ้าผ่านก็เก็บผลผลิตมาส่งได้
ขั้นตอนที่ 2 สุ่มตรวจสอบที่อาคารผลผลิตมีห้องแล็บในการทดสอบ
ขั้นตอนที่ 3 เมื่อผลผลิตถูกส่งไปถึงศูนย์ผลผลิตเชียงใหม่ที่แม่เหียะที่นั่นจะสุ่มตรวจที่ห้องแล็บใหญ่อีกครั้ง

เมื่อทำความสะอาดผักจัดเรียงใส่ตะกร้าเรียบร้อยแล้ว ก็เอามาชั่งน้ำหนัก เจ้าหน้าที่จะบันทึกลงบัญชีไว้ให้เกษตรกร โดยหักน้ำหนักออกลังละ 2.5 กิโลกรัม เช่น ผัก 4 ลัง ชั่งได้ 40.80 กิโลกรัม เวลาบันทึกต้องหักน้ำหนักลังออก 4 ลังจำนวน 10 กิโลกรัม เท่ากับน้ำหนักผลผลิต30.80 กิโลกรัม ลงบันทึกไว้ในตารางรับผลผลิต พร้อมทำเอกสารรับผลผลิตให้เกษตรกรทุกครั้ง เกษตรกรสามารถนำมาตรวจสอบกับเอกสารที่ทางสถานีฯ อ่างขาง ติดประกาศไว้หน้าอาคารผลผลิต การจ่ายเงินจะรวม
จ่ายเป็นงวด งวดละ 1 สัปดาห์

ห้องคัดแยก
ชั่งน้ำหนักและลงบันทึกเรียบร้อยว่ารับซื้อแล้ว ก็นำเข้าห้องคัดแยกในห้องคัดแยก พนักงานต้องใส่เครื่องแบบพร้อม เพื่อความสะอาดและปลอดภัย และพวกเราก็ได้รับคำเตือนว่า เข้าไปในห้องแล้ว…ดูแต่ตา ถ่ายแต่ภาพ มือห้ามแตะนะคะ…

ได้เห็นการตัดแต่งผักอีกครั้ง อะไรกัน!!! ผักกาดฮ่องเต้ที่เราเห็นว่าสวยสดน่ากิน ขณะนี้พนักงานผู้ชำนาญการกำลังกำจัดใบงามๆ ออกไปอีกจนพอใจ แล้วก็เอาผ้าสะอาดเช็ดถูโดยเฉพาะส่วนโคน ให้ไม่มีเศษอะไรติดเป็นมลทิน แล้วบรรจุลงถุง…“ดี อร่อย” ดูเขามีความชำนาญในการคะเนว่า จะใส่กี่หัวให้ได้น้ำหนักที่ต้องการ

คุณแป้งบอกว่า น้ำหนักก่อนบรรจุลงถุงนี้จะเผื่อเอาไว้สำหรับการเดินทาง เมื่อถึงผู้บริโภคน้ำในผักจะหายไปบางส่วน นอกจากจัดใส่ถุงพร้อมขาย ก็มีการจัดใส่ลังส่งตามเอกสารสั่งซื้อที่ได้รับจากส่วนกลางสำหรับผลิตผลอินทรีย์จะใช้กับถุงบรรจุที่มีเครื่องหมายของ ออร์แกนิค (ORGANIC) เท่านั้น

การบรรจุผลผลิตลงถุงหรือลังนั้น จะทำของแต่ละเกษตรกรให้เสร็จเป็นชุดๆ ไป เพราะในการบรรจุทุกถุงหรือลังจะมีสติ๊กเกอร์ที่ทำให้เรารู้ว่า ผลผลิตนั้นส่งมาจากสถานีฯ หรือศูนย์ฯ ไหน และมาจากแปลงพืชไร่ของเกษตรกรรายใดผลผลิตจะส่งไปที่ศูนย์ผลิตผลโครงการหลวงเชียงใหม่ที่แม่เหียะ และจะสุ่มตรวจสอบอีกครั้ง ก่อนส่งให้ผู้บริโภคต่อไปหลังคัดบรรจุเสร็จจะต้องทำความสะอาดพื้นที่ทำงานให้สะอาด ก่อนที่ผลผลิตในรอบต่อไปจะเข้ามา เพื่อลดการปนเปื้อนของสารเคมีต่างๆ

ลังหลายๆ สีที่เราเห็นในห้องนั้น คือ ลังใส่ผลผลิตที่โครงการหลวงจะแยกสีลังไว้ตามประเภทของผลผลิต คือ
สีเหลือง สำหรับใส่ผักอินทรีย์ (ORGANIC)สีส้ม สำหรับใส่ผักปลอดสารพิษ( GAP )
สีเขียวอ่อน สำหรับใส่ผักอินทรีย์แต่ส่งให้ MK
สีเขียว สำหรับใส่ไม้ผล
สีน้ำเงิน สำหรับใส่ผักอินทรีย์ ส่งให้เฉพาะ บ.พงษ์เทพ ของสิงคโปร์ หลักๆ เป็นเห็ดและผัก
สีดำ สำหรับใส่ผลผลิตจากในฟาร์ม ในสวน ในแปลงของเกษตรกร
เพื่อนำส่งเข้ามาเปลี่ยนเป็นลัง ตามชนิดพืชผล จะไม่นำเข้ามาในส่วนของการคัดแยกที่อาคารผลผลิต

จากนั้นก็ไปที่ ห้องแพ็คผลไม้ อยู่ติดกับอาคารผลผลิตนี่เอง ในห้องเล็กๆ เข้าไปถึง เจ้าหน้าที่กำลังแพ็คลูกกีวี พันธุ์สีเหลือง ไม่ค่อยมีขนดูเหมือนละมุดมากกว่า

ในนี้มีพลับด้วย พลับพันธุ์ Fuyu ที่พวกเรารู้จักและ อีกพันธ์ุชื่อ Hyakume ออกเสียงยากนิดหน่อย สู้เรียกพันธุ์ช็อกโกแลตไม่ได้ แต่ดูแล้วเหมือนพลับนี้เป็นโรค คือ ผิวมีลายสีน้ำตาลเป็นเส้นริ้วๆ แต่เจ้าหน้าที่บอกว่ายิ่งไม่สวยนี่แหละยิ่งอร่อย อ๊ะ…เป็นไปได้ไง ใครจะเชื่อ ก็เลยได้ลองชิมเนื้อสีน้ำตาลเหมือนผลไม้เสียแล้ว อืม…หวานกรอบ อร่อยจริงๆแต่มันไม่เป็นเช่นนั้นทุกลูก ด้วยเหตุผลของสายพันธุ์มันเป็นพลับพันธุ์ฝาดที่มีโอกาสหวาน ถ้าเกสรผสมกันแล้วได้เมล็ดข้างในหลายๆ เมล็ดเมื่อแก่ดูเหมือนเมล็ดทั้งหลายจะช่วยกันขับไล่ความฝาดไป แล้วเนื้อในก็จะเป็นสีน้ำตาลแบบละมุด แต่ยังคงกรอบและหวานฉ่ำชื่นใจ ตามที่พวกเราได้มีโอกาสชิม

20 กันยายน 2560
เช้าที่แปลงชา 2000
หลังจากที่รีบตื่นมาไล่ล่าตามหาลานกางเต็นท์ม่อนสน จนได้ชมทะเลหมอกสมใจ ก็หวังไปเจอหมอกอีกครั้งที่ไร่ชา 2000 ตามคำแนะนำของเจ้าถิ่น คุณตรี ประชาสัมพันธ์ชั้นเยี่ยมของสถานีฯ อ่างขาง ไม่ผิดหวังที่ได้ไปชม

แม้ไปไม่ทันหมอก แต่อากาศสดชื่น ทิวทัศน์ของเนินเขากับแถวยาวๆ เป็นระเบียบของต้นชา ทำให้พวกเราอ้อยอิ่งขึ้นลงหามุมงาม
ถ่ายภาพกันจนเริ่มหิวอาหารเช้าจึงยอมกลับ

ไร่ชา 2000 เป็นชาอินทรีย์ ผลิตส่งเฉพาะแอมเวย์เท่านั้น เพราะค่าใช้จ่ายสูง เป็นสินค้าที่ตรงกับแนวทางการค้าของแอมเวย์ แต่ก่อน
โรงผลิตชาตั้งอยู่ในสถานีฯ อ่างขาง เป็นที่ให้คนมาศึกษาดูงานได้ แต่เมื่อทำชาอินทรีย์ส่งแอมเวย์ปริมาณมาก และการขนส่งชาอินทรีย์เข้ามาไม่สะดวก จึงสร้างโรงงานผลิตไว้ในไร่ชาเลย เมื่อเก็บแล้วก็เอาเข้าโรงงานและการผลิตชาอินทรีย์ก็ทำให้ไม่สะดวกที่จะเปิดให้ใครๆ เข้าไปในโรงงาน

การเก็บใบชาของชาวบ้านที่นี่จะไม่เก็บ 3 ใบเหมือนที่อื่น ชาวบ้านคุ้นชินมาแต่เดิมในการเก็บใบชาทีละ 4 ใบ ทางสถานีฯ อ่างขาง ก็อนุโลมให้ และต้องจัดพนักงานมาเด็ดให้ได้ตามมาตรฐานชา ที่ต้องจัดส่งให้กับทางแอมเวย์อีกครั้ง

ที่แปลงพืชผักอินทรีย์ของบ้านนอแล
หลังอาหารเช้าได้เจอคุณตรีอีกครั้ง พาพวกเราไปบ้านนอแล หุบเขานี้อยู่ติดชายแดนพม่า เราคงเข้าไปส่วนบนที่เรียกขอบด้ง จึงมองเห็นหมู่บ้านและไร่ผักไล่ลงไปในหุบเขาเป็นแอ่งกระทะ เหนือไร่เป็นหมู่บ้านถัดไปเป็นยอดเขาเห็นค่ายทหารพม่า อีกฝั่งเป็นหน้าผามองไปไกลได้ถึงแม่อาย เห็นพระเจดีย์แก้ววัดท่าตอนแวววับอยู่ไกลๆ เห็นแม่น้ำกกเลื้อยไปในที่ราบแล้วจางหายไปในเส้นขอบ

บ้านนอแลอยู่ติดชายแดนเขตพม่า แต่ก่อนมีการรบพุ่งกันบ่อยๆ มีการอพยพของชนกลุ่มน้อยหลายครั้ง ในปี พ.ศ. 2527 ชนเผ่าปะล่องนำโดยนายนาโม มันเฮิง ได้เข้ามาถวายฏีกาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เมื่อครั้งมาทรงงานที่สถานีฯ อ่างขาง พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสให้ชนเผ่าปะหล่องอาศัยอยู่ที่บ้านนอแล ได้จัดสรรพื้นที่ในบริเวณนี้ให้เป็นที่ทำกิน และรับเป็นสมาชิกโครงการหลวง

ปัจจุบันบ้านนอแลมีประชากรประมาณ 153 ครัวเรือน พื้นที่ทำกิน 153 ไร่ แบ่งเป็นแปลงละ 1 ไร่ต่อ 1 ครอบครัว ทำแปลงขั้นบันไดให้สามารถสร้างเป็นโรงเรือนคลุมพลาสติกสีขาว ขนาดมาตรฐานที่สถานีฯ อ่างขาง ใช้ในการปลูกพืชผัก การปลูกพืชผักในโรงเรือนทำให้สามารถควบคุมได้ทั้งการปนเปื้อน การให้น้ำและแสงแดดในหน้าร้อนที่อาจแรงเกินไปสำหรับพืชผัก ทั้งยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืชอีกด้วย

ที่บ้านนอแลได้รับการส่งเสริมให้ปลูกพืชอินทรีย์ ผักที่ส่งเสริม ได้แก่ คอส, บัตเตอร์เฮด, เบบี้คอส, ผักกาดหอมใบแดง, ผักกาดหอมห่อ, เรดคอรัล, โอ๊คลีฟเขียว, โอ๊คลีฟแดง เป็นต้น

การปลูกพืชอินทรีย์ นอกจากในหมู่บ้านจะต้องไม่มีการใช้สารเคมีแล้ว บริเวณใกล้เคียงก็ต้องไม่มีสารเคมีปลิวมาปนเปื้อน ดังนั้นการรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ และอยู่ห่างไกลจากไร่อื่นๆ เช่น พื้นที่หุบเขากว้าง แต่ไม่ใหญ่นักของบ้านนอแลนี้ จึงเหมาะแก่การปลูกพืชอินทรีย์ที่ทางสถานีฯ อ่างขางส่งเสริมให้ปลูกนอกจากการปลูกพืชผักอินทรีย์แล้ว ยังมีเรือนเพาะพันธุ์กล้า ซึ่งชาวบ้านที่ต้องการรายได้เพิ่มก็จะรับจ้างปลูกกล้าไว้ให้สถานีฯ อ่างขาง ขายให้กับเกษตรกรในหมู่บ้าน การผลิตกล้าพืชผักหรือพืชผลของสมาชิก สามารถเตรียมตัวได้จากตารางที่ขึ้นกระดานไว้ให้เป็นไตรมาสตามแผนการซื้อจากส่วนกลาง มีการจัดสรรชนิดพืชผักที่จะปลูกให้แต่ละกลุ่มอีกครั้ง เพื่อให้ได้ผลผลิตตามแผนและเฉลี่ยรายได้ให้ทั่วถึง

นอกจากการปลูกพืชผักอินทรีย์ตามโควตาที่ได้รับแล้ว พื้นที่ตามซอกมุมที่เหลือเราได้พบพืชพันธุ์อื่นๆ ที่เป็นพืชสมุนไพรแทรกอยู่ทั่วไป เช่น

ปู่เฒ่าทิ้งไม้เท้า มีสารต้านความเมื่อยล้า เป็นไม้หัวใต้ดินมีเพียง1 ใบ เมื่อเด็ดไปแล้วจึงแตกใบใหม่ ค่อนข้างหวงพันธุ์ ระยะการเติบโตใช้เวลา 3 – 4 ปีต่อ 1 ต้น
เจียวกู่หลาน ป้องกันโรคความดัน (เป็นความดันต่ำไม่ควรทาน) เป็นไม้เถาปลูก 4 – 6 เดือน ก็สามารถเก็บขายได้ทั้งเถาเลย ปลูกให้เลื้อยคลุมสแลนที่คลุมปู่เฒ่าทิ้งไม้เท้า เป็นการใช้พื้นที่อย่างเอื้อประโยชน์กัน
มะเขือเทศต้น พันธุ์แทมมาโรโร่ ใช้ทำน้ำมะเขือเทศ
ต้นดอกไม้จีน ดอกสีส้มๆ ตากแห้งใส่ในต้มจืด
หญ้าอิบูแคร์ เป็นต้นหญ้าที่อดีตเคยมีชาวบ้านนำไปทำเป็นกำไรข้อมือผูกให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙

ที่บ้านขอบด้ง
หมู่บ้านมูเซอร์ดำและมูเซอร์แดง แปลงพืชไร่นอกโรงเรือน ที่นี่กำลังเตรียมแปลงสำหรับสตรอว์เบอร์รี่ ที่กำลังจะถึงฤดูกาลทานสตรอว์เบอร์รี่ของนักท่องเที่ยวทั้งประเทศแล้วที่บ้านขอบด้งนี่เอง ที่เราได้เห็นพื้นที่ที่ในหลวง รัชกาลที่ ๙ เสด็จฯผ่านมาด้วยม้าและประทับหยุดพักบนยอดเนิน ซึ่งปัจจุบันพื้นที่นั้นยังคงอยู่ เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ที่ชาวบ้านขอบด้งดูแลรักษาด้วยการปล่อย
ให้เป็นเนินหญ้าวงกลมเห็นเด่นชัด มีม้าหินตั้งอยู่ตรงกลาง

ภาพที่เห็นตรงหน้าสร้างความรู้สึกที่แตกต่างระหว่างชาวบ้าน 2หมู่บ้าน บ้านนอแลเรารู้สึกถึงความเป็นอยู่ ที่อยู่ในระบบค่อนข้างชัดเจน แต่ที่บ้านขอบด้งรู้สึกถึงความอิสระของชาวบ้าน อาจเป็นด้วยแปลงไร่ที่เปิดโล่งจนเห็นแต่ดินสีแดง ดูยังเป็นไร่ในอดีตที่เราคุ้นเคย

แปลงพืชไร่ดูกว้างใหญ่ ทำให้สงสัยว่าแล้วแหล่งน้ำมาจากไหน

คุณตรีบอกว่า ในอ่างขางมีสายน้ำสำคัญอยู่ 4 สาย คือ ห้วยแห้ง ห้วยซ่าน ห้วยอ่างขาง และห้วยแม่เผอะ เมื่อมีฝนตกลงมาน้ำในลำห้วยสาขาต่างๆ จะไหลลงสู่ฝายที่กั้นไว้ แล้วสูบขึ้นเก็บในอ่างที่มีอยู่ในอ่างขางทั้งหมด 4 จุด จากนั้นจึงปล่อยลงไปตามหมู่บ้านเพื่อใช้งาน ส่วนที่ไหลล้นจากฝายจะไหลลงสู่หลุมยุบ (Sink hole) ที่มีอยู่หลายแห่งซึ่งน้ำจะหายลงไปใต้ดินหมด ทำให้ไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ได้ตลอดทั้งปี และไม่สามารถสร้างฝายกักเก็บได้ตลอดลำห้วย จากปัญหาดังกล่าวกรมทรัพยากรน้ำบาดาลจึงได้สำรวจพื้นที่ศึกษาความเป็นไปได้ของแหล่งน้ำบาดาลที่จะนำมาใช้ทดแทนและสำรองน้ำเก็บไว้ใช้ต่อไป

แปลงสตรอว์เบอร์รี่ติดชายแดน
แปลงสตรอว์เบอร์รี่…รักในหลวงสุดดวงใจ…แค่ได้เห็นป้ายก็รู้สึกว่าแปลงสตรอว์เบอร์รี่นี้สวยงามน่าประทับใจแล้วล่ะ ไม่น่าเชื่อว่าเราจะอยู่ชิดติดชายแดนพม่ามากขนาดนี้ ชาวปะหล่องเจ้าของสวนสตรอว์เบอร์รี่ 1 ไร่ เดินมาเปิดประตูไร่ให้พวกเราอย่างใจดี ทั้งยังอยู่ด้วยช่วยบอกเล่าเรื่องราวของสตรอว์เบอร์รี่จนพวกเรากลับ วันนี้ไปไร่ไหนๆ ก็ไม่ค่อยพบใคร เพราะเป็นวันที่ชาวปะหล่องไปวัด

ที่นี่มีไร่สตรอว์เบอร์รี่และโรงเรือนปลูกกุหลาบ พวกเราเดินไปไม่ถึงโรงเรือนกุหลาบ ได้แต่ชื่นชมแปลงสตอว์เบอร์รี่บนไหล่เขา เดินไม่ดีสะดุดเท้าตัวเองอาจหน้าคะมำกลิ้งลงไปตามไหล่เขา สิ้นสุดตรงไหนก็ยังไม่รู้เลยเดินดูไปชักอยากให้มีลูกแดงๆ ให้ได้ชมและชิมบ้างจัง แต่สตรอว์เบอร์รี่นี่เขาต้องใช้สารเคมีนะ จะชิมในไร่ได้หรือเปล่าก็ไม่รู้ ที่ไร่ก็ได้ข้อมูลของสตรอว์เบอร์รี่มานิดหน่อย อาจเป็นเพราะเราสะสมข้อมูลกันมาตั้งแต่เมื่อวาน ถึงตอนนี้คงไม่มีพื้นที่เก็บแล้ว แต่ละคนจึงเดินห่างกันไป ต่างคนต่างหามุมถูกใจถ่ายภาพ ได้ยินว่าไร่นี้ก็อยู่ในความดูแลของสถานีฯ อ่างขางได้รับที่ดินไว้ปลูกพืชผักส่งโครงการหลวง ครอบครัวละ 1 ไร่ เช่นกัน ช่วง
นี้ก็เตรียมปลูกสตรอว์เบอร์รี่จะใช้เวลา 2 เดือน เมื่อมีใบออกมา 8 ช่อ ก็จะเริ่มมีดอกออกมา หลังจากเป็นดอกประมาณ 25 – 30 วัน ก็จะกลายเป็นลูก หนึ่งต้นจะเก็บลูกไว้เพียง 6 ลูก เพื่อให้ได้ลูกที่โตขายได้ราคาที่ดีขยายพันธุ์โดย “ไหล” ซึ่งในหนึ่งต้นนั้นจะมีไหลอยู่ประมาณ 5 – 8 ไหล

ได้ยินคำว่าไหลก็ไม่เข้าใจ เห็นถุงดำใส่ต้นสตรอว์เบอร์รี่เล็กๆ วางแทรกตามต้นที่ปลูกไว้ก็สงสัย เพิ่งรู้ว่า 2 เรื่องนี้คือเรื่องเดียวกัน

สตรอว์เบอร์รี่จะทอดตัวเลื้อยไปตามพื้นดิน แล้วจะมีรากและต้นอ่อนงอกออกมาตามข้อ เรียกว่าการขยายพันธุ์โดย “ไหล” ผู้ปลูกจะเอาต้นอ่อนใส่ถุงดำเลี้ยงไว้ใกล้ต้นแม่จนแข็งแรงแล้ว ก็จะตัดไหลแล้วนำต้นอ่อนไปปลูกในแปลงใหม่

สตรอว์เบอร์รี่ก็เหมือนพืชผลทุกชนิดที่ต้องคอยวิจัยหาพันธุ์ใหม่ๆ อยู่เรื่อยๆ เพราะพันธุ์เดิมเมื่อปลูกไปสักพักก็จะเริ่มมีปัญหาสู้โรคไม่ไหว ต้องพัฒนาพันธุ์ใหม่ๆ ขึ้นมา ให้แข็งแรงแข่งกับโรคต่างๆ ได้ ทั้งยังปรับปรุงพันธุ์ นำจุดเด่นของพันธุ์ใหม่มาลดจุดด้อยของพันธุ์เก่า ขณะเดียวกันเป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคกลับมาสนใจอีกครั้ง

สวนกีวี่ที่บ้านหลวง
ได้ไปดูสวนกีวี่ของชาวจีนยูนนานที่บ้านหลวง เดิมทีเป็นบ้านที่ปลูกพืชผลส่งโครงการหลวง จากบ้านเล็กๆ ตอนนี้กลายเป็นบ้านตึกหลังใหญ่ จากความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นชีวิตคงเปลี่ยนไป สวนกีวีที่เคยมีพื้นที่มากมายเหลือเพียงไม่ถึงไร่ แต่เราก็ได้เจอลูกกีวีบนต้นกีวีจริงๆ

เรื่องราวของกีวี่เกิดขึ้นเมื่อ 100 กว่าปีมาแล้ว เมื่อมิชชันนารีชาวนิวซีแลนด์เดินทางกลับมาจากประเทศจีน และได้นำผล “ไชนิส กูสเบอร์รี่” (Chinese gooseberries) กลับมาด้วย ด้วยสภาพดินที่อุดมสมบูรณ์ และอากาศที่เอื้ออำนวย ผลไม้ชนิดนี้จึงมีรสชาติดีขึ้น

ปี พ.ศ.2502 พวกเขาจึงได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “กีวี่ฟรุต” (Kiwifruit) ตามชื่อนกกีวี่ที่เป็นนกสัญลักษณ์ของประเทศนิวซีแลนด์ในปี พ.ศ.2519 โครงการหลวงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำพันธุ์กีวี่ฟรุตจากประเทศนิวซีแลนด์เข้ามาปลูกครั้งแรก ที่สถานีฯ อ่างขาง และพบว่ากีวี่ฟรุตบางพันธุ์ออกดอกและติดผลได้ดี แต่เนื่องจากพันธุ์กีวี่ฟรุตที่นำมาปลูกส่วนใหญ่เป็นชนิดต้องการอากาศที่ค่อนข้างหนาวเย็น ผลผลิตกีวี่ฟรุตของโครงการหลวงที่มีจำหน่ายจึงน้อยมาก ปัจจุบันโครงการหลวงได้วิจัยและพัฒนาพันธุ์กีวี่ฟรุตได้สายพันธุ์ใหม่ๆที่สามารถปลูกได้ดีในสภาพอากาศที่ไม่หนาวเย็นนัก กีวี่ฟรุตจึงนับว่าเป็นไม้ผลที่มีศักยภาพดีชนิดหนึ่งในอนาคต



ภายในสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
จัดพื้นที่ไว้เป็นเสมือนสวนพันธุ์ไม้กึ่งวิจัยและกึ่งท่องเที่ยว เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวทุกรูปแบบ ถ่ายภาพกับดอกไม้งามก็มีให้เลือกมากมาย อยากศึกษาหาความรู้เรื่องพันธุ์ไม้เมืองหนาวก็มีเรื่องราวให้ความรู้ อยากเดินเล่นยามเย็นก็มีบ้านพักไว้เลือกพักหลายแบบ อยากชิมอาหารทานผักสดๆ ก็มีร้านอาหารไว้บริการ อยากซื้อของกลับไปฝากใครก็มีร้านค้า ที่มีทั้งของกินอร่อยและกินเพื่อสุขภาพ
หรือสินค้าหัตถกรรมบ่งบอกวิถีชีวิตชาวไทยภูเขาน่ารักๆ ไว้ให้ได้เลือกซื้อ

สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำแม่เผอะ
ทุกครั้งที่มาสถานีเกษตรหลวงอ่างขางจะเห็นป้ายสำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำแม่เผอะ ติดตั้งอยู่ตรงทางแยกก่อนถึงทางเข้าสถานีฯอ่างขาง แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นสถานที่ที่เราเข้าไปได้หรือไม่ แต่เมื่อได้ทำความเข้าใจเรื่องราวของโครงการหลวงมาหลายแห่งแล้ว ทำให้มั่นใจว่าทุกแห่งที่มีสถานีฯ หรือศูนย์พัฒนาฯ ของโครงการหลวงก็จะมีเรื่องราวของป่าไม้ เกษตรพื้นที่สูง และการอนุรักษ์ต้นน้ำอยู่คู่กันเสมอ เราจึงตั้งใจจะไปขอข้อมูลเรื่องของต้นน้ำลำธาร ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อ 40 ปีก่อน พร้อมกับการเกิดโครงการหลวงอย่างไรบ้าง แต่ไม่พบเจ้าหน้าที่แม่บ้านที่ทำความสะอาดบ้านพักบอกว่าเจ้าหน้าที่ออกไปช่วยกันทำฝายที่บ้านหลวงกัน ตอนบ่ายถึงจะเข้ามา เลยขออนุญาตถ่ายรูปแล้วกัน

เพิ่งรู้ว่าข้างในนี้มีบ้านพักด้วย บรรยากาศเงียบสงบดีมากๆ เลย เมื่อคืนเราน่าจะมาขอพักที่นี่นะ จะได้ฟังเสียงนก ที่มีป้ายบอกไว้ข้างบ้านหลังเล็กๆ ระเบียงน่ารักบนเนินสูง ได้ยินเสียงนกหลายชนิดแต่ไม่เห็นตัว มีเส้นทางให้เดินลงไปในหุบนั้น แต่ชันจนไม่กล้าลง พวกเราตั้งใจมาดูเรื่องต้นน้ำลำธาร เลยลัดเลาะหาลำธารตามแนวดงกล้วยไป ลึกเข้าไปมีที่ทำงานเจ้าหน้าที่ ดูเข้ากับบรรยากาศป่าดีจัง ชอบไผ่ลำใหญ่ และกอใหญ่ข้างออฟฟิต เดินต่อเข้าไปในหุบฟังเสียงนก ได้เห็นตัวอย่างการทำฝายเลยถ่ายรูปเก็บไว้ กลับออกมาเจอท่านหัวหน้ากลับเข้ามาพอดีได้มีโอกาสพูดคุยกันนิดหน่อย เพราะหัวหน้าต้องกลับไปดูการทำฝายต่อและเราก็ต้องลงจากเขาแล้ว

จากสภาพทั่วไปของอ่างขาง หรือป่าเขาของเชียงใหม่ที่สมบูรณ์ในปัจจุบันนี้ ย่อมบ่งบอกว่าการปฏิบัติงานของหน่วยรักษาต้นน้ำประสบผลสำเร็จเท่าๆ กับมูลนิธิโครงการหลวงประสบผลสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนบนพื้นที่สูง และจากการได้พบ หัวหน้าสุวิทย์แสงศรีจันทร์ หัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำแม่เผอะ ที่ยังเปี่ยมด้วยอุดมการณ์ของวิชาชีพที่เรียนมา ทำให้มั่นใจว่าสภาพต้นน้ำลำธารที่เราเห็นว่าชุ่มชื้นสวยงามนี้ จะยั่งยืนและมั่นคงต่อไป

การจัดการต้นน้ำลำธารในประเทศไทย

การจัดการต้นน้ำลำธารในประเทศไทย เป็นการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นจัดการปัจจัยหลัก ได้แก่ดิน น้ำ และป่าไม้ และอีกด้านหนึ่ง ได้แก่ การจัดการมนุษย์ ซึ่งเป็นสาเหตุของการทำให้ทรัพยากรต้นน้ำเสื่อมโทรมลง วัตถุประสงค์ของการจัดการต้นน้ำ เพื่อให้น้ำมีคุณภาพตรงตามความต้องการต่อการใช้ประ-โยชน์ในแต่ละประเภท มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ และมีระยะเวลากรไหลที่เหมาะสม ไม่มากเกินไปในฤดูฝนและไม่น้อยเกินในฤดูแล้ง
………………………
พ.ศ. 2519 กรมป่าไม้ได้จัดตั้งหน่วยงาน โครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำ ในสังกัดกองอนุรักษ์ต้นน้ำ เพื่อดำเนินการปลูกป่า
ปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำลำธาร และได้ร่วมกับโครงการหลวงพัฒนาชาวเขา ในการจัดตั้งหมู่บ้านชาวเขา การพัฒนาอาชีพ และ
พัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐาน เพื่อลดการทำไร่เลื่อนลอย แก้ไขปัญหาวามขัดแย้งในด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน

พ.ศ. 2535 มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมป่าไม้ ปรับเปลี่ยนชื่อ กองอนุรักษ์ต้นน้ำเป็นส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ ภายใต้สังกัด
สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติกรมป่าไม้ มีหน้าที่ในการสำรวจวิเคราะห์สภาพพื้นที่ต้นน้ำลำธาร วางแผนจัดการ วางแผนการใช้ที่ดินสาธิตและส่งเสริมการทำการเกษตรพื้นที่สูง จัดระเบียบชุมชน ฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบนพื้นที่สูง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงพระราชทานแนวทางของการอนุรักษ์และพัฒนาต้นน้ำลำธารมาอย่างต่อเนื่อง ทรง
เป็นขวัญและกำลังใจให้กับผู้ที่ปฏิบัติงานในถิ่นกันดารห่างไกลยากที่ใครจะเข้าถึง
………………………….
ดังกระแสพระราชดำรัสเมื่อครั้งเสด็จฯ ทอดพระเนตรแผนที่เขตปฏิบัติงานของโครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำหน่ายที่ 10 (แม่เผอะ)
ความว่า….การปลูกป่าทดแทนในสภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขา ส่วนใหญ่จะได้ผลไม่เต็มที่ และกล้าไม้บางส่วนจะเฉาตาย โดยเฉพาะ
บริเวณสันเขา เนื่องจากมีความแห้งแล้งมาก เพราะฉะนั้นจึงควรย้ายกล้าไม้ส่วนที่คิดว่าจะเสียเปล่า ไปปลูกขนานไปตามแนวร่องน้ำ
ทั้งสองข้าง โดยสร้างฝายเล็กๆ กั้นน้ำไว้เป็นระยะๆ พร้อมทั้งต่อท่อไม้ไผ่จากลำน้ำเพื่อไปรดตามแนวกล้าไม้ให้ได้รับความชุ่มชื้น ต่อไปต้นไม้ก็จะขึ้นคลุมแนวร่องน้ำ อันจะทำให้ความชุ่มชื้นค่อยๆ แผ่
ขยายออกไป และปริมาณน้ำก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้ควรทำ
โครงการดังกล่าวเพื่อเป็นการสาธิตที่หน่วยต้นน้ำด้วย….

คัดลอกบางส่วนจาก…หยาดหยดจากฟากฟ้า สู่ผืนป่าต้นน้ำลำธารไทย
ของสำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๕๙

หมู่บ้านหัตถกรรมชาวปะหล่อง
มาถึงอ่างขางแล้วไปไม่ถึงสุดเขตประเทศไทย ก็เหมือนไปไม่ถึงอ่างขาง บ้านปะหล่องนอแลมีประวัติเขียนไว้ที่ผนังบ้านศูนย์กลางหมู่บ้านเขียนไว้ว่า ประวัติย่อบ้านนอแล ปี 2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ได้เสด็จฯ มาที่โครงการหลวง นายนาโม มันเฮิง ได้เข้าเฝ้าและได้ถวายพระ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ท่านได้ตรัสถามว่าบ้านอยู่ที่ไหน นายนาโมตอบว่า บ้านอยู่ปาคี ในหลวงได้ดูในแผนที่แล้วบ้านปาคีอยู่ในเขตพม่า ในหลวงได้กาบนแผนที่โดยให้อยู่บ้านปะหล่อง (บ้านนอแล) บ้านนี้ปัจจุบันเป็นศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามแนวชายแดนไทย – เมียนมา ฝั่งตรงข้ามเป็นถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ เขียนภาพโครงการของในหลวง รัชกาลที่ ๙ และพระบรมฉายาลักษณ์ ด้วยฝีมือง่ายๆ แต่บอกเล่าเรื่องราวได้กระจ่างชัด

หมู่บ้านบนสันเขานี้ ถ้าเราเดินตามถนนก็ได้เห็นหน้าบ้านทุกหลังติดกันไป ไม่รู้ว่าข้างหลังบ้านทุกหลังที่กลายเป็นที่อยู่ของหมูนั้น มีธรรมชาติอันงดงามถูกบดบังอยู่ ชาวปะหล่องที่นี่ก็คือเจ้าของโรงเรือนพืชผักที่เราไปดูเมื่อวาน คนหนุ่มคนสาวเข้าไปทำงานในไร่ ส่วนคนเฒ่าคนแก่เย็บผ้ามาแขวนขายตามแผงที่จัดไว้ให้นักท่องเที่ยวได้มาจับจ่าย น่าเสียดายตรงที่ตลาดนี้แทบจะหาเสื้อผ้าที่ทอด้วยมือไม่ได้เลย แต่ด้วยบรรยากาศน่ารักน่าเอ็นดูของผู้เฒ่ากับเด็กน้อย ทำให้พวกเราเหมือนต้องมนต์ซื้อเสื้อฝีมือเย็บของชาวปะหล่อง แต่ผ้านั้นก็มาจากโรงงานกลับไปคนละตัว

สุดเขตแดนไทยที่อ่างขาง
ฐานปฏิบัติการบ้านนอแล แต่เดิมเป็นที่ตั้งของวัดชาวปะหล่อง มีห้องเรียนเคลื่อนที่ โดยเจ้าหน้าที่จากสถานีฯ อ่างขางทำหน้าที่สอนประจำอยู่ที่โรงเรียนบ้านขอบด้งไปสอนเป็นครั้งคราว แต่ในปี พ.ศ. 2528-2530 เกิดเหตุการณ์ขัดแย้งและมีการต่อสู้รุนแรงระหว่าง ขุนส่า ว้า ไทยใหญ่ และพม่า โดยกลุ่มว้าตั้งฐานอยู่ที่บริเวณวัดปะหล่อง พม่ายึดพื้นที่ได้ และชักธงพม่าขึ้นคู่ธงชาติไทย ทหารไทยซึ่งปฏิบัติการอยู่ที่ขอบด้ง จึงไปเจรจากับทหารพม่าจนเป็นที่เข้าใจกัน ทหารพม่าจึงได้ถอนกำลังออกจากพื้นที่วัดปะหล่อง บริเวณนี้จึงถูกจัดตั้งเป็น… “ฐานปฏิบัติการบ้านนอแล”…มาจนถึงทุกวันนี้

ถัดจากตลาดหัตถกรรมบ้านนอแลไปก็ถึงเขตปฏิบัติการบ้านนอแลในที่สุดพวกเราก็ได้มายืนชิดติดเขตแดนไทย-เมียนมา ไม่น่าเชื่อว่าพื้นที่เล็กๆ ที่ดูสงบทั้งสองฝั่งนั้นจะเคยเป็นแดนที่ร้อนระอุ มีเพียงแนวรั้วลวดหนามและไม้ไผ่หนาม ทำให้เรารู้ว่า ก้าวไปเกินกว่านี้ไม่ได้ ไม่น่าเชื่อว่าดงสนที่เห็นอยู่ฝั่งเมียนมา จะเป็นดงเดียวกับสนสามต้นทางฝั่งไทย ไม่น่าเชื่อว่าหญ้าทุกต้นในเขตรั้วไทยจะใช่หญ้าพันธุ์เดียวกันกับฝั่งเมียนมา ไม่น่าเชื่อว่าผู้คนที่ดูไม่แตกต่างกันจะอยู่ร่วมกันไม่ได้ ใครกันนะที่สร้างกฏเกณฑ์ปันเขตแดน เพื่อสร้างความหวงแหนแล้วทำลายล้างกันและกันแต่เราก็ดีใจเมื่อได้ฟังทหารผู้พิทักษ์รักษาชายแดน เล่าด้วยน้ำเสียงสดชื่นว่า “อยู่อย่างนี้ก็ได้เจอกัน เมื่อไม่กี่วันยังเข้าไปแข่งฟุตบอลเชื่อมสัมพันธ์กันเลยครับ”

ลานกางเต็นท์ม่อนสน อยากฟินกับสายลม อยากห่มผ้าหนาๆ อยากตื่นขึ้นมาชมพระอาทิตย์ หรืออยากใกล้ชิดทะเลหมอกก็
ต้องเลือกมานอนที่ ลานกางเต็นท์ม่อนสน ยามเช้าปลายฝนต้นหนาวที่พวกเรามา หมอกลงหนาหลังคืนฝนตกและอีกเช้าช่วงต้นหนาวเข้าเดือนพฤศจิกายน อุณหภูมิยังไม่ต่ำนัก แค่ 13 องศาเซลเซียส แต่ก็หนาวยะเยือกเพราะลมกรรโชกเป็นระยะ กลัวว่าถ้าแรงกว่านั้นอีกสักนิดเราคงปลิดปลิวไปพร้อมเต็นท์เป็นแน่

ทริปนี้ของพวกเรา จบลงด้วยความประทับใจที่ม่อนสน ความงามที่มนุษย์สร้างไม่ได้ แต่รักษาได้ด้วยความรักและเข้าใจ

ขอขอบคุณ…
คุณมณพัฒ ยานนท์ (พี่ตรี)
นักประชาสัมพันธ์สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
คุณณัฐทวี มาบางครุ (พี่เอ) นักวิชาการพีช
คุณภัทรประภา ชัยสุวิรัตน์ (แป้ง) นักวิชาการงานคัดบรรจุ
คุณสุวิทย์ แสงศรีจันทร์ หัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำแม่เผอะ

เรื่องราวและภาพจาก…
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
ที่อยู่ : หมู่ 5 บ้านคุ้ม ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง
จังหวัดเชียงใหม่ 50320
เบอร์โทรศัพท์ : 0 5396 9476-8 ต่อ 114
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวสถานีฯอ่างขาง
โทรศัพท์ 0 5396 9489, โทรสาร 0 5396 9475[:]

[:TH]ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง “หนองเขียว” (ดอกดองดึง)[:]

[:TH]

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2523เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ได้เสด็จฯ มาเยี่ยมราษฎร
ชาวเขาในพื้นที่ ทรงห่วงใยราษฎรซึ่งเป็นชาวเขาที่ยากจน สุขภาพอนามัยทรุดโทรม เด็กชาวเขาส่วนใหญ่เป็นโรคขาดสารอาหาร และยังไม่มีหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือ เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศที่โอบล้อมด้วยภูเขาหินปูน พื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดและลอนชันจึงมักพบหินปูนผุดขึ้นมาและมีหลุมยุบตัวกระจายอยู่ทั่วไป ไม่มีแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค จะมีก็แต่น้ำซับซึ่งปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการ ด้วยความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นของชาวเขา พระองค์ทรงช่วยเหลือและรับหมู่บ้านนี้ไว้ในโครงการหลวง

ต่อมามูลนิธิโครงการหลวงจึงได้จัดตั้ง “ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว” ขึ้น ทั้งนี้ศูนย์ฯ หนองเขียวมีหมู่บ้านใน
ความรับผิดชอบ คือ หมู่บ้านหนองเขียว (ลั๊วะ มูเซอ คะฉิ่น),หมู่บ้านหนองวัวแดง (ลีซอ), หมู่บ้านรินหลวง, หมู่บ้านใหม่
สามัคคี (อาข่า) และบ้านอรุโณทัย (จีนยูนนาน) ในท้องที่ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

27 กันยายน 2560
ก่อนถึง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว ตามรายทางที่ผ่านดอกไม้สีเหลืองหลายชนิดกำลังบาน เพื่อรอคอยวันที่ชาวไทยทั้ง
ประเทศจะได้ร่วมกันส่งเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สู่สวรรคาลัย ในวันที่ 26 ตุลาคม 2560
ที่กำลังจะมาถึง ดอกไม้สีเหลืองสีประจำพระองค์ จะเป็นดอกอะไรก็ได้ยิ่งเป็นดอกไม้ที่แผ่กระจายได้ทั่วนา สร้างประโยชน์ให้ผืนดินยิ่งดูสวยงามยิ่งนัก “ดอกปอเทือง” ตามคันนาถูกนำมาประดับไว้ข้างทาง กำลังบานไสวไกวดอกสีเหลืองพลิ้วไปกับสายลม ก็ต้องแวะลงไปชื่นชมกันหน่อยละซิ

ถึงศูนย์ฯ หนองเขียว เวลา 13.00 น. หลังจากเลยไปบ้านอรุโณทัยที่อยู่ห่างไปประมาณ 1 กม. แวะทานบะหมี่จีนยูนนานที่โฆษณาหน้าร้านว่าถ้าไม่ชิมบะหมี่ร้านนี้ก็ยังไม่ถึงบ้านอรุโณทัย เขียนอย่างนี้แล้วไม่แวะชิมได้ยังไง ถึงฝนจะตกลงมาทันทีที่เปิดประตูรถก็เถอะ

ที่จริงศูนย์ฯ หนองเขียวตั้งอยู่ติดถนนใหญ่ ใครไปอ่างขางผ่านไปมาต้องได้มีโอกาสเห็นตัวหนังสือสีเหลืองอันใหญ่ อ่านได้ว่า…หนองเขียว…นัดกับเจ้าหน้าที่ว่าเจอกันที่ที่ทำการเลย เลี้ยวรถเข้าไปเหมือนเข้าบ้านใครสักคน อาคารเรือนไม้น่ารักในร่มไม้ ดูอบอุ่นดี สนามด้านหน้าเป็นแปลงมะม่วงและอะโวคาโดที่ดูไม่ค่อยจะสดชื่น แต่เมื่อได้เห็นป้ายอธิบายพันธุ์แต่ละชนิดตั้งไว้เป็นจุดๆ ก็เลยเข้าใจแล้วว่า ต้นไม้วิจัยก็ไม่ค่อยสดชื่นและสวยงามอย่างนี้แหละ

แล้วก็ได้พบคุณไผ่ หรือ ว่าที่ร้อยตรีธวัชชัย ภูมิวงศ์ หัวหน้าศูนย์ฯ หนองเขียว คุณไผ่ดูเด็กและสดใสด้วยวัยหนุ่ม อัธยาศัยน่ารักจน
เราคาดไม่ถึงว่านี่คือหัวหน้าศูนย์ฯ ผู้ดูแลเกษตรกรหลายหมู่บ้าน หลังจากสอบถามความต้องการของเราว่า อยากมาขอความรู้เรื่องข้าวไร่ คุณไผ่ยิ้มสดใสแล้วแนะนำให้เราไปดู ดอกกลอริโอซ่า ดีกว่าไปดูข้าวนะครับพร้อมกับให้เราดูรูปภาพ คุณใหม่ (คุณสิริกิติยา เจนเซน) ท่ามกลางดอกกลอริโอซ่า แหม…ภาพนี้ประชาสัมพันธ์ได้ดีมากๆ เลย รีบไปดูดีกว่า

คุณไผ่เป็นนักวิชาการไม้ดอกไม้ประดับด้วย และตอนนี้กำลังส่งเสริมชาวบ้านให้ปลูกไม้ดอกนี้อยู่ พอพวกเราได้เห็นก็ร้องว่า อ๋อ…ดอกดองดึงบ้านเรานี่เอง แต่ทำไมดอกใหญ่กว่ากันแยะเลย ไม่รู้ชื่อภาษาต่างชาตินี้จะเหมาะกับเจ้าดอกไม้นี้เท่าชื่อภาษาไทยไหมนะ ก็ใครเข้าใกล้เพียงนิดมันจะส่งปลายมาสะกิดแล้วดึงเข้าไปเกี่ยวดองจนปลดกันแทบไม่ทันน่ะ


ที่แรกที่พวกเราได้ชม คือ อาคารรับผลผลิตประเภทไม้ดอกมีขนาดเล็กมาก แต่โปร่งโล่งเหมือนเป็นศาลานั่งเล่นของบ้าน มีดอก
กลอริโอซ่าที่คัดแล้วห่อด้วยพลาสติกใส ติดสติ๊กเกอร์เบอร์ผู้รับและผู้ส่ง(ตอนนี้เรารู้จักโค้ดเหล่านี้แล้ว) พร้อมส่งไปยังผู้ซื้อ อาคารนี้รับเฉพาะไม้ดอก ส่วนอาคารรับผลิตผลจะอยู่อีกที่หนึ่งต้องรับแยกจากกัน เนื่องจากไม้ดอกจะมีการพ่นสารเคมี อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนระหว่างผลผลิตที่เราบริโภคได้

ดอกกลอริโอซ่าที่หนองเขียวนี้ เริ่มมาจากสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ได้สายพันธุ์มาจากประเทศฮอลแลนด์ หรือเนเธอแลนด์
ชื่อพันธ์ุ G.rothschildiana ทำวิจัยปรับปรุงพันธุ์จนแข็งแรงแล้วก็ส่งมาให้ศูนย์ฯ หนองเขียวเอามาเพาะพันธุ์ต่อ เนื่องจากมีอุณหภูมิที่เหมาะสมกับดอกกลอริโอซ่ามากกว่า คุณไผ่ก็ต้องเพาะปลูกต่อมาหลายรอบ จนได้เมล็ดพันธ์ุถึงสามแสนเมล็ด แล้วนำออกส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นไม้ตัดดอกต่อไป

การปลูกดอกกลอริโอซ่านี้ ศูนย์ฯ หนองเขียวจะส่งเสริมให้ปลูกในโรงเรือนของศูนย์ฯ เพื่อให้สามารถควบคุมคุณภาพได้ใกล้ชิด โดยแบ่งโรงเรือนให้เกษตรกรผู้สนใจเช่าครอบครัวละ 3 โรงเรือน รายได้เป็นอย่างไรเห็นได้จากใบหน้ายิ้มแย้มสดใส และเสียงร้องทักทายคุณไผ่อย่างยินดีจากผู้เช่าทุกรายแค่นี้ก็รู้แล้ว

ที่โรงเรือนปลูกดอกกลอริโอซ่าซึ่งไม่ไกลจากกันนักได้พบ ผู้เฒ่าไอเตา ใสสอ ที่พูดภาษาไทยยังไม่ค่อยรู้เรื่องแต่ก็พยายามอธิบายและแสดงการเพาะปลูกเลี้ยงดูต้นกลอริโอซ่าให้พวกเราดูอย่างน่ารัก แล้วฝนก็เทลงมาอย่างไม่เมตตาปราณี ดีนะที่ดอกดองดึงหรือกลอริโอซ่านี้อยู่ในโรงเรือนมิฉะนั้นกิ่งก้านคงหักเพราะทานน้ำหนักฝนไม่ไหว

หลังจากได้ความรู้มาพอสมควรคุณไผ่ก็ชวนไปอีกโรงเรือนหนึ่งที่อยู่ติดๆ กัน เพราะโรงเรือนของผู้เฒ่ามีดอกให้เราชมน้อย เนื่องจากเพิ่งตัดดอกไปเมื่อวาน

โรงเรือนนี้เป็นของ คุณประไพ ไอนัน มาถึงฝนก็หยุดพัก และที่นี่มีดอกมากกว่าจริงๆ เราเลยได้สอบถามและถ่ายภาพกันไม่ได้หยุด ดอกกลอริโอซ่าเมื่ออยู่ในป่าใกล้บ้านเรา เรียกดองดึง ก็คิดว่าสวยดีแต่ไม่ค่อยเห็นค่านัก เพราะเด็ดออกมาแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ มาวันนี้ไม่ได้ใช้ชื่อไทยกลายเป็นดอกไม้แสนโก้ดอกใหญ่เอาไว้ปักแจกันหรูๆ ราคามิใช่ถูกๆ ไปเสียแล้ว

แต่กว่าจะมาสวยงามโดดเด่นขนาดนี้ได้ นักวิชาการไม้ดอกก็ต้องหาวิธีการที่จะเลี้ยงให้งามได้มาตรฐานแข่งขันกับไม้ดอกพันธุ์อื่น ขยายพันธุ์ให้มาก เพื่อครองตลาดกับเขาบ้าง มีอยู่หลายขั้นตอนเชียวแหละ

กลอริโอซ่าเป็นพรรณไม้ที่มีหัวอยู่ใต้ดิน การเพาะพันธุ์ทำได้2 วิธี คือ การเพาะจากเมล็ด และการเพาะจากหัว แต่การเพาะจากเมล็ดจะต้องใช้เวลานานกว่า ดังนั้นส่วนมากจึงใช้วิธีเพาะจากหัว

การเพาะเพื่อให้ได้กลอริโอซ่าดอกใหญ่สีสด ต้องอดทนจากหัวเล็กๆ เหมือนบูมเมอแรง ทำความสะอาดหัวแล้วแช่น้ำยาผึ่งให้แห้ง
แล้วแยกแง่งออกจากกัน เอาหมกในแกลบจนเกิดตุ่มที่เรียก “จุดเจริญ”ซึ่งต้องระวังอย่าให้มันหัก เพราะมันจะไม่แตกขึ้นใหม่ จากนั้นนำไปลงแปลงวางตามนอน ระวังให้ด้านมีจุดเจริญฝังลงในดิน เอาปุ๋ยหมักกลบด้านบน มันจะแทงยอดขึ้นมาเป็นต้น เมื่อเป็นต้นแล้วหัวแรกที่เกิดต้นจะฝ่อลงเกิดหัวใหม่สองแง่ง ซึ่งเมื่อได้เวลาก็นำมาหมุนเวียนขยายพันธุ์ต่อไป

การดูแล ไม้ชนิดนี้เป็นไม้เถา บริเวณปลายเถาจะมีลักษณะคล้ายเล็บที่ใช้เกี่ยว การเตรียมแปลงต้องเตรียมหลักและเชือกผูกเป็นระดับไว้หลายๆ ระดับห่างกันระดับละ 30 ซ.ม. เอาไว้มัดลำต้นที่เริ่มเลื้อยขึ้นของต้นกลอริโอซ่า เพื่อดัดให้ได้ลำต้นตรง ต้องคอยระวังยอดเกี่ยวพันของกันและกัน เมื่อตัดดอกก็จะได้ดอกที่มีก้านตรงตามมาตรฐานที่ต้องการ

การให้น้ำ ควรรดน้ำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ คือ วันอังคารกับวันศุกร์เพราะวันพุธกับวันเสาร์เป็นวันตัดดอกส่ง เนื่องจากหนองเขียวเป็นแหล่งที่มีน้ำน้อยจึงต้องดูแลการใช้น้ำให้ประหยัด สำหรับดอกกลอริโอซ่านี้คำนวณไว้ว่าหนึ่งสัปดาห์ใช้น้ำประมาณ 200 ลิตร ต่อ 1 โรงเรือน และเพื่อให้กะปริมาณการใช้น้ำได้ง่ายขึ้น ทุกโรงเรือนจะมีถังไว้เก็บน้ำขนาด200 ลิตร เพื่อใช้สำหรับ 1 สัปดาห์ ซึ่งปัจจุบันทางโครงการได้ติดมิเตอร์เอาไว้เป็นค่าใช้จ่ายของเกษตรกร

นอกจากส่งเสริมดอกกลอริโอซ่าแล้วก็ยังมีไม้พันธุ์หัว เช่นว่านสี่ทิศ ที่นี่ปลูกว่านสีแดงดอกใหญ่

ตั้งใจจะมาหาความรู้เรื่องข้าวไร่ว่าเป็นอย่างไร….แต่ฝนตกทุกวันเจ้าหน้าที่เกรงว่าเส้นทางเข้าไปจะลำบาก เราจึงได้ไปดู สวนอะโวคาโดที่หมู่บ้านบริวารแทน (หมู่บ้านบริวาร คือ หมู่บ้านที่ไม่ได้อยู่ในเขตความรับผิดชอบของศูนย์ฯ หนองเขียว แต่ชาวบ้านได้ขอให้ศูนย์ฯ เข้าไปช่วยดูแล)

หมู่บ้านบริวารนี้อยู่ที่ บ้านเมืองนะ ต.เมืองนะ อ.เชียงดาวออกจากพื้นที่ไปไกลเหมือนกัน สวนนี้ดูรกด้วยอยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนพืชบาง
อย่าง จึงปล่อยให้ต้นที่ไม่ต้องการแล้วหลายต้นโทรมไป รอเวลาปรับเปลี่ยน

เนื่องจากปัจจุบันอะโวคาโด เป็นสินค้าที่ตลาดมีความต้องการสูงโครงการหลวงจึงส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก อะโวคาโดเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมากนักและเป็นไม้ไม่ผลัดใบจึงเขียวตลอดปี สามารถปลูกทดแทนป่าได้ที่หมู่บ้านนี้ก็มีต้นอะโวคาโดอยู่แล้ว จึงใช้เป็นต้นตอนำพันธุ์ของโครงการหลวงมาต่อยอดได้เลย คุณประเสริฐ จอมดวง นักวิชาการไม้ผลของศูนย์ฯหนองเขียว รับผิดชอบดูแลแนะนำ ทั้งการใส่สารใส่ปุ๋ยตามเวลาที่เหมาะสมทั้งการเก็บเกี่ยวที่จะไม่มีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานที่กำหนด

คืนนี้ได้ร่วมรับประทานอาหารกับท่าน รศ.ดร.สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ผู้อำนวยการศูนย์ฯ หนองเขียว เป็นบรรยากาศที่แปลกและแตกต่างจากที่อื่นๆ เพราะนอกจากจะได้รับเลี้ยงอาหารค่ำแล้ว ยังได้มีโอกาสฟังและออกความคิดเห็นในงานของโครงการหลวงได้ ทำให้บรรยากาศอบอุ่น เหมือนกลับไปเป็นนักศึกษาได้ออกไปทัศนศึกษากับอาจารย์ แม้จะเป็นฝ่ายถูกถามมากกว่าเป็นผู้ถามอย่างที่ตั้งใจมา แต่ก็เป็นเรื่องที่ทำให้เรารู้เรื่องราวของโครงการหลวงในอีกแง่มุม ด้วยคำถามที่ต้องตอบด้วยความเต็มใจ

เรื่องราวของไก่ดำ ทำให้ได้รู้ว่า ศูนย์ฯ หนองเขียว ไม่ได้มีหน้าที่แค่ดูแลให้เกษตรกรผลิตผลผลิตได้มาตรฐานตามส่วนกลางเท่านั้น แต่ยังต้องดูแลและพัฒนาให้เกษตรกรมีรายได้หมุนเวียนเลี้ยงครอบครัวจากการปลูกพืชผัก ไม้ผล ทำให้เกษตรกรมีรายได้สม่ำเสมอเป็นรายเดือน การเลี้ยงสัตว์ทำให้ขายได้เป็นเงินก้อน แต่การเลี้ยงสัตว์ของโครงการหลวงไม่ใช่การเลี้ยงแบบฟาร์ม ดังนั้นการซื้อขายจึงไม่สามารถกำหนดได้แน่นอน เช่นการนำไก่ดำมาให้สมาชิกเกษตรกรเลี้ยง ก็ด้วยหวังตลาดเล็กๆ ของหมู่บ้านใกล้กัน เมื่อไม่ได้ตลาดอย่างที่ต้องการ ก็กลายเป็นปัญหาปวดหัวของเจ้าหน้าที่ ที่ต้องปรึกษาหาวิธีแก้ไขให้เกษตรกร

หรือการที่จะสร้างรายได้เพิ่มในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ควรส่งเสริมอย่างไรบ้าง และจุดนี้เองที่ทำให้เราได้เห็นการปรับปรุงพื้นที่ด้านหน้าเพื่อสร้างจุดขายให้กับนักท่องเที่ยว มาในระยะนี้ได้เห็นการเตรียมการเพื่อการท่องเที่ยวของโครงการหลวงทุกแห่ง อยากให้นักท่องเที่ยวได้เห็นความตั้งใจของผู้ทำบ้างจังเลย กว่าจะเป็นสถานที่สวยงามให้นักท่องเที่ยว“เซลฟี่กันสนุกสนาน” ต้องร่วมกันกี่สายงาน ต้องสร้างฝันกันแค่ไหน

เพราะผู้ทำ ทำด้วยความอยากเห็นความสุขของผู้มาเที่ยว ความสุข ที่ไม่ทำลายสิ่งใด เป็นความสุขของทั้งผู้เที่ยวและผู้ทำ

ดูเหมือนงานของโครงการหลวงจะถักทอเป็นร่างแหปกแผ่ไปทั่วแผ่นดิน

28 กันยายน 2560
เมื่อคืนหลับสบายกับสายฝนที่โปรยปรายเกือบทั้งคืน เช้านี้ได้เดินสำรวจพื้นที่ของ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว

ศูนย์นี้เหมือนตั้งอยู่ในหมู่บ้านจัดสรร ด้วยถนนที่ตัดกันไปมาเป็นสี่เหลี่ยม ตัวศูนย์ฯ กับโรงเรือนหรืออาคารรับผลผลิต แยกกันอยู่ไม่ต่อเนื่องบ้านเรือนของชาวบ้านที่ล้อมรอบมีขนาดใหญ่และสร้างไว้อย่างดี นึกภาพไม่ออกว่าผู้คนแถวนี้หรือ ที่เป็นสมาชิกเกษตรกรที่ศูนย์ฯ หนองเขียวกำลังดูแลอยู่ทุกบ้านดูมีฐานะ มีรั้วรอบขอบชิดผิดกับบ้านชาวเขาที่เรารู้จัก

แวะร้านอาหารของโครงการทานอาหารเช้าซึ่งเป็นข้าวต้มร้อนๆกับกับข้าว แม้ไม่นึกอยากทานข้าวแต่เห็นกับข้าวง่ายๆ สไตล์บ้านๆ แล้วก็ต้องตักข้าวต้มควันกรุ่นมาทานให้ท้องอุ่น แล้วค่อยออกเดินทาง

เช้านี้ที่ศูนย์ฯ หนองเขียว ผอ.และเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ มีการประชุมร่วมกับหัวหน้าชุมชนเรื่องเกี่ยวกับการใช้น้ำ แต่ ผอ.ก็ยังจัดให้พวกเราได้ไปดูนาข้าวที่หมู่บ้านบริวารอีกแห่งหนึ่งที่ บ้านปางเบาะ ตำบลทุ่งข้าวพวง

ว่าที่ร้อยตรีกิตติพงษ์ บุญธิ หรือคุณปู นักวิชาการพืชไร่เป็นไกด์ของเราในเช้าวันนี้ เส้นทางจากถนนใหญ่เข้าไปแม้จะไม่สูงชันไม่มี
หลุมบ่อดักล้อเรา แต่ทางแคบแสนแคบแค่สวนกับคนเดินก็ยังไม่ได้ทำให้หวาดเสียวพอควร และได้พบ คุณประสี ไอนัน กับ คุณวีรภัทรจะอือ ไม่แน่ใจว่าได้รับคำแนะนำว่าเป็นผู้ใหญ่บ้านหรือเปล่า แต่ยังดูหนุ่มจนเราไม่แน่ใจ อาจฟังผิดไปก็เป็นได้

หลังจากนั้นก็เล่าให้ฟังว่าหมู่บ้านนี้อยู่นอกเขตดูแลของโครงการหลวงเดิมปลูกพืชไร่ขายพ่อค้าทั่วไป เวลาเกิดปัญหาการเพาะปลูกไม่มีใครแนะนำดูแล รายได้ไม่สม่ำเสมอ ถูกกดราคาและบางครั้งพ่อค้าไม่ยอมรับผลผลิต และพวกเขาก็ไม่รู้จะเอาผลผลิตไปขายที่ไหน ทำให้ทุกคนขาดรายได้ ไม่สามารถอยู่กันได้ ข้าวที่ปลูกไว้กินบางปีก็ได้ผลผลิตไม่เพียงพอต้องหาเงินไปซื้อข้าวเขามากิน ต้องกู้หนี้ยืมสินมาเป็นค่าใช้จ่าย เห็นเพื่อนที่อยู่หมู่บ้านในความดูแลของโครงการหลวง สามารถปลูกพืชผักและข้าวได้ตลอดปี ทุกหมู่บ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เลยไปขอให้โครงการหลวงมาช่วยแนะนำดูแลปรับเปลี่ยนผลผลิตให้

ทางศูนย์ฯ หนองเขียว ก็ได้ค่อยๆ เปลี่ยนผลผลิตให้ มาประมาณ 1 ปีแล้ว เนื่องจากบริเวณหนองเขียวนี้มีปัญหาเรื่องน้ำ เพราะภูเขาที่นี่เป็นหินปูนไม่มีน้ำใต้ดิน ต้องคอยกักเก็บน้ำฝนไว้สำหรับใช้ทั้งปี ดังนั้นพืชพันธุ์ที่เหมาะกับที่นี่ต้องเป็นพืชที่ไม่ใช้น้ำมาก เช่น มะม่วง อะโวคาโด ตอนนี้โครงการหลวงก็นำมาให้เจ้าของค่อยๆ ปลูกแทรกลงไปในร่องพืชผักระหว่างคอยก็ปลูกถั่วอะซูกิ (ถั่วแดงญี่ปุ่น) ปลูกฟักทองญี่ปุ่นเป็นผลผลิตส่งโครงการหลวงไปก่อน

ส่วนต้นข้าวนั้นนำพันธุ์ข้าวไร่มาให้ทดลองปลูก เพราะทุกวันนี้ที่นี่ปลูกข้าวโดยไม่มีการคัดพันธุ์ มีข้าวหลายพันธุ์ขึ้นปะปนกัน เวลาเติบโตข้าวก็สูงไม่เท่ากัน เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวสุกไม่เท่ากันเพราะคนละพันธุ์ ทำให้เกิดผลเสียหายมากได้ข้าวไม่พอกิน ทางโครงการหลวงมีข้าวไร่ที่วิจัยแล้วว่าเหมาะกับการปลูกบนพื้นที่ลาดเชิงเขาที่ไม่ค่อยมีน้ำ และการลงกล้าลงเพียง3 ต้น ก็จะแตกกอได้ใหญ่เท่ากับของเดิมที่ลงกล้าทีละ 7-8 ต้น คุณปูชี้ให้ดูกอข้าวที่แตกต่างกัน

นั่นซิ…เราถึงสงสัยว่าทำไมข้าวในนานี้ไม่สวยเหมือนที่เคยเห็น ต้นข้าวที่เคยโน้มตัวด้วยอุ้มรวงข้าวหนักส่ายตัวพลิ้วไหวในสายลมหายไปไหนทำไมวันนี้จึงยืนตรงดูขาดระเบียบวินัย แต่ละกอสูงต่ำไม่สม่ำเสมอ

สำหรับปัญหาการขาดน้ำนั้น ทางโครงการหลวงกำลังส่งเสริมการสร้างแหล่งน้ำสำหรับเกษตรกรในหมู่บ้าน ให้พอเพียงกับการดูแลพืชไร่

กลับมาที่ศูนย์ฯ หนองเขียว ได้มีโอกาสเดินดูพื้นที่หน้าศูนย์ฯที่คุณไผ่กำลังจะจัดเตรียมสวนอันสวยงามไว้ต้อนรับฤดูกาลท่องเที่ยว
เหมือนปีที่ผ่านมา จึงได้เห็นว่าสองข้างทางเข้าศูนย์ฯ นี้ คือ “ป่าชาวบ้าน”เป็นต้นไม้ที่ไม่ใหญ่นักแต่ก็ดูร่มรื่นดีและก็คิดว่าดีนะ รักษาไว้เป็นแหล่งให้คนมาเดินดูดอกไม้ของคุณไผ่ แล้วยังได้รู้จักป่าชาวบ้านว่าเป็นเช่นใดเมื่อเดินไปจนสุดพื้นที่สวนก็ได้พบ “เตาเผาถ่าน” ที่ดูน่าสนใจมากๆคิดว่าสวนของคุณไผ่นี้มีจุดน่าสนใจมากพอที่จะสร้างเป็นที่ท่องเที่ยวเล็กๆ ได้จริงๆ นะ จากนั้นเราก็จะเดินเป็นวงกลมผ่านดอกไม้สวยๆกลับไปที่ร้านอาหาร

หลังจากเดินจนครบได้ภาพในความคิด ประกอบกับภาพถ่ายในมือถือของคุณไผ่ที่ให้ดูสวนที่จัดไว้เมื่อปีที่แล้ว ก็อยากให้สวนสวยๆ
นี้เสร็จเร็วๆ แล้วเราจะกลับมาชมพร้อมเก็บภาพแห่งความสุขไว้

เคยได้ยินแต่ป่าชุมชน เพิ่งเคยได้ยินคำว่า “ป่าชาวบ้าน” มีเอกสารบอกเล่าไว้ว่า “ป่าชาวบ้าน” เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2537 เมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยี่ยมศูนย์ฯ แกน้อยอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ทรงทราบปัญหาการขาดแคลนไม้ฟืนของเกษตรกร จึงโปรดให้มีการปลูกป่าไม้โตเร็วเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือนโดยทรงรับเป็นองค์อุปถัมถ์โครงการป่าชาวบ้านของมูลนิธิโครงการหลวงในปี พ.ศ.2538 ศูนย์ฯ หนองเขียวเริ่มดำเนินการโครงการป่าชาวบ้านเพียง 12 ปีผ่านไป ในปี พ.ศ.2550 ศูนย์ฯ หนองเขียวก็ได้รับการคัดเลือกให้เป็น “ศูนย์การเรียนรู้บนพื้นที่สูงด้านการปลูกป่าชาวบ้าน”

เมื่อมีการปลูกป่าเพื่อหาไม้ทำฟืน ก็ต้องมีเตาสำหรับเผาไม้ฟืนให้เป็นถ่าน “เตาอิวาเตะ” เป็นเตาเผาถ่านขนาดใหญ่ มีต้นแบบมาจาก
ประเทศญี่ปุ่น สร้างโดยใช้ดินเหนียวที่หาได้ในท้องถิ่นมาเผา เตานี้ผลิตถ่านคุณภาพสูงได้ดีเยี่ยม ทำให้ลดการใช้ถ่านลงไปได้ ผลพลอยได้จากการเผาถ่านด้วยเตาชนิดนี้ คือ เก็บน้ำส้มควันไม้สำหรับรดผักใช้ไล่แมลงได้มากกว่าและมีคุณภาพดีกว่าเตาเผาชนิดอื่น

จากที่ได้รู้ว่าที่นี่มีปัญหาเรื่องน้ำ แต่ก็สงสัยว่ามีบึงน้ำใหญ่ๆ ตั้งหลายบึงแล้วการขาดน้ำคืออะไร ในที่สุดก็ได้เข้าใจว่าการขาดน้ำบาดาลทำให้ที่นี่ต้องพึ่งแต่น้ำฝน เมื่อไม่มีฝนก็ไม่มีน้ำเพราะเหตุนี้เอง เราจึงเห็นบ่อเก็บน้ำฝนใหญ่ๆ หลายๆ บ่อซึ่งกลายเป็นสถานที่พักผ่อนของคนแถวนี้ไปในตัว

อ่างเก็บน้ำในหมู่บ้านอรุโณทัย ขนาดใหญ่ และยังเป็นสวนพักผ่อนหย่อนใจไว้ตกปลาในวันอาทิตย์

อ่างเก็บน้ำของกรมชลประทาน สร้างเพื่อสนับสนุนศูนย์ฯหนองเขียว ขนาด 81×81 เมตร สูง 4 เมตร เท่ากับ 25,000 ลูกบาศก์เมตร
ขึ้นไปยืนบนปากอ่างธรรมชาติงดงามดีแต่ก็ดูน่ากลัวเกินกว่าจะเข้าใกล้ได้เห็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่บางปีก็มีมาล้นเหลือจนเป็นบึงน้อยๆบางปีก็หายไปเช่นบึงที่ “หนองวัวแดง”


อ่างน้ำซับ ก่อนถึงศูนย์ฯ หนองเขียว เป็นอ่างธรรมชาติเก็บกักน้ำได้เฉพาะหน้าฝน เมื่อมีน้ำบริเวณนี้จะเหมือนสวนพักผ่อนที่น่าเดินเล่นมากๆ

ตกบ่าย ผอ.ประชุมกับเจ้าหน้าที่ทุกคน พวกเราเลยไม่มีโอกาสร่ำลาและขอบคุณสำหรับการต้อนรับอันอบอุ่นของทุกท่าน พร้อมความรู้เรื่องไม้ดอก และการทำงานเพื่อเกษตรกรอย่างแท้จริง นอกจากความรู้ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาที่อยู่ที่นี่แล้ว เรายังรู้สึกว่าเราได้มากกว่าเรื่องราวที่เรามาค้นหา เหมือนได้สัมผัสสิ่งที่เป็นนามธรรม

สิ่งที่อยู่ในจิตวิญญาณของทุกคนที่ทำให้ผู้มาเยือนอย่างเรารู้สึกอบอุ่น และมั่นคง คงเป็นความรู้สึกเดียวกับสมาชิกเกษตรกรที่จะรู้สึกมั่นคงและปลอดภัยที่ได้อยู่ในความดูแลของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว

สวนหน้าศูนย์พัฒนาโครงการหลวง “หนองเขียว”
ฤดูกาลท่องเที่ยวก่อนขึ้นดอยอ่างขาง พักสักนิดแล้วจะติดใจ ชิมกาแฟสักหน่อย รับรองอร่อยจริงๆ สั่งอาหารบ้านๆ ทานสักคนละจาน ระหว่างรอคอยค่อยเดินไปถ่ายภาพ ชมสวนสวยๆ สีสันสดใส หรือจะสนใจศึกษาป่าชาวบ้าน ยังมีเตาเผาถ่าน อิวาเตะ ให้สนใจได้ความรู้ ได้ความสุขกายสุขใจ ได้อิ่มสบายแล้วค่อยเดินทางต่อไป

บ้านคะฉิ่น
คุณอนุชาติ ลาพา ผู้นำชุมชนวัฒนธรรมคะฉิ่นพาเราชมวัฒนธรรมคะฉิ่น ชุมชนคะฉิ่นเป็นชุมชนที่ใหญ่ที่สุดของหนองเขียว ผู้นำพาเรามารู้จักเสามะหน่าว เสานี้มีนกเงือกเป็นสัญญลักษณ์ เพราะนกเงือกเป็นสัตว์รักเดียวใจเดียว (อันนี้ตีความหมายไม่ออกนะว่าสื่อถึงอะไร) แต่ก็ดูว่าเสามะหน่าวนี้มีลักษณะและลวดลายใกล้เคียงกับงานพวกอินเดียนแดงเลย

เสามะหน่าว ตั้งอยู่กลางสนามติดกับอาคารสำนักงานของ ศูนย์ฯหนองเขียว ตำแหน่งของเสามะหน่าว คือ ตำแหน่งที่เฮลิคอปเตอร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เสด็จมาที่ศูนย์ฯ หนองเขียว ชนเผ่าคะฉิ่นมีความเชื่อว่าการเต้นรำรอบเสามะหน่าวนี้เป็นการเชื่อมกันระหว่างเทพเจ้ากับมนุษย์ ใช้เวลาในการเต้นนานกว่า 2 ชั่วโมง หากใครเข้าไปในวงเต้นรำแล้วจะต้องเต้นไปจนจบ ห้ามออกก่อน ถือเป็นประเพณีที่เข้มงวดจริงจัง

ที่หนองเขียวจะจัดงานเฉลิมฉลองนี้ขึ้นทุกๆ 2 ปี ในช่วงวันที่ 4 – 7 ธันวาคมเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองให้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ที่ทรงให้ที่อยู่อาศัยให้ที่ทำกินกับชาวคะฉิ่น

จากนั้นก็ได้ไปดู บ้านคะฉิ่น ที่สร้างโดยไม่มีฐานรากใดๆ เสาตั้งอยู่บนหินเท่านั้น จะดูการทอผ้าของคะฉิ่น แต่ไม่เจอใคร มีแต่หูกทอผ้ากับผ้าที่ทอทิ้งไว้ เห็นผลงานบนหูกแล้วอยากให้เจ้าของผ้ากลับมาทอให้ดูจัง ดูเหมือนหูกที่นี่จะมีแขนขามากมายแตกต่างจากที่เคยเห็นๆและดูลายผ้าที่ทอทิ้งไว้ก็สวยงามอยากรู้ว่าถ้าเสร็จแล้วจะเป็นอย่างไร

ได้แวะดูหมู่บ้านอื่นๆ ที่อยู่ใกล้กับศูนย์ฯ หนองเขียวดูแล้วไม่สามารถบอกความแตกต่างของแต่ละหมู่บ้านได้ ปัจจุบันทุกชนเผ่าหลอมรวมกันเป็นคนไทยต่างกันแค่เชื้อสายเท่านั้น

บ้านอรุโณทัย
บ้านคนจีนยูนนานตีนดอยก่อนขึ้นอ่างขาง เดิมเป็นที่อยู่ของทหารจีนฮ่อ ทุกวันนี้ที่อยู่และความเป็นอยู่ของคนในหมู่บ้านยังมีความ
แตกต่างจากคนไทยและคนไทยภูเขา ในหมู่บ้านนี้ทุกคนยังใช้ภาษาจีนเป็นภาษาหลัก ดังนั้นถ้าอยากได้บรรยากาศแตกต่างจริงๆ ก็ต้องมาที่บ้านอรุโณทัยนี่แหละ แล้วเราจะรู้สึกว่าเรากำลังอยู่ต่างแดน ยกเว้นร้าน 7-11 แล้ว ทุกอย่างยังคงทำให้เรารู้สึกว่าได้มาเที่ยวหมู่บ้านคนจีนโบราณจริงๆ

ขอขอบคุณ
รศ.ดร.สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ ผอ.ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว
ว่าที่ร้อยตรีธวัชชัย ภูมิวงศ์ (ไผ่) นักวิชาการไม้ดอก
อ.ประเสริฐ จอมดวง นักวิชาการไม้ผล
ว่าที่ร้อยตรีกิตติพงษ์ บุญธิ (ปู) นักวิชาการพืชไร่
คุณอนุชาติ ลาพา ผู้นำวัฒนธรรมเผ่าคะฉิ่น
คุณบัณฑิต คล่องกระโจนคีรี เจ้าหน้าที่งานป่าชาวบ้าน/สังคม

เรื่องราวและภาพจาก…
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว
ที่อยู่ : บ้านใหม่สามัคคี หมู่ 10 ตำบลเมืองนะ
อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ 50170
โทร 0 5304 5600 หรือ 08 6181 6675[:]

[:TH]สถานีวิจัยโครงการหลวง “แม่หลอด” (กาแฟ)[:]

[:TH]

สถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด พัฒนามาจาก “ศูนย์วิจัยกาแฟอาราบิก้า” ที่บ้านแม่หลอด ซึ่งจากเดิมที่ในหลวง รัชกาลที่ ๙ มีพระราชดำรัสให้หาพืชเมืองหนาวมาปลูกทดแทนฝิ่น กาแฟก็เป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีการนำมาส่งเสริมให้ชาวบ้านที่นี่ปลูกเช่นกัน คือ กาแฟอาราบิก้าสายพันธุ์ทิปิก้า (Typica) เบอร์บอน (Bourbon) และแคททูรา(Caturra) แต่ต่อมาได้เกิดการแพร่ระบาดโรคราสนิมอย่างรุนแรง ทำให้ผลผลิตตกต่ำมาก จึงมีพระราชดำริให้ทำการวิจัยและพัฒนาการปลูกกาแฟอาราบิก้าบนพื้นที่สูง ภายใต้การช่วยเหลือของกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA ) และมอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรของประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการ จึงมีการนำพันธุ์กาแฟลูกผสม สายพันธุ์ต้านทานโรคราสนิมจาก ศูนย์วิจัยโรคราสนิมของโปรตุเกส จำนวน 28 คู่ผสมรวมทั้งได้นำพันธุ์แท้อื่นๆ ทั้งหมดมาปลูกที่ศูนย์วิจัยกาแฟบ้านแม่หลอด การดำเนินงานวิจัยสายพันธุ์ จึงเริ่มจากปี พ.ศ.2517 เป็นต้นมา
จนถึงปี พ.ศ. 2523 สายพันธุ์กาแฟอาราบิก้าก็ได้แพร่หลายออกไปยังแหล่งปลูกต่างๆ เช่นที่ ขุนวาง, วาวี, เขาค้อ, ดอยมูเซอ และป่าเมี่ยง อ.ดอยสะเก็ด

ใน พ.ศ. 2527 หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทรงกรุณารับ“ศูนย์วิจัยกาแฟอาราบิก้า” ไว้ในความดูแลของโครงการหลวงและได้ชื่อว่า “สถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด”

การคัดเลือกสายพันธุ์ต้านทานโรคราสนิม ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจนมีแปลงลูกผสมชั่วที่ 3-4-5 และ 6 ขณะเดียวกันสถานีฯ แม่หลอด ได้นำไม้โตเร็วมาปลูกเป็นร่มเงาให้ต้นกาแฟมากถึง 7 ชนิด จนเป็นสวนกาแฟภายใต้ร่มเงาที่สมบูรณ์ที่สุด

ปัจจุบันมีกาแฟที่ได้ปรับปรุงพันธุ์และขึ้นทะเบียนได้รับการรับรองจากกรมวิาการเกษตรว่า เป็นพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรคราสนิม
เป็นอย่างดี คือ พันธุ์เชียงใหม่ 80 ถือว่าเป็นพันธุ์ตั้งชื่อไทยพันธ์ุแรกที่ได้ขึ้นทะเบียน ซึ่งเป็นการร่วมมือจากหลายฝ่ายหลายศูนย์วิจัย

สถานีฯ แม่หลอด ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยครอบคลุม 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านแม่หลอดเหนือ บ้านแม่หลอดใต้ บ้าน
แม่เจี้ยว และบ้านผาแตก ประชากรเป็นคนพื้นเมือง และชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง

2 ตุลาคม 2560
ไปที่ไหน เที่ยวที่ไหน ขาดไม่ได้ คือ ร้านกาแฟสดจากไร่ในเมืองไทยนี่เอง พวกเราจึงตัดสินใจไปค้นหาแหล่งกำเนิดที่ก่อเกิดการวิจัยจนกาแฟไทยหอมกรุ่นไปทั่วแผ่นดิน

สถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด อยู่ไม่ไกลเลย จากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางแม่แตง เข้าเส้นทางแยกแม่มาลัย – ปาย แค่ 18 กิโลเมตรเจอทางเข้าน้ำตก “หมอกฟ้า” อยู่ซ้ายมือ เลี้ยวเข้าไปผ่านน้ำตกแค่ 1 กิโลเมตรก็ถึงแล้ว

ถึงทางเข้าก็ถึงที่ทำการสถานีฯ แม่หลอดกันเลย บรรยากาศร่มรื่นของสวนป่าที่ให้ร่มต้นกาแฟรอบสถานีฯ ทำให้รู้ว่า จะปลูกต้นกาแฟก็ไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่าก็ได้นะ

ได้พบหัวหน้า “มุ่ย” (คุณพัฒนา ชัยสิทธิ์) หัวหน้าสถานีฯแม่หลอด กับ คุณโอ๋ (คุณจักราช สาอุดร) นักวิชาการกาแฟ ใน
ห้องทำงานของสถานีฯ แม่หลอด ดูเป็นการเป็นงานจนเราเริ่มเกร็ง ได้ข้อมูลของการเกิดสถานีฯ แม่หลอด ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง

แต่ก่อนจะคุยกันต่อไป หัวหน้าคงสงสารท่าทางเกร็งๆ ของพวกเราเลยชวนไปนั่งสบายๆ สไตล์ระเบียงกาแฟกันดีกว่า

อากาศสบายรอบกายมีแต่ความร่มรื่น พวกเราผ่อนคลาย ก็เริ่มฟังเลคเชอร์กันต่อไป

คุณโอ๋เล่าต่อว่า…ขั้นตอนการวิจัยที่เริ่มจากการปรับปรุงพันธุ์แก้ปัญหาโรคราสนิมน่ะ เราไม่ได้ทำ ทางโปรตุเกสเขาเป็นคนทำ จนได้
พันธุ์กาแฟที่แข็งแกร่งต้านทานโรคราสนิมได้ เราก็เลือกสายพันธุ์ที่มีความต้านทานโรคราสนิมนี่แหละมาทดลองปลูก

 

การจะคัดเลือกสายพันธุ์เพื่อนำไปส่งเสริมก็ต้องทดลองกันต่อไปเริ่มจากเอาลูกผสมที่โปรตุเกสปรับปรุงแล้วนี่แหละ มาเพาะเป็นต้น
กล้าแล้วเอาไปปลูก ใช้เวลาประมาณ 3 ปี ก็จะได้เมล็ด เราก็นำเมล็ดนั้นมาเพาะเป็นต้นกล้าอีกครั้ง พอได้ต้นกล้าแล้ว ทีนี้ก็เอาเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรค (โดยการขูดเอาสปอร์เชื้อรา) มาผสมน้ำแล้วฉีดลงไปที่ต้น แต่ต้องทำในห้องทดลองที่ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมเชื้อราจะได้เจริญเติบโต ประมาณเดือนครึ่งก็เริ่มตรวจเชื้อ ต้นไหนไม่เป็นโรคก็ถือว่ามีความต้านทานในระดับแรกแล้ว ต้นไหนเป็นโรคก็คัดทิ้งไป แล้วเอาต้นกล้าที่ไม่เป็นโรคไปปลูกต่อ ทำซ้ำๆ แบบนี้เป็นรุ่นๆ ไป

แต่การวิจัยยังไม่จบ ยังมีตอนต่อไปต้นที่นำมาปลูกลงแปลง ก็จะถูกตรวจสอบกันอีกว่าจะยังมีความต้านทานโรคไหมเมื่อมาอยู่ในแปลง จะมีการเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตวัดความกว้างของพุ่ม ความสูงของต้น แล้วก็เก็บผลผลิต เพื่อเก็บข้อมูลว่ามีความต้านทานแล้ว ผลผลิตล่ะดีไหม ถ้าต้านทานโรคดีแต่ผลผลิตไม่ดีก็ยังใช้ไม่ได้ ดังนั้นในการวิจัยจึงต้องผสมหลายๆ สายพันธุ์เพื่อเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม บางทีก็เอาความต้านทานปานกลางแค่พอทนสู้โรคได้ แต่ได้ผลผลิตเยอะๆ ต้องทดสอบสายพันธุ์ไปจนกว่าจะนิ่งบางครั้งก็ไปนิ่งเอารุ่นที่ 3-4 หรือบางทีก็ไปถึงรุ่น 5-6 ก็มี

แต่ระยะหลังนี้ ตลาดเริ่มเปลี่ยนกลับไปสนใจรสชาติแบบดั้งเดิม(พันธุ์ที่ไม่ทนโรค) เพราะรสชาติดีกว่าพันธุ์ลูกผสม ทางสถานีฯ แม่หลอดเลยมีแนวคิดว่า จะทดสอบพันธุ์ที่มีรสชาติให้มากขึ้น เพราะพันธุ์ลูกผสมต้านทานโรคก็มีแล้ว ลองมาเน้นเรื่องรสชาติกันบ้างดีกว่า

แล้วพวกเราก็เลยได้ชิมกาแฟรสชาติต่างๆ ชิมกันไปคุยกันไปจิบกาแฟกันไปทั้งร้อนทั้งเย็น คนละแก้วสองแก้ว จนเริ่มมึนคล้ายจะเมา
จะให้ตอบว่ารู้ไหมกาแฟอะไร รสชาติอย่างไร ได้แต่นั่งทำตาปริบๆ ก็พวกเราไม่ใช่คอกาแฟแท้ๆ สักคน ยังกังวลอยู่ว่า คืนนี้จะได้หลับเป็นตายหรือจะต้องนอนก่ายหน้าผากตาค้างกันทั้งคืนนะเนี่ย

เมื่อการวิจัยสำเร็จสามารถปลูกต้นกาแฟให้ผลผลิตได้ดีแล้วเกษตรกรก็ต้องเรียนรู้เรื่องการผลิตเมล็ดกาแฟดิบที่ดีต่อไป กรรมวิธีการ
ผลิตเมล็ดกาแฟดิบมี 2 วิธี

1. แบบแห้งหรือแบบธรรมชาติ เป็นวิธีที่ใช้ความร้อนจากแสงแดด ในการนำผลกาแฟที่อยู่ในระยะที่เรียก cherry (ผลสีแดง) มาตากให้แห้ง ใช้เวลาประมาณ 15-30 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และปริมาณแสงแดดในแต่ละวัน นิยมใช้ในแหล่งปลูกกาแฟที่ขาดแคลนน้ำ ข้อเสียของวิธีนี้ก็คือ ระหว่างที่ตากแห้งเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟที่มีน้ำตาลอยู่จะเกิดปฏิกิริยาการหมัก ทำให้เกิดกลิ่นและรสชาติของกาแฟเพี้ยนไปจากปกติและไม่สามารถเก็บไว้ได้นานต้องรีบนำไปขัดสี


2. แบบเปียก เป็นวิธีการผลิตที่นิยมมากกว่า เพราะผลผลิตที่ได้มีความสะอาดและรสชาติที่แน่นอน แต่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า เพราะต้องใช้อุปกรณ์ แรงงาน และน้ำมากกว่าการผลิตแบบแห้ง วิธีนี้เริ่มต้นจากเก็บผลเชอรี่มาแล้ว นำมาแช่น้ำเพื่อแยกเมล็ดที่มีความหนาแน่นน้อย(เมล็ดที่ยังไม่สุก) ซึ่งจะลอยน้ำออกเสียก่อน ล้างเชอร์รี่ให้สะอาดแล้วนำไปลอกเปลือกโดยเข้าเครื่องโม่ ซึ่งเครื่องโม่นี้จะต้องใช้น้ำหล่อลื่น(เรียกสีเปียก) เมื่อได้เมล็ดพร้อมเปลือกชั้นในแล้ว นำมาล้างในบ่อแช่ทิ้งไว้ 24-72 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย เพื่อล้างเยื่อเมือกออก แล้วจึงนำไปตากแห้ง ประมาณ 7-10 วัน ควรพลิกกาแฟในลานตากอย่างน้อยชั่วโมงละครั้งจนกว่าจะแห้ง แล้วนำไปสีเอาเปลือกชั้นในออก จึงได้เป็นสารกาแฟหรือเมล็ดกาแฟดิบ การผลิตด้วยวิธีนี้จะได้สารกาแฟที่มีคุณภาพสูงกว่าและได้รสชาติคงที่ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในตลาด

ขั้นตอนต่อไป คือ การคั่วกาแฟ
การคั่วกาแฟมี 3 ระดับด้วยกัน

– คั่วอ่อน เมล็ดกาแฟยังมีสีน้ำตาลอ่อนคล้ายเปลือกไม้ แกนกลางยังไม่ไหม้ กาแฟจะยังมีรสเปรี้ยว แต่กลิ่นจะหอม การคั่วระดับนี้
เหมาะกับการดื่มเป็นกาแฟดำ ที่ต้องการสัมผัสรสชาติกาแฟอย่างแท้จริง

– คั่วปานกลาง เมล็ดมีสีช็อกโกแลตเข้ม แกนกลางไหม้บางส่วนการคั่วระดับนี้เหมาะสำหรับการชงด้วยเครื่องที่ใช้กระดาษกรอง ต้องใช้น้ำผ่านเยอะๆ ให้ได้ความเข้มข้นในปริมาณพอเหมาะ

– คั่วเข้ม เมล็ดมีสีน้ำตาลแดงเข้ม แกนกลางไหม้ รสชาติจะเข้มบาดลิ้นเหมาะสำหรับใช้ชงแบบเอสเปรสโซ

นอกจากการวิจัย และส่งเสริมการปลูกกาแฟให้กับชาวบ้านแล้วสถานีฯ แม่หลอด ยังต้องหาตลาด ช่วยดูแลแปลง ช่วยแก้ปัญหา
ทั้งเรื่องโรค แมลงศัตรูพืช ใครต้องการปลูกใหม่ก็มีต้นกล้าสนับสนุนแต่ชาวบ้านส่วนใหญ่มีไร่กาแฟมาก่อนแล้ว ส่วนมากทำกันเอง แต่ถ้ามีปัญหาอะไรก็มาปรึกษาได้ ปัญหาที่มาปรึกษาก็มีเรื่องโรค เรื่องแมลงหรือหาสายพันธุ์ใหม่ กาแฟต้นหนึ่งๆ ปลูกแล้วมีอายุนานตั้งแต่ 40-50 ปีส่วนใหญ่ชาวบ้านจะปลูกทิ้งไว้แล้วก็ดูแลไปเรื่อยๆ ไร่กาแฟกลายเป็นอาชีพเสริม ไม่เหมือนปลูกผักที่ต้องดูแลหมุนเวียนไปตลอด

จบจากฟังเลคเชอร์ก็ออกไปสัมผัสของจริงที่แปลงวิจัยกาแฟ ที่นี่มีพื้นที่สำหรับทำแปลงวิจัยกาแฟอยู่ประมาณ 30 ไร่ แต่ละแปลงปลูกเป็นแถวๆ แบ่งเป็น 2 แถวต่อ 1 สายพันธ์ุ ถ้าพันธุ์เดียวกันจะมีระยะห่าง 1.5 – 2 เมตร ถ้าคนละพันธุ์กันจะเว้นห่างไว้ 3 เมตร วันนี้ได้รู้ว่าผลกาแฟที่อยู่ในระยะที่เรียกเชอร์รี่ คือ กำลังมีสีแดงนั้น เราสามารถทานสดๆ ก็ได้ มีรสหวานเหมือนผลไม้ทั่วไป

ที่นี่ยังมีการวิจัยไม้ผลพันธุ์อื่นๆ ด้วย ซึ่งอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่ไม้ผล ไม้ผลที่กำลังวิจัยอยู่ก็มี แบล็คเบอร์รี่, ทับทิม, ทับทิม
อินเดีย, มะม่วง, องุ่น แต่ยังไม่ได้ส่งเสริมให้เกษตรกร

นอกจากการวิจัยแล้วที่สถานีฯ แม่หลอดยังส่งเสริมการปลูกผักแต่เน้นผักกินหัว เพราะไม่มีห้องเย็นไว้เก็บ และเกษตรกรก็ไม่มากพอผักที่ส่งเสริมก็มี..แตงกวาญี่ปุ่น ถั่วขาว ถั่วแดง ถั่วอะซูกิ ถั่วแดงหลวงมะเขือม่วง ถ้าเป็นผลไม้ก็มี ส้มคัมควอท เลมอน นอกจากนี้ก็ส่งเสริมให้เลี้ยงสัตว์ไว้กินเอง เช่น หมู ไก่

ส้มคัมควอท
การศึกษาภาคบ่ายของเราวันนี้ คุณแม็ค (คุณเรวัฒ พงศ์สกุล)นักวิชาการไม้ผล เป็นผู้พาพวกเราออกทัศนศึกษาตามสวนของสมาชิกเกษตรกรที่สถานีฯ แม่หลอดส่งเสริมอยู่ลุงสุขกับป้าวิไล เจ้าของสวนที่เรามาดู เป็นเกษตรกรตัวอย่างของโครงการหลวง อาทิตย์หน้าลุงสุขจะไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น

ลุงสุข (สุข เจาะจันทร์) เล่าให้ฟังว่า ลุงเข้ามาเป็นสมาชิกของโครงการหลวง กว่า 20 ปีแล้ว ตั้งแต่ลูกคนโตของลุงยังเล็กๆ อยู่เลย
ตอนนี้อายุ 23 เข้าไปแล้ว ก่อนเข้าโครงการหลวงลุงก็ทำงานรับจ้างทั่วไป มีที่ดินก็ทำนาทำไร่ไปเรื่อย ทำนาเสร็จที่ไหนมีงานก็ไปรับจ้างทำรายได้ไม่มั่นคง แต่พอเข้ามาอยู่ในโครงการหลวง แรกๆ ก็ปลูกผัก หลังๆมาก็เน้นการปลูกพืชผล เพราะปลูกทีเดียวได้ผลยาวทั้งปี ทำให้มีรายได้พออยู่พอกิน

สวนของลุงสุขมีส้มลูกเล็กๆ น่ารักดี เคยเห็นมีขายในตลาดแต่ยังไม่เคยชิม ลุงบอกเขาเรียกส้ม “คัมควอท” Kumquat กินได้ทั้ง
เปลือก เปลือกจะมีรสหวาน แต่เนื้อข้างในจะเปรี้ยว มีทั้งแบบลูกกลมและลูกรี แต่ลูกกลมจะรสชาติหวานกว่า ลุงปลูกมา 6 ปีแล้ว ได้ผลผลิตดีทุกปี ตอนนี้กำลังออกลูกเต็มเลย

ส้มคัมควอท ฟังไม่คุ้นหู แต่พอบอก “ส้มกิมจ้อ” ก็คุ้นขึ้นมาทันที เขาบอกว่าชื่อนี้มีรากศัพท์มาจากภาษาจีน หมายถึง “ส้มสีทอง”
แต่ว่าบางคนออกสำเนียงเป็น กิมกิด หรือ กำกั๊ต หรือ คัมควอท ส่วนคนไทยเราก็ออกเสียงว่า “กิมจ๊อ”

แล้วพวกเราก็ได้พิสูจน์กันว่าส้มเปลือกหวานนี่หวานจริงไหม แต่ที่แน่ๆ เนื้อข้างในเปรี้ยวจี๊ดจนนึกถึงชื่อส้มจี๊ดขึ้นมาเลย แท้จริงส้มจี๊ดนั้นพวกเรากินผิดใช่ไหม หรือเป็นส้มคนละพันธุ์กัน ?

จากสวนคัมควอทเราก็เดินกันไปเรื่อยๆ อากาศเย็นกำลังสบายได้ยินเสียงน้ำไหลตลอดเวลา แล้วพวกเราก็เข้ามาในสวนเลมอน เลมอนลูกใหญ่ๆ ทั้งนั้น แต่ผิวไม่ค่อยสวย มีถุงหลายๆ แบบห่อเลมอนไว้บางแห่งเหมือนกางมุ้งไว้ให้ คุณแม็คบอกว่า กำลังอยู่ในช่วงทดสอบว่าจะกันแมลงแบบไหนให้ต้นเลมอนดี ที่แมลงไม่สามารถเจาะทะลุผลทำให้ผิวหมดสวย ปลูกไปก็ทดสอบไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเจอสิ่งที่ดีที่สุด เป็นบรรยากาศดีๆ ท่ามกลางธรรมชาติสดชื่น ลุงกับเจ้าหน้าที่เดินคุยกันไปปรึกษากันไปหาทางแก้ปัญหาของเลมอน เป็นความอบอุ่นที่เผื่อแผ่มาถึงพวกเราที่มีโอกาสได้มาสัมผัส ก่อนลาลุงพวกเรายังได้ชิมอะโวคาโดลูกเล็กที่เนื้อนวลเนียนอร่อยมากๆ แล้วยังตามด้วยแก้วมังกรหวานฉ่ำทั้งขาวทั้งแดง ลุงบอกพวกนี้ปลูกไว้กินไม่ได้ปลูกไว้ขาย

มาสถานีวิจัยกาแฟเราก็ได้ชิมกาแฟจนหายง่วง มาสวนผลไม้ก็ได้ชิมผลไม้จนอิ่ม เย็นนี้คงไม่ต้องทานอะไร และคืนนี้ก็คงไม่ต้องนอน

แล้วก็ถึงเวลาที่ต้องลาลุงสุข ป้าวิไล คุณแม๊ค และสถานีวิจัยฯแม่หลอด เพราะพวกเรายังต้องเดินทางกันต่อไป

ออกจากสถานีฯ แม่หลอดแวะชม “น้ำตกหมอกฟ้า” สักหน่อยเย็นแล้วเลยไม่มีเวลาเดินศึกษาธรรมชาติ ไม่มีโอกาสได้เห็นน้ำที่หลั่งไหลแค่เห็นสายน้ำบางๆ ก็สร้างความชุ่มชื้นจนพื้นหินลื่นไปทั่ว พวกเราได้ลงไปวัดพื้นกันถ้วนหน้า ถ้าใครแวะมาอย่าลืมอ่านป้าย เขาเตือนไว้แล้ว…อย่าลบหลู่…

ขอขอบคุณ…
คุณพัฒนา ชัยสิทธิ์ (หัวหน้ามุ่ย)
หัวหน้าสถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด
คุณจักราช สาอุดร (พี่โอ๋) นักวิชาการกาแฟ
คุณเรวัฒ พงศ์สกุล (แม็ค) นักวิชาการไม้ผล
ลุงสุข ป้าวิไล เจาะจันทร์ เจ้าของสวนบ้านผาแด่น

เรื่องราวและภาพจาก…
สถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด
ที่อยู่ : เลขที่ 91 หมู่ 10 บ้านแม่หลอด ตำบลสบเปิง
อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 50150
โทรศัพท์ : 0 5331 8303, 08 1961 0014[:]

[:TH]ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง “ม่อนเงาะ” (ดอกซิมบิเดียม)[:]

[:TH]

พ่อหลวงหื่อ เส่งหล้า ประธานกลุ่มท่องเที่ยวม่อนเงาะเล่าเรื่องราวตั้งแต่การก่อเกิดศูนย์ฯ นี้ จากสมัยที่ม่อนเงาะยังเป็น
ดอยฝิ่น พ่อหลวงเป็นเกษตรกรอาสาสมัครชาวไทยภูเขา และเมื่อปี 2522 ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่ดอยอ่างขาง ดอยอินทนนท์
แม่แฮ เห็นชาวเขาที่นั่นมีเงินมีทองใช้ มีรถยนต์ขับ หลังจากที่มีมูลนิธิโครงการหลวงมาดูแลเพียงไม่นาน พ่อหลวงอยากให้ฝิ่นหมดไปจากหมู่บ้านบ้าง ในปี 2527 จึงได้ไปปรึกษากับทางอำเภออยากจะขอเข้าเป็นสมาชิกของโครงการหลวงต้องทำอย่างไร ได้รับคำ
แนะนำให้ทำเรื่องเข้าไป ทางอำเภอจะส่งเรื่องให้แล้วติดตามต่อเองในปี 2528 มูลนิธิโครงการหลวงก็เข้ามาดูแล

เริ่มแรกเข้ามาส่งเสริมให้ปลูกกาแฟ มันอาลู สาลี่ บ๊วยผักกาดหางหงส์ ผักกาดหอมห่อ ในที่สุดฝิ่นก็หมดไปจากดอยใน
ปี 2535 หลังจากการพัฒนาทั้งคุณภาพชีวิต การดูแลรักษาป่าและต้นน้ำลำธาร จนเริ่มเป็นที่รู้จักของผู้คน นับเป็นหมู่บ้านที่มี
ความเข้มแข็ง ทางโครงการหลวงก็แนะนำให้รวมกลุ่มการท่องเที่ยวเป็นการสร้างมูลค่าให้กับหมู่บ้าน
ม่อนเงาะเริ่มเปิดการท่องเที่ยวปี 2552 ปีเดียวกับม่อนแจ่มโปรแกรมการท่องเที่ยวธรรมชาตินี้ ชาวบ้านจะจัดเองและดำเนิน
การกันเอง ทางศูนย์ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคอยแนะนำทั้งในการดำเนินงานและการตลาด

3 ตุลาคม 2560
ก่อนขึ้นศูนย์ฯ ม่อนเงาะ ต้องยอมรับว่าเคยได้ยินแต่ชื่อเสียง“ม่อนเงาะ” จากไร่ชาของลุงเดช ควบคู่กับความงามของม่อนแจ่มมา
หลายปีแล้ว ขึ้นมาแล้วก็ไม่ผิดหวังทางศูนย์ฯ ม่อนเงาะ แจ้งไว้ว่าอย่ามาค่ำ พวกเราก็มาเกือบค่ำ ทางไม่โหดเป็นถนนลาดยาง แต่คดเคี้ยวต้องเลี้ยวแบบชันและค่อนข้างแคบน่าหวาดเสียวถ้ามีรถสวนมา และถ้าค่ำแล้วคงอันตรายเหมือนคำเตือน

4 ตุลาคม 2560
6 โมงเช้าหมอกลงหนา จะไปดูพระอาทิตย์ขึ้น ตื่นรอ อ.เกรียง(คุณเกรียงศักดิ์ นามวงศ์พรหม) รองหัวหน้าศูนย์พัฒนาโครงการ
หลวงม่อนเงาะตามนัด อาจารย์มาพร้อม พี่เหนก (คุณจักรกฤษณ์ ก้อนแก้ว) เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคม และประสานงาน พานั่งรถลัด
เลาะขึ้นไปตามถนนแคบๆ ผ่านหมู่บ้านเล็กๆ แล้วทางก็แคบลงๆ เมื่อถึงจุดหมายพระอาทิตย์ก็ขึ้นไปแล้ว แต่ก็ได้สดชื่นกับทะเลหมอกที่ดูหนาหนักอย่างน่าชื่นใจ เพราะแสดงว่าป่าที่นี่ซับน้ำไว้มากมาย จึงคายไอน้ำออกมายามต้องแสงอุ่นๆ ของดวงอาทิตย์ยามเช้าได้มากมายขนาดนี้

อาจารย์พาแวะคุยกับ พ่อหลวงหื่อ เส่งหล้า ประธานกลุ่มท่องเที่ยวม่อนเงาะที่บ้านพ่อหลวง ในหมู่บ้านที่ผ่านมาตอนขาขึ้น ได้รู้ว่าเมื่อก่อนโครงการหลวงตั้งอยู่ในหมู่บ้านนี้เช่นกัน แต่เมื่อต้องเป็นศูนย์กลางดูแลหลายหมู่บ้าน ดูแล 3 ตำบล 7 หมู่บ้าน 17 หย่อมบ้าน จึงย้ายลงไปอยู่ที่พวกเราพักเมื่อคืน

ในปี พ.ศ. 2552 ระยะแรกก็ได้รับการส่งเสริมให้ปลูกกาแฟและพืชผักหลายชนิด กาแฟเป็นผล เรียกว่าเชอรี่ ต้องเอามาปอกเปลือกล้างน้ำ ตากแห้งจนได้ส่วนที่เรียกว่า “กะลา” แล้วจึงส่งให้โครงการหลวงไปสี เอาเปลือกขาวๆ ออกจนได้เมล็ดดำๆ ซึ่งเรียก “สารกาแฟ”กาแฟที่ส่งไปโครงการหลวงจะใช้ชื่อ “กาแฟดอยคำ” เมื่อเหลือจากส่งโครงการฯ จะเก็บบางส่วนขายให้หมู่บ้าน ใช้ชื่อ “กาแฟม่อนเงาะ”

การส่งเสริมการท่องเที่ยว ยิ่งทำให้เกิดประโยชน์กับหมู่บ้าน ชาวบ้านมีรายได้เสริม มีการจ้างงานมากขึ้นในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว เช่นการถางหญ้าบนจุดชมวิวม่อนเงาะ การขนน้ำขึ้นไปใช้ในช่วงท่องเที่ยว ขณะเดียวกันเมื่อมีคนเข้ามาเที่ยว ชาวบ้านก็เห็นคุณค่าของสิ่งที่ทำกันมา เริ่มมีการอนุรักษ์มากขึ้น

นอกจากธรรมชาติแล้ว ยังมีการนำวิถีชีวิตของชนเผ่ามาแสดงให้นักท่องเที่ยวได้ชม รายได้จากการเปิดการท่องเที่ยวจะรวมสรุปยอดเป็นรายปีแล้วจัดแบ่ง 10% เป็นกองทุน สำหรับเป็นสวัสดิการเวลาเจ็บป่วยหรือไปศึกษาดูงาน หรือทำสาธารณประโยชน์ให้กับหมู่บ้าน

ในหมู่บ้านมีโฮมสเตย์ 8 หลังต่อ 8 ครอบครัว จะมีการประเมินมาตรฐานทุก 3 ปี ราคา 450 บาทต่อคน รวมอาหาร 2 มื้อ มีอุปกรณ์ปิ้ง
ย่างให้ สามารถเตรียมวัตถุดิบมาปิ้งย่างได้เองพ่อหลวงบอกว่า ถ้าเป็นช่วงท่องเที่ยวพ่อหลวงก็จะขึ้นไปประจำตรงจุดกางเต็นท์ ที่นั่นจะมีร้านค้าชุมชน ไปชงกาแฟให้นักท่องเที่ยวและขายผลิตภัณฑ์กาแฟแบรนด์ม่อนเงาะ แต่สำหรับพวกเราไม่ต้องคอยถึงฤดูกาลท่องเที่ยวก็ได้ชิมกาแฟม่อนเงาะฝีมือพ่อหลวง พร้อมเรื่องราวที่น่าสนใจ


ที่หมู่บ้าน ยังมีโรงเรือนเพาะไม้ดอกของศูนย์ฯ ม่อนเงาะตั้งอยู่ เป็นโรงเรือนสำหรับให้ชาวบ้านเช่าปลูกไม้ดอก ตามการส่งเสริมของศูนย์ฯซึ่งที่ศูยน์ฯ ม่อนเงาะนี้จะส่งเสริมให้ปลูกดอกกล้วยไม้เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากที่ม่อนเงาะมีสภาพอากาศที่เหมาะกับกล้วยไม้ โดยเฉพาะพวกฟ้ามุ่ยซึ่งนับเป็นกล้วยไม้ที่ขึ้นในป่าแถบนี้ โรงเรือนแรกที่เข้าไปเป็นดอกกล้วยไม้ดิน

ดอกซิมบิเดียม
เป็นกล้วยไม้สกุลหนึ่งที่มูลนิธิโครงการหลวงนำมาปลูกเลี้ยงบนที่สูงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อศึกษาและทดลองว่ามีความเป็นไปได้ไหมที่จะส่งเสริมให้ชาวเขาปลูกตัดดอกขาย โดยนำพันธุ์จากต่างประเทศ ได้แก่ฝรั่งเศส ไต้หวัน และนิวซีแลนด์ ปรากฏว่าสามารถปลูกเลี้ยงและให้ผลผลิตได้ดี ทั้งยังเป็นที่ต้องการของตลาดมาก แต่ออกดอกเพียงปีละครั้ง
ซิมบิเดียมแต่ละชนิดจะทยอยออกดอกตั้งแต่ปลายฝนไปจนถึงต้นฤดูร้อน
โชคไม่ดีที่เรามาตอนที่ดอกเพิ่งจะเริ่มออก จึงมีให้ดูไม่มากนัก

การขยายพันธุ์ทำได้หลายวิธี เช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การแบ่งกอ การปลูกตะเกียง สำหรับการปลูกทั่วไปนิยมแบ่งกอมากกว่าวิธีอื่นแต่หากปลูกจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพราะจะลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้ แต่ก็ให้ผลช้าประมาณ 3-5 ปีจึงจะให้ดอก แต่ถ้าขยายโดยการแบ่งกอ เพียงปีแรกก็สามารถออกดอกได้แล้ว

ดอกซิมบิเดียม มีสีสันสดใสและหลากหลาย มีรูปดอกที่แตกต่างกันตามสายพันธุ์ดอกซิมบิเดียมเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก ทั้งยังคงทนในการปักแจกัน จึงเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง ที่สร้างรายได้สูงให้กับชุมชน โรงเรือนหนึ่งๆ ชาวบ้านสามารถตัดดอกส่งโครงการหลวงมีรายได้ต่อปีไม่ต่ำกว่า 300,000 บาท ที่ศูนย์ฯ ม่อนเงาะ ส่งเสริมให้ขายแบบตัดดอกโดยตัดขายเป็นช่อ คิดราคาตามดอก ดอกละ 7-15 บาท

นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ปลูก ดอกรองเท้านารี และ ดอกฟ้ามุ่ย ซึ่งอาจารย์เล่าว่าม่อนเงาะเป็นแหล่งของกล้วยไม้พื้นบ้านพันธุ์ฟ้ามุ่ย มีขึ้นตามป่าแถบนี้ฟ้ามุ่ยที่ม่อนเงาะ นอกจากจะมีเยอะแล้วยังมีสีสดใสสวยงามกว่าที่อื่นๆ นักท่องเที่ยวสามารถเดินเข้าไปชมได้ภายในโรงเรือน หากต้องการให้มีเจ้าหน้าที่พาชม และอธิบายด้วย ก็แจ้งให้ทางศูนย์ฯ ม่อนเงาะทราบได้

กลับมาทานอาหารเช้า แล้วเข้าห้องเลคเชอร์ เพราะฝนตกออกไปไหนไม่ได้ ฟังเลคเชอร์จบฝนก็หยุดพอดี

อาจารย์เกรียงพาออกมาชมไร่ “ฟักทองเข้าแถว” ที่ “บ้านกิ่วป่าหอบ” ฟังชื่อแล้วอยากเห็นว่าเป็นอย่างไร แม้เส้นทางจะโหดเพราะฝนเพิ่งผ่านไป แต่มองไปทางไหนก็เห็นแต่แปลงผักเป็นเส้นสีเขียวสลับแนวกันไปมาเน้นเส้นเนินให้เห็นชัดขึ้น เป็นความแปลกตาของธรรมชาติที่ผสมผสานกับฝีมือมนุษย์ ความงามที่เราไม่ค่อยมีโอกาสพบ

น่าแปลกใจที่ฟักทองในไร่แถบนี้ดูมีอายุไล่กันไป จากลูกเล็กไปจนถึงลูกที่ใกล้เก็บได้ นี่คือวิธีการควบคุมผลผลิตให้ออกไม่ตรงกัน เป็นการอยู่ร่วมกันของชุมชนที่เข้มแข็ง ด้วยวิธีการเช่นนี้ ทำให้ทุกคนได้สิทธิเท่าๆกัน เกิดความสามัคคีพวกเขาได้มีโอกาสช่วยเหลือกันทั้งการปลูกและการเก็บ ชาวบ้านจะปลูกไล่ๆ กันไป โดยเอามื้อการปลูก และการเก็บผลผลิตก็จะเข้าสู่โครงการไล่กันไปได้ตลอดปี ไม่เกิดผลผลิตเหลือจนต้องหาตลาดรองรับเพิ่ม

การปลูกฟักทองมีทั้งการขึ้นค้างและทำแปลงให้เลื้อยลงไปด้านล่างการเลือกวิธีปลูกขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ที่นี่สภาพพื้นที่เป็นเนินยากต่อการทำค้างจึงใช้วิธีทำแปลงขั้นบันได โดยเจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดินเป็นผู้มาช่วยปรับแปลงและสร้างระบบเป็นพื้นที่ต้นแบบ

“ฟักทองเข้าแถว” ฟังดูแปลกและน่ารัก แต่แท้จริงคือการแก้ปัญหาในการดูแล ยอดฟักทองจะถูกจัดให้หันไปทางเดียวกัน เลื้อยลงตามเนิน ดอกฟักทองตัวเมียที่ออกตามยอดที่เลื้อยลงไป ก็จะไปผสมพันธุ์กับดอกฟักทองสีเหลืองตัวผู้ที่อยู่โคนต้นของต้นข้างล่างได้ เกิดการผสมพันธ์ุกันได้เองไม่ต้องคอยอาศัยแมลง ทั้งยังทำให้ง่ายต่อการดูแล ตัดกิ่งใส่ปุ๋ยและเก็บเกี่ยว

นอกจากนี้ทางศูนย์ฯ ม่อนเงาะกำลังวิจัย “ฟักทองยอดด้วน” คือพอติดลูกขนาดเท่าลูกเทนนิสก็เด็ดยอดทิ้ง เพื่อให้อาหารจากต้นลงไปที่ผลเลย ไม่ต้องไปเลี้ยงเถาที่เหลือ จากการวิจัยได้ผลฟักทองโตและเนื้อหนาขึ้น

นอกจากนี้ชาวบ้านยังได้เรียนรู้วิธีการแปรรูปผลผลิตที่ตกเกรดเป็นอาหารสำเร็จรูปส่งขายได้อีกด้วย เช่น เมล็ดฟักทอง ฟักทองแปรรูป

แค่ได้หยุดยืนมองแปลงฟักทองลดหลั่นกันไป ได้อากาศบริสุทธิ์กลางเนินเขาก็นับเป็นการได้ท่องเที่ยวเกินกว่าที่คิดไว้แล้วเรายังได้ความรู้เรื่องฟักทองมาเต็มอิ่ม

เห็ดหลินจือ
นอกจากนี้ที่ศูนย์ฯ ม่อนเงาะยังส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะ “เห็ดหลินจือ” โดยขายเชื้อให้เป็นก้อนรวมอุปกรณ์ ขายเหมา 5,000 ก้อน ในราคาก้อนละ 7 บาท เกษตรกรจะนำไปบ่มตามคำแนะนำ ใช้เวลาประมาณ 45 วัน ก็เก็บผลผลิตได้ศูนย์ฯ ม่อนเงาะ รับซื้อผลผลิตกลับมาในราคากิโลกรัมละ 300 บาทจากนั้นจะนำมาแยกดอกเห็ด และตีนเห็ดออกจากกัน แล้วหั่นเป็นชิ้นบางๆเข้าโรงอบ อบเสร็จส่งไปให้โรงงานบรรจุส่วนสปอร์สีขาวๆ ที่เกาะเห็ดนั้นขายให้กับตลาดนอก ได้ราคากิโลกรัมละ 5,000 บาท นำไปทำสารสกัดบรรจุในแคปซูลขายเป็นอาหารเสริมสุขภาพ ตีนเห็ดจะมีสารสรรพคุณทางยามากกว่าดอก แต่คนส่วนมากนิยมซื้อส่วนที่เป็นดอก


ไร่ชาลุงเดช
ตกบ่ายมา “ไร่ชาลุงเดช” ที่ได้ยินชื่อมานาน วันนี้ได้เจอของจริงนอกจากจะได้อยู่กับธรรมชาติอันสวยงามสบายตา ได้รู้จักเจ้าของไร่ลุงเดชเกษตรกรที่น่ารักแล้ว ยังได้รู้จักกรรมวิธีและคุณค่าของชามาครบสูตร

ไร่ชาลุงเดชมีทั้งหมด 6 ไร่ เริ่มปลูกตั้งแต่ปี 2540 เก็บใบเมี่ยงขาย พอโครงการหลวงเอาต้นพันธ์ุมาให้ปลูก แล้วทำที่นี่เป็นศูนย์ขยายพันธ์ุให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ พอมีความรู้ก็แยกย้ายไปปลูกตามสวนของตน ที่ดินนี้เป็นของลุง ลุงก็ดูแล ต่อมา 5 ปี จึงได้เริ่มการท่องเที่ยว มีกิจกรรมเก็บใบชา ชงชา ชิมชา และพาไปดูโรงงานบ่มชา

ชาที่ไร่ลุงเดชทำมีอยู่ 3 ชนิด คือ ชาอู่หลง ชาเขียว และชาขาว ชาทั้ง 3 ชนิด เก็บจากต้นเดียวกัน

ชาอู่หลง จะเก็บ 3 ใบ เก็บเสร็จส่งเข้าโรงงานของโครงการหลวงเลย

ชาเขียว เก็บ 3 ใบเหมือนกัน เริ่มเก็บแต่หกโมงเช้า ไม่เกินบ่าย 3 โมงเพื่อให้ทันผึ่งแดดรำไร ประมาณ 20-30 นาที ต้องคอยพลิกใบชาทุก 2-3นาที เพื่อกระตุ้นกลิ่น พืชทั่วไปที่เด็ดใบแล้วยังมีน้ำ และสารต่างๆ ยังค้างอยู่ในใบ ถ้าผึ่งไว้แล้วกระตุ้นมันบ่อยๆ ใบจะตื่นตลอดเวลา สารในใบก็จะเคลื่อนย้ายมายังก้านที่เราเด็ด กลิ่นเหม็นเขียวก็จะหายไปกลายเป็นกลิ่นหอมแทน จากนั้นจึงนำไปคั่วกับกระทะ ใช้ไฟร้อนพอดีๆ แล้วเอามานวดกับกระด้ง สลับกับการคั่ว ประมาณ 3 ครั้งก็จะได้ชาเขียว

ชาขาว เก็บแต่ยอดบน จากนั้นนำไปตากในที่ร่ม ไม่คั่ว ถือเป็นสุดยอดชา ขายได้ราคากิโลกรัมละ 3,500 บาทไปไร่ชาลุงเดช ได้จิบชาหอมละมุน ชมไร่ชาสวยสะอาดตา สูดอากาศบริสุทธิ์ อย่างนี้นี่เองใครๆ ถึงอยากมา ลุงเดชบอกว่าเมื่อก่อนก็ปลูกอะไรหลายอย่างเหมือนกัน แต่ปัจจุบันทำแต่ชา ลุงเดชมีความผูกพันกับโครงการหลวงมาก ไม่ว่าจะทำอะไรก็จะส่งแต่โครงการหลวงเท่านั้นชอบที่ลุงไม่พยายามเปลี่ยนที่นี่ให้เป็นการท่องเที่ยวมากไปนัก เรายังได้สัมผัสกับความเป็นเกษตรกรของลุงเดช มีความน่ารักแบบบ้านๆ

จากเรื่องราวที่เราได้รับรู้ ทั้งสิ่งที่ได้รับฟังและภาพที่เห็น ที่ศูนย์ฯม่อนเงาะ ทำให้เราเข้าใจการทำงานของโครงการหลวงกับชาวบ้านบนพื้นที่สูงตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันได้ชัดเจนขึ้นณ วันนี้ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ ได้พัฒนาทุกหมู่บ้านในความรับผิดชอบ ให้สามารถยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข เรารู้สึกว่าระบบการทำงานของโครงการหลวงเป็นระบบที่สร้างให้เกิดสายสัมพันธ์เสมือนคนในครอบครัว ระหว่างคนในหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่ของโครงการ

หนึ่งคืนหนึ่งวัน ที่ได้เที่ยวไป รู้ไป ในศูนย์ฯ ม่อนเงาะ ตอนนี้เราเข้าใจแล้วว่าทำไม “พ่อ” ถึงมีโครงการถึง 4,000 กว่าโครงการ พราะ
“พ่อ” หวังที่จะเห็นทุกคนบนผืนแผ่นดินไทย มีชีวิตความเป็นอยู่ที่สามารถยืนหยัดได้ด้วยตัวเองอย่างมีความสุข และเพื่อให้เป็นเช่นนั้นได้พ่อจึงสร้างทีมช่วยเหลือที่ต้องยึดหลักว่า ก่อนการช่วยเหลือที่ใดหรือด้วยสิ่งใดต้องศึกษา ต้องวิจัยให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าผลที่ได้จะเป็นเช่นไร แล้วจึงลงมือทำ

ขอขอบคุณ…
คุณเกรียงศักดิ์ นามวงศ์พรหม (อ.เกรียง)
รองหัวหน้าศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ
คุณจักรกฤษณ์ ก้อนแก้ว (พี่เหนก)
เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคม และประสานงาน
คุณศรชัย แซ่ย่าง (พี่ศร) เจ้าหน้าที่วิเคราะห์สารตกค้าง
พ่อหลวงหื่อ เส่งหล้า ประธานกลุ่มท่องเที่ยวม่อนเงาะ
คุณจรัส แซ่ท้าว เจ้าของสวนฟักทองเข้าแถว บ้านกิ่วป่าหอบ
ลุงเดช รังษี ไร่ชาลุงเดช

เรื่องราวและภาพจาก…
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ
ที่อยู่ : บ้านม่อนเงาะ หมู่ 5 ตำบลเมืองก๋าย
อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 50150
โทรศัพท์ : 09 5675 3848, 08 1025 1002[:]